คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า เห็นควรยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อไป เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรื่องสิ่งปฏิกูลมูลฝอยของประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีอำนาจในการเก็บค่าธรรมเนียม การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย และเป็นประโยชน์ต่อการสาธารณโดยส่วนรวม เนื่องจากได้มีการกำหนดอัตราโทษเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ฝ่าฝืน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม คำว่า “มูลฝอย” ให้ครอบคลุมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่เป็นพิษหรืออันตรายจากโรงงาน แก้ไขเพิ่มเติมคำว่า “ราชการส่วนท้องถิ่น” และ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น”
2. กำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขมีอำนาจออกประกาศกำหนดเรื่องที่เป็นรายละเอียดทางเทคนิควิชาการหรือเรื่องที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตามสภาพสังคมได้
3. เพิ่มองค์ประกอบคณะกรรมการสาธารณสุขโดยเพิ่มเติมผู้แทน 3 หน่วยงาน ได้แก่ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
4. ให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่นที่จะร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยได้
5. ให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อกำหนดของท้องถิ่นกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
6. เพิ่มเติมบทกำหนดโทษในกรณีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า เห็นควรยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อไป เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรื่องสิ่งปฏิกูลมูลฝอยของประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีอำนาจในการเก็บค่าธรรมเนียม การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย และเป็นประโยชน์ต่อการสาธารณโดยส่วนรวม เนื่องจากได้มีการกำหนดอัตราโทษเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ฝ่าฝืน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม คำว่า “มูลฝอย” ให้ครอบคลุมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่เป็นพิษหรืออันตรายจากโรงงาน แก้ไขเพิ่มเติมคำว่า “ราชการส่วนท้องถิ่น” และ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น”
2. กำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขมีอำนาจออกประกาศกำหนดเรื่องที่เป็นรายละเอียดทางเทคนิควิชาการหรือเรื่องที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตามสภาพสังคมได้
3. เพิ่มองค์ประกอบคณะกรรมการสาธารณสุขโดยเพิ่มเติมผู้แทน 3 หน่วยงาน ได้แก่ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
4. ให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่นที่จะร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยได้
5. ให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อกำหนดของท้องถิ่นกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
6. เพิ่มเติมบทกำหนดโทษในกรณีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--