คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติการปรับอัตราค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรสายการแพทย์ที่ขาดแคลน ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้
1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการสำหรับบุคลากรสายการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในเรือนจำ/ทัณฑสถานจากที่ได้อนุมัติไว้เดิมให้ไม่น้อยกว่าอัตราของบุคลากรสายการแพทย์ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
2. การกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลากรสายการแพทย์หญิงที่ปฏิบัติงานในเรือนจำ/ทัณฑสถานชาย (บุคลากรสายการแพทย์กลุ่มที่ปฏิบัติงาน (On Call)) ในอัตราการเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการด้วย สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นให้กระทรวงยุติธรรม (กรมราชทัณฑ์) ปรับแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปดำเนินการก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า
1. บุคลากรสายการแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำในสถานพยาบาลเรือนจำ/ทัณฑสถานทั่วประเทศของกรมราชทัณฑ์ต้องปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการในเวลากลางคืนในวันธรรมดา วันหยุดราชการเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ตั้งแต่เวลา 16.30 — 08.30 น. และปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการเวลากลางวันในวันหยุดราชการเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. โดยต้องดูแลรักษาพยาบาลผู้ต้องขังที่เจ็บป่วย ประกอบกับสถานพยาบาลของเรือนจำ/ทัณฑสถานไม่มีรายได้จากการรักษาพยาบาลเนื่องจากเป็นการบริการแบบให้เปล่า ทั้งนี้ บุคลากรสายการแพทย์จะได้รับค่าตอบแทนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 โดยเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. เนื่องจากกระทรวงการคลังอนุมัติค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ในอัตราวันละ 300 บาท ให้เจ้าพนักงานเรือนจำที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง เป็นเหตุให้บุคลากรสายการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในเรือนจำ/ทัณฑสถานบางตำแหน่งได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่น้อยกว่าเจ้าพนักงานเรือนจำ อีกทั้งกรมราชทัณฑ์มีบุคลากรสายการแพทย์หญิงที่ปฏิบัติงานในเรือนจำชายแต่ไม่สามารถอยู่เวรยามรักษาการณ์ภายในเรือนจำนอกเวลาราชการได้เนื่องจากปัญหาความปลอดภัย จึงต้องปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการอยู่ภายนอกเรือนจำโดยเตรียมความพร้อมและสามารถเรียกมาปฏิบัติงานได้ (On Call) เมื่อมีผู้ต้องขังป่วยภายในเรือนจำ ซึ่งการปฏิบัติงานดังกล่าวบุคลากรสายการแพทย์ที่เป็นผู้หญิงจะไม่ได้รับค่าตอบแทน ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจ ท้อถอย มีการลาออกและโอนย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่นซึ่งได้รับค่าตอบแทนในอัตราเดียวกันกับบุคลากรสายการแพทย์ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการสำหรับบุคลากรสายการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในเรือนจำ/ทัณฑสถานจากที่ได้อนุมัติไว้เดิมให้ไม่น้อยกว่าอัตราของบุคลากรสายการแพทย์ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
2. การกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลากรสายการแพทย์หญิงที่ปฏิบัติงานในเรือนจำ/ทัณฑสถานชาย (บุคลากรสายการแพทย์กลุ่มที่ปฏิบัติงาน (On Call)) ในอัตราการเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการด้วย สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นให้กระทรวงยุติธรรม (กรมราชทัณฑ์) ปรับแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปดำเนินการก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า
1. บุคลากรสายการแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำในสถานพยาบาลเรือนจำ/ทัณฑสถานทั่วประเทศของกรมราชทัณฑ์ต้องปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการในเวลากลางคืนในวันธรรมดา วันหยุดราชการเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ตั้งแต่เวลา 16.30 — 08.30 น. และปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการเวลากลางวันในวันหยุดราชการเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. โดยต้องดูแลรักษาพยาบาลผู้ต้องขังที่เจ็บป่วย ประกอบกับสถานพยาบาลของเรือนจำ/ทัณฑสถานไม่มีรายได้จากการรักษาพยาบาลเนื่องจากเป็นการบริการแบบให้เปล่า ทั้งนี้ บุคลากรสายการแพทย์จะได้รับค่าตอบแทนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 โดยเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. เนื่องจากกระทรวงการคลังอนุมัติค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ในอัตราวันละ 300 บาท ให้เจ้าพนักงานเรือนจำที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง เป็นเหตุให้บุคลากรสายการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในเรือนจำ/ทัณฑสถานบางตำแหน่งได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่น้อยกว่าเจ้าพนักงานเรือนจำ อีกทั้งกรมราชทัณฑ์มีบุคลากรสายการแพทย์หญิงที่ปฏิบัติงานในเรือนจำชายแต่ไม่สามารถอยู่เวรยามรักษาการณ์ภายในเรือนจำนอกเวลาราชการได้เนื่องจากปัญหาความปลอดภัย จึงต้องปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการอยู่ภายนอกเรือนจำโดยเตรียมความพร้อมและสามารถเรียกมาปฏิบัติงานได้ (On Call) เมื่อมีผู้ต้องขังป่วยภายในเรือนจำ ซึ่งการปฏิบัติงานดังกล่าวบุคลากรสายการแพทย์ที่เป็นผู้หญิงจะไม่ได้รับค่าตอบแทน ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจ ท้อถอย มีการลาออกและโอนย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่นซึ่งได้รับค่าตอบแทนในอัตราเดียวกันกับบุคลากรสายการแพทย์ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--