คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอทั้ง 3 ข้อ ทั้งนี้ โดยให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. จัดสรรเงินงบประมาณในส่วนของยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด จำนวน 5,000 ล้านบาท ที่ตั้งเบิกจ่าย ณ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ไปตั้งเบิกจ่าย ณ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การบริหารจัดการของคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข
2. ขยายวัตถุประสงค์การใช้เงินงบประมาณให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 ที่เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ที่มุ่งให้ประชาชนและครอบครัวสามารถพึ่งตนเอง โดยใช้กลไกชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนและส่วนกลางปรับระบบ
3. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข จัดทำระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการบริหารจัดการวงเงินงบประมาณดังกล่าวข้างต้นต่อไป
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รายงานว่า
1. โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการไว้ตั้งแต่แรกเริ่มว่า “ต้องการให้มีการจัดสรรงบประมาณโดยตรง เพื่อประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนจะได้นำไปแก้ไขปัญหาของส่วนรวม เพื่อการประกอบอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนโดยประชาชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง (ร่วมคิด-ร่วมทำ) และถือเป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนาประชาธิปไตย”
2. รัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ข้อ 2 นโยบายเศรษฐกิจ จะปรับปรุงบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานภูมิภาค โดยปรับปรุงระบบความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อร่วมกันรับผิดชอบดูแลผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ
3. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 ที่เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ที่มุ่งให้ประชาชนและครอบครัวสามารถพึ่งตนเอง โดยใช้กลไกชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนและส่วนกลางปรับระบบ เพื่อเอื้อให้จังหวัดสามารถสะท้อนความต้องการของชุมชนมายังกระทรวงที่เกี่ยวข้อง มีจุดเน้นและกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่กิจกรรมและโครงการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถบริหารจัดการได้โดยการมีส่วนของชุมชน ท้องถิ่น และภาคส่วนต่างๆ ในการวางแผนและกำหนดโครงการ พร้อมทั้งให้มีคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อทำหน้าที่อำนวยการในการขับเคลื่อน
4. สำนักงบประมาณได้เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ว่า วงเงินงบประมาณจำนวน 5,000 ล้านบาท ควรให้ใช้จ่ายจากงบประมาณปี พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน ที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้เบิกจ่ายและฝากธนาคารไว้ โดยให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกับกระทรวงมหาดไทยพิจารณานำเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขต่อไป
5. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 อนุมัติให้เพิ่มวงเงินงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ที่จะใช้วงเงินร่วมกันจากเดิมที่มีอยู่จำนวน 9,728,135,800 บาท (รวมดอกเบี้ย) เป็นจำนวน 10,000,000,000 บาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด จำนวน 271,864,200 บาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--
1. จัดสรรเงินงบประมาณในส่วนของยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด จำนวน 5,000 ล้านบาท ที่ตั้งเบิกจ่าย ณ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ไปตั้งเบิกจ่าย ณ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การบริหารจัดการของคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข
2. ขยายวัตถุประสงค์การใช้เงินงบประมาณให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 ที่เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ที่มุ่งให้ประชาชนและครอบครัวสามารถพึ่งตนเอง โดยใช้กลไกชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนและส่วนกลางปรับระบบ
3. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข จัดทำระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการบริหารจัดการวงเงินงบประมาณดังกล่าวข้างต้นต่อไป
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รายงานว่า
1. โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการไว้ตั้งแต่แรกเริ่มว่า “ต้องการให้มีการจัดสรรงบประมาณโดยตรง เพื่อประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนจะได้นำไปแก้ไขปัญหาของส่วนรวม เพื่อการประกอบอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนโดยประชาชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง (ร่วมคิด-ร่วมทำ) และถือเป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนาประชาธิปไตย”
2. รัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ข้อ 2 นโยบายเศรษฐกิจ จะปรับปรุงบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานภูมิภาค โดยปรับปรุงระบบความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อร่วมกันรับผิดชอบดูแลผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ
3. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 ที่เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ที่มุ่งให้ประชาชนและครอบครัวสามารถพึ่งตนเอง โดยใช้กลไกชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนและส่วนกลางปรับระบบ เพื่อเอื้อให้จังหวัดสามารถสะท้อนความต้องการของชุมชนมายังกระทรวงที่เกี่ยวข้อง มีจุดเน้นและกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่กิจกรรมและโครงการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถบริหารจัดการได้โดยการมีส่วนของชุมชน ท้องถิ่น และภาคส่วนต่างๆ ในการวางแผนและกำหนดโครงการ พร้อมทั้งให้มีคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อทำหน้าที่อำนวยการในการขับเคลื่อน
4. สำนักงบประมาณได้เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ว่า วงเงินงบประมาณจำนวน 5,000 ล้านบาท ควรให้ใช้จ่ายจากงบประมาณปี พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน ที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้เบิกจ่ายและฝากธนาคารไว้ โดยให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกับกระทรวงมหาดไทยพิจารณานำเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขต่อไป
5. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 อนุมัติให้เพิ่มวงเงินงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ที่จะใช้วงเงินร่วมกันจากเดิมที่มีอยู่จำนวน 9,728,135,800 บาท (รวมดอกเบี้ย) เป็นจำนวน 10,000,000,000 บาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด จำนวน 271,864,200 บาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--