แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ร่างพระราชบัญญัติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ดังนี้
1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้กระทรวงแรงงานรับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการกำหนดเหตุในการตัดสิทธิของลูกจ้าง ไปแปรญัตติในชั้นการพิจารณาของกรรมาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
กระทรวงการคลังได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้วไม่ขัดข้องในหลักการ แต่เห็นควรแก้ไขในประเด็นการกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการจ่ายเงินสมทบ (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 (8)) และเห็นควรเพิ่มเติมมาตรา 23/3 เพื่อรองรับการโอนย้ายเงินระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรี (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 (8))
2. กำหนดบทเฉพาะกาลมิให้นำร่างมาตรา 7 มาใช้บังคับแก่ข้อกำหนดที่นายทะเบียนได้รับจดทะเบียนแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
3. กำหนดให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะลาออกจากงานมีสิทธิคงเงินทั้งหมดที่มีสิทธิจะได้รับไว้ในกองทุนและขอต่ออายุการเป็นสมาชิกต่อไปตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน (ร่างมาตรา 23/3)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--
1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้กระทรวงแรงงานรับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการกำหนดเหตุในการตัดสิทธิของลูกจ้าง ไปแปรญัตติในชั้นการพิจารณาของกรรมาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
กระทรวงการคลังได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้วไม่ขัดข้องในหลักการ แต่เห็นควรแก้ไขในประเด็นการกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการจ่ายเงินสมทบ (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 (8)) และเห็นควรเพิ่มเติมมาตรา 23/3 เพื่อรองรับการโอนย้ายเงินระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรี (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 (8))
2. กำหนดบทเฉพาะกาลมิให้นำร่างมาตรา 7 มาใช้บังคับแก่ข้อกำหนดที่นายทะเบียนได้รับจดทะเบียนแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
3. กำหนดให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะลาออกจากงานมีสิทธิคงเงินทั้งหมดที่มีสิทธิจะได้รับไว้ในกองทุนและขอต่ออายุการเป็นสมาชิกต่อไปตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน (ร่างมาตรา 23/3)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--