แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ร่างพระราชบัญญัติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมี รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอว่า โดยที่โครงสร้างของสังคมไทยปัจจุบันมีความสลับซับซ้อน การพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืนจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสังคมที่ดีงามและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของประชาชนโดยสมัครใจเป็นกลุ่มหรือองค์กรและมีการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนี้ การส่งเสริมบทบาทของอาสาสมัครเพื่อสังคมและการส่งเสริมองค์กรธุรกิจให้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม จะทำให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นไปอย่างกว้างขวาง จึงสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนาเพื่อกำหนดมาตรการและกลไกในการ ส่งเสริมภาคประชาสังคม รวมทั้งอาสาสมัครเพื่อสังคม และการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์การธุรกิจให้เข้ามามีบทบาท ในการเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา พ.ศ.... ให้มีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม ได้แก่ “ประชาสังคม” “องค์กรด้านประชาสังคม” “ธุรกิจเพื่อสังคม” “อาสาสมัครเพื่อสังคม” (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้มีการดำเนินการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา โดยให้คำนึงถึงความเป็นอิสระในการดำเนินกิจกรรมโดยไม่ขัดกับแนวนโยบายแห่งรัฐ (ร่างมาตรา 5)
4. กำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติ การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งองค์ประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ (ร่างมาตรา 9 ถึงร่างมาตรา 16)
5. กำหนดบทเฉพาะกาล ในวาระเริ่มแรกก่อนมีกรรมการ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการอื่นเท่าที่จำเป็นไปก่อน และระหว่างที่ยังไม่ได้จัดตั้งสำนักงาน ให้สำนักงานปลัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานไปก่อน (ร่างมาตรา 54 และร่างมาตรา 55)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอว่า โดยที่โครงสร้างของสังคมไทยปัจจุบันมีความสลับซับซ้อน การพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืนจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสังคมที่ดีงามและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของประชาชนโดยสมัครใจเป็นกลุ่มหรือองค์กรและมีการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนี้ การส่งเสริมบทบาทของอาสาสมัครเพื่อสังคมและการส่งเสริมองค์กรธุรกิจให้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม จะทำให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นไปอย่างกว้างขวาง จึงสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนาเพื่อกำหนดมาตรการและกลไกในการ ส่งเสริมภาคประชาสังคม รวมทั้งอาสาสมัครเพื่อสังคม และการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์การธุรกิจให้เข้ามามีบทบาท ในการเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา พ.ศ.... ให้มีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม ได้แก่ “ประชาสังคม” “องค์กรด้านประชาสังคม” “ธุรกิจเพื่อสังคม” “อาสาสมัครเพื่อสังคม” (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้มีการดำเนินการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา โดยให้คำนึงถึงความเป็นอิสระในการดำเนินกิจกรรมโดยไม่ขัดกับแนวนโยบายแห่งรัฐ (ร่างมาตรา 5)
4. กำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติ การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งองค์ประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ (ร่างมาตรา 9 ถึงร่างมาตรา 16)
5. กำหนดบทเฉพาะกาล ในวาระเริ่มแรกก่อนมีกรรมการ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการอื่นเท่าที่จำเป็นไปก่อน และระหว่างที่ยังไม่ได้จัดตั้งสำนักงาน ให้สำนักงานปลัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานไปก่อน (ร่างมาตรา 54 และร่างมาตรา 55)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--