คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมี หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2550 ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาด้วย แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป และ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 เกี่ยวกับการกำหนดให้มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการ
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศทั้งในระดับพหุภาคี และในระดับทวิภาคี ซึ่งความตกลงดังกล่าวได้กำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกสามารถใช้มาตรการปกป้องอุตสาหกรรมภายในของตนได้ หากปรากฏว่ามีการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากประเทศภาคีสมาชิกอื่นอันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในของตน และได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการกำหนดมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2542 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 รองรับการกำหนดมาตรการปกป้องตามความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศดังกล่าว แต่ประกาศดังกล่าวมีข้อจำกัดด้านขอบเขตที่จะนำมาปรับใช้กับการกำหนดมาตรการปกป้อง ทำให้ขาดความคล่องตัวและเกิดความล่าช้าในการกำหนดมาตรการ
2. โดยที่รัฐบาลปัจจุบันยังคงมีนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคีต่อไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีพระราชบัญญัติเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดตลาดเสรีเป็นการเร่งด่วน ซึ่งร่างพระราชบัญญัติมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นที่คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันเพื่อการพัฒนาประเทศเสนอ มีสาระสำคัญเป็นไปตามหลักการดังกล่าว เห็นควรนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ ฯ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. ....
1. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมศุลกากร และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมศุลกากรด้วย
2. ให้ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด เป็นผู้มีสิทธิขอให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้องโดยให้ยื่นคำขอต่อกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมหลักฐานแสดงให้เห็นว่า มีการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายใน โดยให้เสนอคำขอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และหากไม่มีการยื่นคำขอก็อาจขอให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาได้ แต่ต้องแจ้งให้อุตสาหกรรมภายในยื่นแผนปรับตัวตามระยะเวลาที่กำหนด
3. ในการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้อง ให้กรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้มีอำนาจไต่สวนโดยออกประกาศไต่สวนการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นและความเสียหายในวารสารของทางราชการหรือโดยวิธีอื่นใดเพื่อให้สาธารณชนรับรู้ โดยต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเสนอหลักฐาน เอกสาร และแสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้งคำขอของผู้ยื่นคำขอ เมื่อได้ดำเนินการไต่สวนเสร็จแล้วก็ให้สรุปผลการไต่สวน และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัย
4. ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดมาตรการปกป้อง และการเรียกเก็บอากรจากมาตรการปกป้องดังกล่าว
5. ให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดการชดเชยผลกระทบจากการใช้มาตรการปกป้อง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
6. ให้มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยชั้นที่สุดของคณะกรรมการต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
7. ให้มีคณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้อง กำหนดมาตรการชดเชย ให้คำแนะนำในการออกกฎกระทรวงและประกาศ และปฏิบัติการอื่นตามที่ได้บัญญัติในพระราชบัญญัติ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
8. กำหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้องที่ดำเนินการอยู่ตามกฎหมายเดิม ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ส่วนการพิจารณาที่ดำเนินการไปแล้วให้ถือเป็นการดำเนินการตามพระราช-บัญญัตินี้ เฉพาะในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศทั้งในระดับพหุภาคี และในระดับทวิภาคี ซึ่งความตกลงดังกล่าวได้กำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกสามารถใช้มาตรการปกป้องอุตสาหกรรมภายในของตนได้ หากปรากฏว่ามีการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากประเทศภาคีสมาชิกอื่นอันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในของตน และได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการกำหนดมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2542 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 รองรับการกำหนดมาตรการปกป้องตามความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศดังกล่าว แต่ประกาศดังกล่าวมีข้อจำกัดด้านขอบเขตที่จะนำมาปรับใช้กับการกำหนดมาตรการปกป้อง ทำให้ขาดความคล่องตัวและเกิดความล่าช้าในการกำหนดมาตรการ
2. โดยที่รัฐบาลปัจจุบันยังคงมีนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคีต่อไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีพระราชบัญญัติเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดตลาดเสรีเป็นการเร่งด่วน ซึ่งร่างพระราชบัญญัติมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นที่คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันเพื่อการพัฒนาประเทศเสนอ มีสาระสำคัญเป็นไปตามหลักการดังกล่าว เห็นควรนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ ฯ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. ....
1. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมศุลกากร และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมศุลกากรด้วย
2. ให้ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด เป็นผู้มีสิทธิขอให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้องโดยให้ยื่นคำขอต่อกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมหลักฐานแสดงให้เห็นว่า มีการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายใน โดยให้เสนอคำขอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และหากไม่มีการยื่นคำขอก็อาจขอให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาได้ แต่ต้องแจ้งให้อุตสาหกรรมภายในยื่นแผนปรับตัวตามระยะเวลาที่กำหนด
3. ในการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้อง ให้กรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้มีอำนาจไต่สวนโดยออกประกาศไต่สวนการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นและความเสียหายในวารสารของทางราชการหรือโดยวิธีอื่นใดเพื่อให้สาธารณชนรับรู้ โดยต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเสนอหลักฐาน เอกสาร และแสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้งคำขอของผู้ยื่นคำขอ เมื่อได้ดำเนินการไต่สวนเสร็จแล้วก็ให้สรุปผลการไต่สวน และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัย
4. ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดมาตรการปกป้อง และการเรียกเก็บอากรจากมาตรการปกป้องดังกล่าว
5. ให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดการชดเชยผลกระทบจากการใช้มาตรการปกป้อง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
6. ให้มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยชั้นที่สุดของคณะกรรมการต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
7. ให้มีคณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้อง กำหนดมาตรการชดเชย ให้คำแนะนำในการออกกฎกระทรวงและประกาศ และปฏิบัติการอื่นตามที่ได้บัญญัติในพระราชบัญญัติ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
8. กำหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้องที่ดำเนินการอยู่ตามกฎหมายเดิม ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ส่วนการพิจารณาที่ดำเนินการไปแล้วให้ถือเป็นการดำเนินการตามพระราช-บัญญัตินี้ เฉพาะในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--