คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานผลการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2550 (1 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2549) ดังนี้
ความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ
ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2550 ประชาชนที่มีหลักประกันสุขภาพ จำนวน 61.15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.73 ของประชากรทั้งประเทศ (62.57 ล้านคน) เป็นประชากรลงทะเบียนสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 46.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 74.51 โดยลงทะเบียนสิทธิกับหน่วยบริการของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 42.54 ล้านคน (ร้อยละ 91.24) หน่วยบริการของรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2.05 ล้านคน (ร้อยละ 4.40) และหน่วยบริการสังกัดเอกชน 2.03 ล้านคน (ร้อยละ 4.36) จำนวนประชากรที่ยังไม่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพรอการตรวจสอบ 1.42 ล้านคน
การคุ้มครองสิทธิ
สปสช. มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันฯ โดยเรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง ภายใน 5 วันทำการ ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกเรื่องร้องเรียนได้รับการตอบสนองภายใน 30 วันทำการ ร้อยละ 87.83 และได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ร้อยละ 90.64 เรื่องร้องทุกข์สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาไปแล้วทั้งสิ้น ร้อยละ 97.83 นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยดำเนินการประสานการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ จำนวน 1,279 ราย โดย สปสช. ร่วมกับมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี บริการผ่าตัดโรคหัวใจให้กับผู้ป่วยทั้งในและนอกเวลาราชการภายใต้ชื่อโครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เฉลิมพระเกียรติ 80 และ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สำหรับพิจารณาช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการ กรณีที่ได้รับ ความเสียหายจากการรักษาพยาบาลกับหน่วยบริการในระบบหลักประกันฯ จำนวน 116 ราย จ่ายเงินช่วยเหลือ เป็นจำนวนเงิน 13.04 ล้านบาท
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ
หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันฯ จำนวน 1,192 แห่ง เป็นโรงพยาบาล 961 แห่ง (ร้อยละ 80.62) ในจำนวนนี้ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 829 แห่ง (ร้อยละ 86.26) เป็นคลินิก จำนวน 231 แห่ง (ร้อยละ 19.38) หน่วยบริการรับส่งต่อเป็นหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนมากที่สุด ร้อยละ 64.43 ส่วนหน่วยบริการประจำผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินมากที่สุด จำนวน 134 แห่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 หน่วยบริการที่ผ่าน
การรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA และมาตรฐาน ISO ร้อยละ 92.89 จากหน่วยบริการทั้งหมด 970 แห่ง และอยู่ระหว่างการพัฒนา จำนวน 69 (ร้อยละ 7.11) นอกจากนี้ สปสช. ได้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 19 ราย เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท
การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
สปสช. เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนที่จัดตั้งขึ้น จำนวน 72 ศูนย์ใน 44 จังหวัด และ 7 ภูมิภาค เพื่อช่วยเหลือเรื่องร้องทุกข์ และสามารถประสานกับการพัฒนานโยบาย การสร้างเครือข่ายร่วมกับเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ให้มีส่วนร่วมพัฒนาระบบการดูแลผู้ติดเชื้อฯ พัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อพัฒนาศูนย์บริการแบบองค์รวม จำนวน 48 แห่ง สนับสนุนงบประมาณแก่วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 39 สถาบัน เพื่อดำเนินโครงการอาสาสมัครนักศึกษาพยาบาลช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบอุทกภัย 18 จังหวัด รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมดำเนินงานและบริหารงานหลักประกันสุขภาพและเตรียมความพร้อมการดำเนินงานในพื้นที่ สปสช. จะได้โอนงบประมาณการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่กำหนดในอัตรา 37.50 บาทต่อประชากร ต่อไป และได้ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพอีกด้วย สำหรับผลการดำเนินงานด้านเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สปสช. ได้สื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ รวมถึงการสนับสนุน พัฒนาระบบการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ อาทิ สิทธิประโยชน์ มาตรา 41 กองทุนชดเชยให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ผ่านช่องทาง เช่น จดหมาย โทรสาร โทรศัพท์ และสายด่วน 1330 เป็นต้น
การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2550
ตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11/49 เห็นชอบให้ใช้อัตราเหมาจ่ายรายหัว ปี 2549 ไปพลางก่อน เมื่อได้รับเพิ่มจึงจัดสรรเพิ่มให้แต่ละกองทุนย่อย ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน ตามอัตราการใช้บริการและดัชนีคุณภาพบริการ และมติ ครม. วันที่ 14 พ.ย.49 เห็นชอบปีงบประมาณ 2550 ให้งบอัตราเหมาจ่ายรายหัว 1,899.69 บาทต่อประชากร เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 14.49 โดยงบจัดสรรให้พื้นที่ทุรกันดาร มีอัตราเพิ่มมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 328.57 และงบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.67
การดำเนินงานที่สำคัญต่องานหลักประกันสุขภาพ
ในปีงบประมาณ 2550 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติในครั้งที่ 14/49 เห็นชอบยกเลิกการเก็บเงิน 30 บาท โดยให้มีการขอเงินเหมาจ่ายรายหัวเพิ่ม เพื่อชดเชยการยกเลิกเก็บ 30 บาทต่อครั้งที่คาดว่าจะมีเงินรายได้หายไปจากสถานพยาบาลประมาณ 1,160.41 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24.11 บาทต่อประชากร สปสช. สาขาเขตพื้นที่ ได้จัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนหลายโครงการ ได้แก่ หน่วยกู้ชีพเฉลิมราชย์ 60 ปี ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด ศูนย์มะเร็งอุบลราชธานี และหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่เฉลิมพระบารมี 80 พรรษา การดูแลรักษาผู้มีปัญหาด้านสายตาอันเนื่องมาจากเลนส์ตา (ผ่าตัดต้อกระจก) รพ.มหาราชนครราชสีมา ปี 2550 ถวายเป็นพระราชกุศล 80 พรรษา และการสร้างเครือข่ายแกนนำระบบหลักประกันสุขภาพ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ใช้บริการหน่วยกู้ชีพในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ทั้งปีประมาณ 5.5 เท่า ทำให้สถิติอุบัติเหตุจราจรของจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (7 วันอันตราย) ต่ำกว่าประมาณการทุกตัวชี้วัด ผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดอายุขัย ประมาณ 500 ราย ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพ ร้อยละ 69 มีผู้รับบริการผ่าตัดโรคต้อกระจกทั้งสิ้น 753 ราย จากความร่วมมือของ 5 รพ.ในจังหวัดนครราชสีมา
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
ในปีงบประมาณ 2550 สปสช. ได้งบประมาณล่าช้า และไม่เพียงพอเนื่องจากประชากรที่มีสิทธิรับบริการในโครงการหลักประกันฯ ในปี 2550 จำนวน 48.12 ล้านคน แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้ จำนวน 46.06 ล้านคน ทั้งนี้ไม่ได้นับรวมกลุ่มผู้ใช้บริการจากหน่วยบริการเอกชน จำนวน 2.03 มีผลทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิจำนวนหนึ่งไม่สามารถได้รับบริการตามสิทธิ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดทุนสะสมของหน่วยบริการได้ การตัดผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนกับหน่วยบริการเอกชนออกจะขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เน้นให้ครอบคลุมประชาชนทุกคน ส่วนการยกเลิกการร่วมจ่ายค่าบริการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นไป อาจทำให้เกิดผลกระทบตามมาภายหลัง ได้แก่ คาดว่าหน่วยบริการเอกชนลาออกจากโครงการฯ การใช้บริการของประชาชน ภาระงานของบุคลากรในหน่วยบริการ และปัญหาด้านคุณภาพการให้บริการ จะเพิ่มขึ้น ซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติครั้งที่ 16/49 ให้จัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว 24.11 บาท/หัว เพื่อจัดสรรให้แก่หน่วยบริการทุกระดับที่สูญเสียรายได้จากการยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท (มาตรการเฉพาะปี 2550) เนื่องจากมีการยกเลิกเก็บกะทันหัน อาจทำให้หน่วยบริการประสบปัญหาการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--
ความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ
ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2550 ประชาชนที่มีหลักประกันสุขภาพ จำนวน 61.15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.73 ของประชากรทั้งประเทศ (62.57 ล้านคน) เป็นประชากรลงทะเบียนสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 46.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 74.51 โดยลงทะเบียนสิทธิกับหน่วยบริการของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 42.54 ล้านคน (ร้อยละ 91.24) หน่วยบริการของรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2.05 ล้านคน (ร้อยละ 4.40) และหน่วยบริการสังกัดเอกชน 2.03 ล้านคน (ร้อยละ 4.36) จำนวนประชากรที่ยังไม่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพรอการตรวจสอบ 1.42 ล้านคน
การคุ้มครองสิทธิ
สปสช. มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันฯ โดยเรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง ภายใน 5 วันทำการ ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกเรื่องร้องเรียนได้รับการตอบสนองภายใน 30 วันทำการ ร้อยละ 87.83 และได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ร้อยละ 90.64 เรื่องร้องทุกข์สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาไปแล้วทั้งสิ้น ร้อยละ 97.83 นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยดำเนินการประสานการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ จำนวน 1,279 ราย โดย สปสช. ร่วมกับมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี บริการผ่าตัดโรคหัวใจให้กับผู้ป่วยทั้งในและนอกเวลาราชการภายใต้ชื่อโครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวง เฉลิมพระเกียรติ 80 และ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สำหรับพิจารณาช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการ กรณีที่ได้รับ ความเสียหายจากการรักษาพยาบาลกับหน่วยบริการในระบบหลักประกันฯ จำนวน 116 ราย จ่ายเงินช่วยเหลือ เป็นจำนวนเงิน 13.04 ล้านบาท
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ
หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันฯ จำนวน 1,192 แห่ง เป็นโรงพยาบาล 961 แห่ง (ร้อยละ 80.62) ในจำนวนนี้ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 829 แห่ง (ร้อยละ 86.26) เป็นคลินิก จำนวน 231 แห่ง (ร้อยละ 19.38) หน่วยบริการรับส่งต่อเป็นหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนมากที่สุด ร้อยละ 64.43 ส่วนหน่วยบริการประจำผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินมากที่สุด จำนวน 134 แห่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 หน่วยบริการที่ผ่าน
การรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA และมาตรฐาน ISO ร้อยละ 92.89 จากหน่วยบริการทั้งหมด 970 แห่ง และอยู่ระหว่างการพัฒนา จำนวน 69 (ร้อยละ 7.11) นอกจากนี้ สปสช. ได้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 19 ราย เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท
การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
สปสช. เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนที่จัดตั้งขึ้น จำนวน 72 ศูนย์ใน 44 จังหวัด และ 7 ภูมิภาค เพื่อช่วยเหลือเรื่องร้องทุกข์ และสามารถประสานกับการพัฒนานโยบาย การสร้างเครือข่ายร่วมกับเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ให้มีส่วนร่วมพัฒนาระบบการดูแลผู้ติดเชื้อฯ พัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อพัฒนาศูนย์บริการแบบองค์รวม จำนวน 48 แห่ง สนับสนุนงบประมาณแก่วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 39 สถาบัน เพื่อดำเนินโครงการอาสาสมัครนักศึกษาพยาบาลช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบอุทกภัย 18 จังหวัด รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมดำเนินงานและบริหารงานหลักประกันสุขภาพและเตรียมความพร้อมการดำเนินงานในพื้นที่ สปสช. จะได้โอนงบประมาณการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่กำหนดในอัตรา 37.50 บาทต่อประชากร ต่อไป และได้ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพอีกด้วย สำหรับผลการดำเนินงานด้านเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สปสช. ได้สื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ รวมถึงการสนับสนุน พัฒนาระบบการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ อาทิ สิทธิประโยชน์ มาตรา 41 กองทุนชดเชยให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ผ่านช่องทาง เช่น จดหมาย โทรสาร โทรศัพท์ และสายด่วน 1330 เป็นต้น
การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2550
ตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11/49 เห็นชอบให้ใช้อัตราเหมาจ่ายรายหัว ปี 2549 ไปพลางก่อน เมื่อได้รับเพิ่มจึงจัดสรรเพิ่มให้แต่ละกองทุนย่อย ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน ตามอัตราการใช้บริการและดัชนีคุณภาพบริการ และมติ ครม. วันที่ 14 พ.ย.49 เห็นชอบปีงบประมาณ 2550 ให้งบอัตราเหมาจ่ายรายหัว 1,899.69 บาทต่อประชากร เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 14.49 โดยงบจัดสรรให้พื้นที่ทุรกันดาร มีอัตราเพิ่มมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 328.57 และงบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.67
การดำเนินงานที่สำคัญต่องานหลักประกันสุขภาพ
ในปีงบประมาณ 2550 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติในครั้งที่ 14/49 เห็นชอบยกเลิกการเก็บเงิน 30 บาท โดยให้มีการขอเงินเหมาจ่ายรายหัวเพิ่ม เพื่อชดเชยการยกเลิกเก็บ 30 บาทต่อครั้งที่คาดว่าจะมีเงินรายได้หายไปจากสถานพยาบาลประมาณ 1,160.41 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24.11 บาทต่อประชากร สปสช. สาขาเขตพื้นที่ ได้จัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนหลายโครงการ ได้แก่ หน่วยกู้ชีพเฉลิมราชย์ 60 ปี ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด ศูนย์มะเร็งอุบลราชธานี และหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่เฉลิมพระบารมี 80 พรรษา การดูแลรักษาผู้มีปัญหาด้านสายตาอันเนื่องมาจากเลนส์ตา (ผ่าตัดต้อกระจก) รพ.มหาราชนครราชสีมา ปี 2550 ถวายเป็นพระราชกุศล 80 พรรษา และการสร้างเครือข่ายแกนนำระบบหลักประกันสุขภาพ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ใช้บริการหน่วยกู้ชีพในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ทั้งปีประมาณ 5.5 เท่า ทำให้สถิติอุบัติเหตุจราจรของจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (7 วันอันตราย) ต่ำกว่าประมาณการทุกตัวชี้วัด ผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดอายุขัย ประมาณ 500 ราย ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพ ร้อยละ 69 มีผู้รับบริการผ่าตัดโรคต้อกระจกทั้งสิ้น 753 ราย จากความร่วมมือของ 5 รพ.ในจังหวัดนครราชสีมา
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
ในปีงบประมาณ 2550 สปสช. ได้งบประมาณล่าช้า และไม่เพียงพอเนื่องจากประชากรที่มีสิทธิรับบริการในโครงการหลักประกันฯ ในปี 2550 จำนวน 48.12 ล้านคน แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้ จำนวน 46.06 ล้านคน ทั้งนี้ไม่ได้นับรวมกลุ่มผู้ใช้บริการจากหน่วยบริการเอกชน จำนวน 2.03 มีผลทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิจำนวนหนึ่งไม่สามารถได้รับบริการตามสิทธิ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดทุนสะสมของหน่วยบริการได้ การตัดผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนกับหน่วยบริการเอกชนออกจะขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เน้นให้ครอบคลุมประชาชนทุกคน ส่วนการยกเลิกการร่วมจ่ายค่าบริการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นไป อาจทำให้เกิดผลกระทบตามมาภายหลัง ได้แก่ คาดว่าหน่วยบริการเอกชนลาออกจากโครงการฯ การใช้บริการของประชาชน ภาระงานของบุคลากรในหน่วยบริการ และปัญหาด้านคุณภาพการให้บริการ จะเพิ่มขึ้น ซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติครั้งที่ 16/49 ให้จัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว 24.11 บาท/หัว เพื่อจัดสรรให้แก่หน่วยบริการทุกระดับที่สูญเสียรายได้จากการยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท (มาตรการเฉพาะปี 2550) เนื่องจากมีการยกเลิกเก็บกะทันหัน อาจทำให้หน่วยบริการประสบปัญหาการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--