แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติและร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทการใช้น้ำบาดาล พ.ศ. .... และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า
1. เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่มีมาตรการควบคุม และป้องกันการก่อให้เกิดความเสียหายต่อน้ำบาดาล เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้น้ำบาดาลได้รับการคุ้มครองในการใช้ทรัพยากรของชาติที่เหมาะสม และเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล จำเป็นต้องกำหนดให้บุคคลผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำบาดาล จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายอันเกิดจากการดังกล่าว และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ทางราชการต้องรับภาระจ่ายจริงในการขจัดมลพิษ เพื่อให้สามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
2. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 และพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้มีการกำหนดให้มีการควบคุมการเจาะน้ำบาดาลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน และกำหนดเขตห้ามสูบน้ำบาดาล กำหนดอัตราค่าใช้น้ำบาดาลให้ใกล้เคียงกับค่าน้ำประปา ปรับปรุงบทกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับและอัตราค่าธรรมเนียม ตลอดจนให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ช่างเจาะน้ำบาดาล มีความรู้ความสามารถในการเจาะน้ำบาดาล เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติและร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ทำความเสียหายต่อการแพร่กระจายของมลพิษมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายอันเกิดจากการ นั้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ทางราชการต้องรับภาระจ่ายจริงในการขจัดมลพิษ หรือฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล
ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทการใช้น้ำบาดาล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดประเภทการใช้น้ำบาดาล เป็น 3 ประเภท คือ ประเภทอุปโภคบริโภค ประเภทธุรกิจและประเภทเกษตรกรรม เพื่อให้การใช้น้ำบาดาลแต่ละประเภท ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทการใช้น้ำบาดาล พ.ศ. .... และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า
1. เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่มีมาตรการควบคุม และป้องกันการก่อให้เกิดความเสียหายต่อน้ำบาดาล เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้น้ำบาดาลได้รับการคุ้มครองในการใช้ทรัพยากรของชาติที่เหมาะสม และเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล จำเป็นต้องกำหนดให้บุคคลผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำบาดาล จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายอันเกิดจากการดังกล่าว และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ทางราชการต้องรับภาระจ่ายจริงในการขจัดมลพิษ เพื่อให้สามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
2. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 และพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้มีการกำหนดให้มีการควบคุมการเจาะน้ำบาดาลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน และกำหนดเขตห้ามสูบน้ำบาดาล กำหนดอัตราค่าใช้น้ำบาดาลให้ใกล้เคียงกับค่าน้ำประปา ปรับปรุงบทกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับและอัตราค่าธรรมเนียม ตลอดจนให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ช่างเจาะน้ำบาดาล มีความรู้ความสามารถในการเจาะน้ำบาดาล เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติและร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ทำความเสียหายต่อการแพร่กระจายของมลพิษมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายอันเกิดจากการ นั้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ทางราชการต้องรับภาระจ่ายจริงในการขจัดมลพิษ หรือฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล
ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทการใช้น้ำบาดาล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดประเภทการใช้น้ำบาดาล เป็น 3 ประเภท คือ ประเภทอุปโภคบริโภค ประเภทธุรกิจและประเภทเกษตรกรรม เพื่อให้การใช้น้ำบาดาลแต่ละประเภท ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--