คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอรายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ ในช่วงวันที่ 7-19 ธันวาคม 2548 ดังนี้
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดฝนตกหนักติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2548 เป็นต้นมา ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม และบริเวณสองฝั่งคลองธรรมชาติในเขต อ.เคียนชา และ อ.พระแสง ส่วนในเขต อ.เกาะสมุย เกิดฝนตกหนัก วันที่ 8 ธันวาคม 2548 วัดได้ 59.3 ม.ม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังถนนบางสาย โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานีได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือรวม 12 เครื่อง แยกเป็นในเขต อ.เกาะสมุย จำนวน 2 เครื่อง และในพื้นที่ อ.เคียนซา และ อ.พระแสง จำนวน 10 เครื่อง สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9 ธ.ค. 48
จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันมาตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2548 เกิดน้ำท่วมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2548 สถานการณ์น้ำท่วมได้เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ต่อมาได้เกิดฝนตกหนัก อีกในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 มีฝนตกที่ ต.บางจาก อ.เมือง 180.6 ม.ม. อ.ทุ่งสง 150.8 ม.ม. อ.หัวไทร 255.5 ม.ม. อ.ปากพนัง 170.3 ม.ม. อ.ท่าศาลา 97.2 ม.ม. อ.ร่อนพิบูลย์ 270.5 ม.ม. อ.ชะอวด 160.5 ม.ม. อ.เชียรใหญ่ 160.0 ม.ม. อ.ลานสะกา 83.4 ม.ม. อ.บางขัน 98.5 ม.ม. อ.นาบอน 112.5 ม.ม. อ.พรหมคีรี 109.5 ม.ม. อ.พระพรหม 115.0 ม.ม. อ.เฉลิมพระเกียรติ 156.0 ม.ม. อ.จุฬาภรณ์ 246.7 ม.ม. ทำให้ มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 20 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ
อ.ร่อนพิบูลย์ น้ำท่วม 6 ตำบล 57 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.หินตก ต.ร่อนพิบูลย์ ต.เสาธง ต.ควนเกย ต.ควนพัง ต.ควนชุม ระดับน้ำท่วมสูง 0.80 -1.00 ม. วันที่ 18 ธ.ค.48 สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว
อ.ชะอวด เกิดน้ำท่วม 11 ตำบล 87 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ชะอวด ต.เกาะขันธ์ ต.ขอนขาด ต.ท่าประจะ ต.ควนหนอง-หงส์ ต.เขาพระทอง ต.วังอ่าง ต.นางหลง ต.เคร็ง ต.บ้านตูน ต.ท่าสเม็ด
อ.เฉลิมพระเกียรติ เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ทางพูน ต.สวนหลวง ต.ดอนตรอ ต.เชียรเขา โดยที่ ต.สวนหลวง บ้านทุ่งสร้าง น้ำท่วมสูง 2.00 ม.
อ.เชียรใหญ่ น้ำท่วมเป็นวงกว้างทุกตำบล ระดับน้ำสูงที่ ต.แม่เจ้าอยู่หัว และการะเกด 1.70-2.00 ม.
อ.หัวไทร น้ำท่วมทุกตำบล ระดับน้ำสูง 0.50-1.00 ม.
อ.ทุ่งสง ระดับน้ำในตัวเมืองทุ่งสงสูง 1.00-1.50 ม. ถ.สายทุ่งสง จ.ตรัง บริเวณโรงปูนซีเมนต์ ต.ที่วัง ระดับน้ำสูง 0.40 ม. วันที่ 18 ธ.ค.48 สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว
อ.เมือง น้ำจาก อ.ลานสกา ผ่านฝายท่าดี น้ำไหลลงคลองธรรมชาติสายหลัก และไหลเข้าท่วมในเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช บริเวณชุมชนมุมป้อม ชุมชนประตูขาว ชุมชนเพนียด และชุมชนท่าโพธิ์ ระดับน้ำท่วมสูง 0.80-1.00 ม. วันที่ 18 ธ.ค.48 สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว
อ.ปากพนัง น้ำท่วมทุกตำบล
อ.จุฬาภรณ์ น้ำท่วม 6 ตำบล 24 หมู่บ้าน ระดับน้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.วันที่ 18 ธ.ค.48 สถานการณ์ เริ่มคลี่คลายแล้ว
อ.บางขัน น้ำท่วม ต.วังหิน ต.บ้านนิคม
สำหรับในเขต อ.นบพิตำ อ.สิชล อ.พระพรม อ.ขนอม อ.พิปูน อ.ถ้ำพรรณรา อ.ท่าศาลา อ.ทุ่งใหญ่ อ.พรหมคีรี อ.ลานสกา และ กิ่ง อ.ช้างกลาง น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง และ สถานการณ์น้ำท่วมเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ยังคงมีน้ำท่วม 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ชะอวด อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร และ อ.ปากพนัง ขณะนี้ระดับน้ำ อ.ชะอวด ได้ลดลง โดยปริมาณน้ำได้ไหลลงไปเพิ่มที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.ปากพนัง ทำให้อำเภอ ดังกล่าวมีน้ำท่วมขังสูงขึ้นเป็นบริเวณกว้าง โดยในที่ลุ่มมีระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-2.00 ม. แนวโน้มระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ
กรมชลประทานโดยโครงการชลประทานนครศรีธรรมราชได้แจ้งเตือนและขอให้หน่วยงานต่างๆประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรได้รับทราบ พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยสูบน้ำในเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช รวม 10 เครื่อง
จังหวัดตรัง เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ที่ อ.ห้วยยอด 44.5 ม.ม. อ.กันตัง 35.2 ม.ม. อ.สิเกา 67.7 ม.ม. อ.นาโยง 54.2 ม.ม. อ.รัษฎา 60.5 ม.ม. และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 เกิดฝนตกหนัก ที่ อ.เมืองตรัง วัดได้ 150 ม.ม. ที่ฝายคลองนางน้อย วัดได้ 244 ม.ม. ทำให้น้ำในคลองนางน้อยล้นตลิ่งบริเวณด้านท้ายฝายคลองนางน้อย เกิดน้ำท่วมบริเวณในเขตอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.เมือง เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล ได้แก่ ต.บ้านโพธิ์ ต.นาโยงใต้ ต.นาท่ามใต้ และ ต.นาท่ามเหนือ ระดับน้ำท่วมสูง 0.50-1.00 ม. ถนนเลี่ยงเมือง บริเวณสี่แยกอันดามันไป อ.กันตัง ระดับน้ำท่วมสูง 0.50 ม.ระยะทาง 100 ม. รถไม่สามารถสัญจรไปมาได้
อ.ย่านตาขาว เกิดน้ำท่วมขัง 7 ตำบล ได้แก่ ต.ในควน ต.ทุ่งกระบือ ต.ย่านตาขาว ต.หนองบ่อ ต.โพรงจระเข้ ต.นาชุมเห็ด น้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.ห้วยยอด เกิดน้ำท่วมขัง 11 ตำบล 83 หมู่บ้านได้แก่ ต.ห้วยยอด ต.บางดี ต.เขากอบ ต.นาวง ต.ทุ่งต่อ ต.ลำภูรา ต.เขาขาว ต.หนองช้างแล่น ต.เขาปูน ต.ปากคม ต.ท่างิ้ว โดยที่หมู่บ้านจีนเค้า น้ำท่วมสูง 1.50 ม.
อ.กันตัง เกิดน้ำท่วมขัง 3 ตำบล ได้แก่ ต.โคกยาง ต.บางหมาก ต.ควนธานี น้ำท่วมสูง 0.30-0.70 ม.โครงการชลประทานตรังได้แจ้งการเฝ้าระวังภัยให้สำนักบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดตรังทราบแล้ว
จังหวัดสงขลา เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2548 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในเขต อ.เมือง อ.ระโนด อ.สิงหนคร อ.กระแสสินธุ์ อ.สทิงพระ อ.เทพา อ.บางกล่ำ ต่อมาได้เกิดฝนตกหนักอีกในช่วงระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2548 โดยมีฝนตกหนักมากสุดในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ที่ อ.เมือง 170.6 ม.ม. ท่าอากาศยานฯ อ.หาดใหญ่ 108.9 ม.ม. ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ 126.1 ม.ม. อ.สะเดา 88.3 ม.ม. อ.ระโนด 172.8 ม.ม. อ.เทพา 51.4 ม.ม. อ.รัตภูมิ 142.0 ม.ม. อ.จะนะ 50.0 ม.ม. อ.สทิงพระ 220.0 ม.ม. อ.นาหม่อม 105.7 ม.ม. อ.กระแสสินธุ์ 120.5 ม.ม. อ.ควนเนียง 116.5 ม.ม. อ.คลองหอยโข่ง 86.7 ม.ม. อ.สิงหนคร 164.2 ม.ม. อ.บางกล่ำ 240 ม.ม. ทำให้เกิดน้ำท่วม เพิ่มมากขึ้นรวม 15 อำเภอ ดังนี้
อ.เมือง เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล 47 หมู่บ้าน สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติ ในวันที่ 18 ธ.ค.48
อ.สะบ้าย้อย เกิดน้ำท่วม 9 ตำบล
อ.กระแสสินธุ์ เกิดน้ำท่วม 4 ตำบลได้แก่ ต.โรง ต.เชิงแส ต.เกาะใหญ่ ต.กระแสสินธ์ น้ำท่วมสูง 0.80-1.00 ม.
อ.ระโนด เกิดน้ำท่วม 11 ตำบล 2 เทศบาลตำบล 6 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ระโนด ต.ปากแตร ต.ระวะ ต.คลองแคน ต.แดนสงวน ต.ตะเครียะ ต.ท่าบอน ต.พังยาง ต.วัดสน ต.บ้านขาว ต.บ้านไม้ เทศบาลต.ระโนด เทศบาล ต.บ่อตรุ น้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.บางกล่ำ เกิดน้ำท่วมในที่ลุ่มริมคลองระบาย ร.1 จำนวน 2 ตำบล ต.ท่าช้าง ต.บางกล่ำ น้ำท่วมสูง 0.50 ม.
อ.รัตภูมิ เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล ได้แก่ ต.เขาพระ ต.ท่าชะมวง ต.กำแพงเพชร ต.คูหาใต้ ต.ควนรูน้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.สิงหนคร เกิดน้ำท่วม 6 ตำบล ได้แก่ ต.รำแดง ต.ทำนบ ต.ป่าขาด ต.ปากรอ ต.ชะแล้ ต.บางเขียด ต.สะทิงหม้อ น้ำท่วมสูง 1.50-2.00 ม.
อ.สทิงพระ เกิดน้ำท่วมขัง 4 ตำบล ระดับน้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.ควนเนียง เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล ได้แก่ ต.รัตภูมิ ต.ห้วยลึก ต.บางเหรียง ต.ควนโส และเทศบาล ต.ควนเนียง น้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.นาทวี เกิดน้ำท่วม 10 ตำบล น้ำท่วมสูง 0.30-0.70 ม.
อ.เทพา เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล น้ำท่วมสูง 1.00-1.20 ม.
อ.นาหม่อม เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล น้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.จะนะ เกิดน้ำท่วม 14 ตำบล น้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.คลองหอยโข่ง เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล 32 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 1.00 ม.
อ.หาดใหญ่ เกิดน้ำท่วม 12 ตำบล 1 เทศบาล
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ยังคงมีน้ำท่วม 12 อำเภอ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ อ.สทิงพระ อ.ระโนด อ.สิงหนคร อ.กระแสสินธุ์ อ.รัตภูมิ อ.บางกล่ำ อ.ควนเนียง อ.สะบ้าย้อย อ.เทพา อ.นาทวี และอ.นาหม่อม
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
เมื่อเวลา 08.00 น. ของวันที่ 18 ธันวาคม 2548 ระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา + 7.42 ม.รทก. เริ่มล้นข้ามกำแพงกันตลิ่งฝั่งซ้ายของเทศบาลนครหาดใหญ่ (ระดับกำแพงกันตลิ่งฝั่งซ้าย + 7.40 ม.รทก. ระดับกำแพงกันตลิ่งฝั่งขวาเทศบาลนครหาดใหญ่ +8.30 ม. รทก.) ไหลเข้าท่วมชุมชนบ้านหาดใหญ่ใน โดยมีระดับน้ำสูงสุด เมื่อเวลา 03.00 น. ของวันที่ 19 ธ.ค.48 ที่ระดับ + 7.65 ม.รทก. (สูงกว่าตลิ่งฝั่งซ้าย 0.25 ม.) และลดลงเมื่อเวลา 08.00 น. ของวันที่ 19 ธ.ค. 48 ส่วนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เกิดน้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำ 0.30 ม. เนื่องจากเกิดฝนตกหนัก ที่นครหาดใหญ่ (เวลา 03.00น.- 05.00 น. ของวันที่ 18 ธ.ค.48) วัดได้ 96 ม.ม. และเมื่อเวลา 11.00 น. (18 ธ.ค.48) น้ำในคลองอู่ตะเภาล้น ตลิ่งฝั่งขวา บริเวณบ้านบางหัก ล้นข้ามคันกั้นน้ำของเทศบาลนครหาดใหญ่ประมาณ 0.10-0.15 ม. ทำให้เกิดน้ำท่วมใน เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ไหลเข้าท่วมชุมชนหาและเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.48 น้ำท่วมพื้นที่บริเวณชุมชนรัตนอุทิศ โชคสมาน สันติราษฎร์ บางหัก มีน้ำท่วมสูง 0.50 ม. ตลาดกิมหยง น้ำท่วมสูง0.30-0.50ม.นอกจากนี้มีน้ำท่วมถนนกาญจนวินิจ ตั้งแต่ค่ายเสนาณรงค์ถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถนนสาย1,2,3 ถนนบุญนกัน ถนนสัจกุล ถนนสายเอเชีย (หาดใหญ่-พัทลุง) ปัจจุบัน 13.00 น. 19 ธ.ค.48 ระดับน้ำ = 7.59 ม. (สูงกว่าตลิ่ง ฝั่งหาดใหญ่ใน = 0.19 ม.) และลดลงชั่วโมงละ 1 ซ.ม.หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าระดับน้ำจะลดต่ำกว่าระดับตลิ่งฝั่งหาดใหญ่ใน = 7.40 ม. ในวันพรุ่งนี้ (20 ธ.ค.48) เวลาประมาณ 09.00น. และมีระดับน้ำที่ 5.00 ม.(ระดับตลิ่งเดิมของแม่น้ำอู่ตะเภา)ในวันที่ 22 ธ.ค. 48 เวลา 12.00 น. สำหรับในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่เกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่ กรมชลประทาน และเทศบาล นครหาดใหญ่ ได้เร่งสูบระบายน้ำ ขณะนี้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
สำนักงานชลประทานที่ 16 ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมในเขตเทศบาลนครสงขลา 7 เครื่อง เทศบาลตำบลควนลัง 6 เครื่องลัง เทศบาลคอหงส์ 6 เครื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหวะ 1 เครื่อง เทศบาลตำบลนาทวี 4 เครื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลพะวง 1 เครื่อง เทศบาลสทิงหม้อ 3 เครื่อง สชป.16 2 เครื่อง เทศบาลตำบล เขารูปช้าง 5 เครื่อง และเทศบาลตำบลควนลัง 2 เครื่อง รวมทั้งหมด 37 เครื่อง กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมจากส่วนกลาง ขนาด 24 นิ้ว จำนวน 4 เครื่อง และขนาด 12 นิ้ว จำนวน 11 เครื่อง รวมทั้งทั้งสิ้น 52 เครื่อง
แนวทางแก้ไข(หลังน้ำลด)
1. จะเร่งรัดเข้าดำเนินการในส่วนของคลองระบาย ร.1 ที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จำนวน 3 ช่อง รวมความยาว 2,300 เมตร (เป็นส่วนที่มีปัญหาเรื่องที่ดินเวนคืนและยังเป็นงานตกค้าง) เป็นงานที่มีสัญญาจ้างอยู่แล้ว ไม่ต้องของบประมาณเพิ่มเติม
2. จะก่อสร้าง ปตร.ระบายน้ำ คลองวาดและคลองต่ำพร้อมขุดลอกแยกซอย เพิ่มเติม(ซึ่งได้จัดซื้อที่ดินไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนปี 2549) คิดเป็นงบประมาณที่จะต้องดำเนินการ 80 ล้านบาท
3. จะต้องสร้างอาคารรับและระบายน้ำขนาดเล็กเพิ่มเติมอีกในคลองระบายน้ำ ร.1 — ร.6 รวม 5 สายจำนวน 35 แห่ง ซึ่งจะต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณส่วนเหลือจ่ายของกรมฯในปีงบประมาณ 2549 เป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท
4. เร่งรับซ่อมแซมคลองระบายน้ำที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยครั้งนี้ เป็นเงิน 20 ล้านบาท รวมเงินงบประมาณที่ต้องเร่งรัดดำเนินการหลังน้ำลดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 130 ล้านบาท
การเตือนภัยน้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ กรมชลประทานได้ติดตามจุดเฝ้าระวังที่สถานีวัดน้ำบ้านคลองแงะ (X.173)และสถานีบ้านศาลา(X.90)ด้วยระบบโทรมาตรตลอดเวลา ในช่วงที่ผ่านมาสามารถแจ้งเตือนจังหวัด หน่วยงานต่างๆ และราษฎรให้ทราบและเตรียมการป้องกันได้ทันเวลา (สามารถดูได้จากเว็บไซต์ : www.rid16.com)
จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2548 ฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในเขต อ.บางแก้ว อ.เมือง อ.ควนขนุน อ.กงหรา อ.เขาชัยสน และ อ.ปากพยูน สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 12 ธันวาคม 2548 ต่อมาได้เกิดฝนตกหนักอีกในช่วงระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2548 โดยมีฝนตกหนักมากที่สุดในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 มีฝนตกที่ ต.ควนกุฎ อ.เมือง 189.6 ม.ม. อ.เมือง 170.0 ม.ม. อ.ควนขนุน 185.0 ม.ม. อ.ปากพยูน 215.2 ม.ม. อ.เขาชัยสน 150.9 ม.ม. อ.ตะโหมด 230.0 ม.ม. อ.กงหรา 257.0 ม.ม. อ.ป่าบอน 232.0 ม.ม. อ.ศรีบรรพต 160.0 ม.ม. อ.ป่าพยอม 210.0 ม.ม. อ.บางแก้ว 250.0 ม.ม.กิ่งอ.ศรีนครินทร์ 155.0 ม.ม.ทำให้เกิดน้ำท่วมเพิ่มขึ้นในอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.ควนขนุน เกิดน้ำท่วม 6 ตำบล 14 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 0.20-0.30 ม.
อ.เมือง เกิดน้ำท่วม 12 ตำบล 72 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.เขาเจียก ต.โคกชะงาย ต.ลำปัว ต.ปรางหมู่ ต.ชัยบุรี ต.ควนมะพร้าว ต.พญาขันธ์ ต.ตำนาน ต.นาท่อม ต.ท่าแค ต.ร่มเมือง ระดับน้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.เขาชัยสน เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล 23 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 1.00-1.20 ม.
อ.ป่าบอน เกิดน้ำท่วม 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.บางแก้ว เกิดน้ำท่วม 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ท่ามะเดือ น้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.ปากพยูน น้ำท่วม 5 ตำบล 9 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 0.50-2.00 ม.
กิ่ง อ.ศรีนครินทร์ เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล 25 หมู่บ้าน
อ.ศรีบรรพต เกิดน้ำท่วม 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน
อ.ตะโหมด เกิดน้ำท่วม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.คลองใหญ่ ต.แม่ขรี น้ำท่วมสูง 0.30-0.60 ม.
อ.ปากพะยอม เกิดน้ำท่วม4 ตำบล17หมู่บ้านได้แก่ ต.ป่าพะยอม ต.บ้านพร้าว ต.ลาดข่อย ต.เกาะเต่า
อ.กงหรา เกิดน้ำท่วม 3 ตำบล 12 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 1.20-1.50 ม.
สถานการณ์น้ำท่วม เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.48 ระดับท่วมเริ่มมีแนวโน้มลดลง โดยน้ำส่วนใหญ่จะไหลไปยังพื้นที่ ที่ติดกับทะเลสาบสงขลา ยังคงมีน้ำท่วมขังใน อ.ควนขนุน อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว อ.ปากพยูน โดยมีระดับน้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
จังหวัดนราธิวาส เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 7-8 ธันวาคม 2548 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีสาคร อ.สุคริน และ อ.ระแงะ สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9 ธันวาคม 2548 ต่อมาได้เกิดฝนหนักมากที่สุดในวันที่ 14 ธันวาคม 2548 โดยมีฝนตกที่ อ.เมือง 201.0 ม.ม. อ.ยี่งอ 221.2 ม.ม. อ.สุไหงปาดี 66.9 ม.ม. อ.ระแงะ 113.2 ม.ม. อ.ตากใบ 171.6 ม.ม. อ.สุไหงโก-ลก 110.9 ม.ม. อ.บาเจาะ 207.5 ม.ม. อ.รือเสาะ 195.7 ม.ม. อ.แว้ง 85.6 ม.ม. อ.จะแนะ 81.9 ม.ม. อ.สุคิริน 65.9 ม.ม. อ.ศรสาคร 129.7 ม.ม. อ.เจาะไอร้อง 71.0 ม.ม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังอีกใน 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง ต.ลำภู ม.8 บ้านทุ่งกง ต.โคกเคียน มีน้ำท่วมขังประมาณ 0.50 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น เนื่องจากฝนตกหนัก รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ และที่ อ.ตากใบ มีน้ำท่วมขังใน 2 ตำบล ได้แก่ ต.โฆษิต และ ต.นานาค ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 ม.
สถานการณ์น้ำท่วม เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.48 สถานการณ์โดยทั่วไปเริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมเกือบทุกอำเภอ ระดับน้ำเริ่มลดลง สูงประมาณ 0.10-0.30 ม. ถนนสายหลักสามารถสัญจรได้ กรมชลประทานส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 10 เครื่อง หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม แนวโน้มระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ
จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 7-8 ธันวาคม 2548 เกิดฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังบริเวณรอบนอกตัวเมืองปัตตานี และบางพื้นที่ของ อ.ยะรัง และ อ.หนองจิก มีน้ำท่วมขังสูง 0.30 ม. ต่อมาได้เกิดฝนตกถึงหนักมากติดต่อกันในช่วงวันที่ 13-17 ธันวาคม 2548 โดยมีฝนตกหนักมากที่สุดในวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ฝนตกที่ ท่าอากาศยานฯ อ.เมือง 151.1 ม.ม. อ.เมือง 119.3 ม.ม. อ.สายบุรี 149.9 ม.ม. อ.ยะรัง 184.5 ม.ม. อ.โคกโพธิ์ 228.5 ม.ม. อ.ปะนาเระ 155.9 ม.ม. อ.มายอ 214 ม.ม. อ.หนองจิก 191.0 ม.ม. อ.ยะหริ่ง 143.0 ม.ม. อ.กะพ้อ 183.6 ม.ม. อ.ไม้แก่น 130.8 ม.ม. อ.ทุ่งยางแดง 145.7 ม.ม. อ.แม่ลาน 200.0 ม.ม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2548 ที่ อ.เมืองในเขตเทศบาลและบริเวณรอบนอกของอำเภอเมืองระดับน้ำสูง 0.50 ม. อ.หนองจิก ท่วมขังในพื้นที่ ต.ดอนรัก ต.บ่อทอง ต.คอลอตันหยง น้ำท่วมสูง 1.00 ม. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ คือ อ.แม่ลาน อ.น้ำเชี่ยว อ.หนองจิก และ อ.ยะรัง น้ำจาก จ.ยะลา ไหลมาสมทบทำให้น้ำท่วมสูงขึ้นมีระดับสูง 0.50-1.00 ม. สถานการณ์น้ำท่วม เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ คือ อ.แม่ลาน อ.น้ำเชี่ยว อ.หนองจิก และ อ.ยะรัง น้ำจาก จ.ยะลา ไหลมาสมทบทำให้น้ำท่วมสูงขึ้นมีระดับสูง 0.50-1.00 ม. กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 10 เครื่อง หากไม่มีฝนตกเพิ่ม แนวโน้มระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ
จังหวัดยะลา เกิดฝนตกหนักติดต่อกันวันที่ 7-9 ธ.ค.48 ทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ลุ่มและพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบริเวณเขตเทศบาลนครยะลา อ.กรงปินัง อ.รามัน กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 16 ได้ส่งเครื่องสูบน้ำ 14 เครื่อง เพื่อเร่งสูบระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครฯ สถานการณ์น้ำท่วมได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.48 ต่อมาได้เกิดฝนตกติดต่อกันวันที่ 13-15 ธ.ค.48 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างอำเภอ รอบนอก ได้แก่ อ.ยะหา อ.บังนังสตา อ.กรงปินัง อ.รามัน และ อ.เมือง เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.48 อ.เมืองในเขตนครยะลา มีน้ำท่วมบริเวณชุมชนธนวิถี ชุมชนสามหมออุตสาหกรรม ชุมชนฝั่งตลาดเก่า ระดับน้ำสูง 1.00-1.50 ม. บริเวณโรงแรมยะลารามา ถนนรถไฟ ตลาดสด น้ำท่วมสูง 0.80 ม. กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือจำนวน 14 เครื่อง หากไม่มีฝนตกเพิ่ม แนวโน้มระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ
จ.สตูล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2548 ได้เกิดน้ำท่วมในเขตอ.เมือง อ.ท่าแพ อ.ควนโดน อ.ควนกาหลง อ.ละงู และกิ่ง อ.มะนัง ถนนสายหลักยังใช้การได้ไม่มีน้ำท่วม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดฝนตกหนักติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2548 เป็นต้นมา ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม และบริเวณสองฝั่งคลองธรรมชาติในเขต อ.เคียนชา และ อ.พระแสง ส่วนในเขต อ.เกาะสมุย เกิดฝนตกหนัก วันที่ 8 ธันวาคม 2548 วัดได้ 59.3 ม.ม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังถนนบางสาย โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานีได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือรวม 12 เครื่อง แยกเป็นในเขต อ.เกาะสมุย จำนวน 2 เครื่อง และในพื้นที่ อ.เคียนซา และ อ.พระแสง จำนวน 10 เครื่อง สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9 ธ.ค. 48
จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันมาตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2548 เกิดน้ำท่วมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2548 สถานการณ์น้ำท่วมได้เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ต่อมาได้เกิดฝนตกหนัก อีกในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 มีฝนตกที่ ต.บางจาก อ.เมือง 180.6 ม.ม. อ.ทุ่งสง 150.8 ม.ม. อ.หัวไทร 255.5 ม.ม. อ.ปากพนัง 170.3 ม.ม. อ.ท่าศาลา 97.2 ม.ม. อ.ร่อนพิบูลย์ 270.5 ม.ม. อ.ชะอวด 160.5 ม.ม. อ.เชียรใหญ่ 160.0 ม.ม. อ.ลานสะกา 83.4 ม.ม. อ.บางขัน 98.5 ม.ม. อ.นาบอน 112.5 ม.ม. อ.พรหมคีรี 109.5 ม.ม. อ.พระพรหม 115.0 ม.ม. อ.เฉลิมพระเกียรติ 156.0 ม.ม. อ.จุฬาภรณ์ 246.7 ม.ม. ทำให้ มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 20 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ
อ.ร่อนพิบูลย์ น้ำท่วม 6 ตำบล 57 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.หินตก ต.ร่อนพิบูลย์ ต.เสาธง ต.ควนเกย ต.ควนพัง ต.ควนชุม ระดับน้ำท่วมสูง 0.80 -1.00 ม. วันที่ 18 ธ.ค.48 สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว
อ.ชะอวด เกิดน้ำท่วม 11 ตำบล 87 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ชะอวด ต.เกาะขันธ์ ต.ขอนขาด ต.ท่าประจะ ต.ควนหนอง-หงส์ ต.เขาพระทอง ต.วังอ่าง ต.นางหลง ต.เคร็ง ต.บ้านตูน ต.ท่าสเม็ด
อ.เฉลิมพระเกียรติ เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ทางพูน ต.สวนหลวง ต.ดอนตรอ ต.เชียรเขา โดยที่ ต.สวนหลวง บ้านทุ่งสร้าง น้ำท่วมสูง 2.00 ม.
อ.เชียรใหญ่ น้ำท่วมเป็นวงกว้างทุกตำบล ระดับน้ำสูงที่ ต.แม่เจ้าอยู่หัว และการะเกด 1.70-2.00 ม.
อ.หัวไทร น้ำท่วมทุกตำบล ระดับน้ำสูง 0.50-1.00 ม.
อ.ทุ่งสง ระดับน้ำในตัวเมืองทุ่งสงสูง 1.00-1.50 ม. ถ.สายทุ่งสง จ.ตรัง บริเวณโรงปูนซีเมนต์ ต.ที่วัง ระดับน้ำสูง 0.40 ม. วันที่ 18 ธ.ค.48 สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว
อ.เมือง น้ำจาก อ.ลานสกา ผ่านฝายท่าดี น้ำไหลลงคลองธรรมชาติสายหลัก และไหลเข้าท่วมในเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช บริเวณชุมชนมุมป้อม ชุมชนประตูขาว ชุมชนเพนียด และชุมชนท่าโพธิ์ ระดับน้ำท่วมสูง 0.80-1.00 ม. วันที่ 18 ธ.ค.48 สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว
อ.ปากพนัง น้ำท่วมทุกตำบล
อ.จุฬาภรณ์ น้ำท่วม 6 ตำบล 24 หมู่บ้าน ระดับน้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.วันที่ 18 ธ.ค.48 สถานการณ์ เริ่มคลี่คลายแล้ว
อ.บางขัน น้ำท่วม ต.วังหิน ต.บ้านนิคม
สำหรับในเขต อ.นบพิตำ อ.สิชล อ.พระพรม อ.ขนอม อ.พิปูน อ.ถ้ำพรรณรา อ.ท่าศาลา อ.ทุ่งใหญ่ อ.พรหมคีรี อ.ลานสกา และ กิ่ง อ.ช้างกลาง น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง และ สถานการณ์น้ำท่วมเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ยังคงมีน้ำท่วม 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ชะอวด อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร และ อ.ปากพนัง ขณะนี้ระดับน้ำ อ.ชะอวด ได้ลดลง โดยปริมาณน้ำได้ไหลลงไปเพิ่มที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.ปากพนัง ทำให้อำเภอ ดังกล่าวมีน้ำท่วมขังสูงขึ้นเป็นบริเวณกว้าง โดยในที่ลุ่มมีระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-2.00 ม. แนวโน้มระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ
กรมชลประทานโดยโครงการชลประทานนครศรีธรรมราชได้แจ้งเตือนและขอให้หน่วยงานต่างๆประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรได้รับทราบ พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยสูบน้ำในเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช รวม 10 เครื่อง
จังหวัดตรัง เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ที่ อ.ห้วยยอด 44.5 ม.ม. อ.กันตัง 35.2 ม.ม. อ.สิเกา 67.7 ม.ม. อ.นาโยง 54.2 ม.ม. อ.รัษฎา 60.5 ม.ม. และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 เกิดฝนตกหนัก ที่ อ.เมืองตรัง วัดได้ 150 ม.ม. ที่ฝายคลองนางน้อย วัดได้ 244 ม.ม. ทำให้น้ำในคลองนางน้อยล้นตลิ่งบริเวณด้านท้ายฝายคลองนางน้อย เกิดน้ำท่วมบริเวณในเขตอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.เมือง เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล ได้แก่ ต.บ้านโพธิ์ ต.นาโยงใต้ ต.นาท่ามใต้ และ ต.นาท่ามเหนือ ระดับน้ำท่วมสูง 0.50-1.00 ม. ถนนเลี่ยงเมือง บริเวณสี่แยกอันดามันไป อ.กันตัง ระดับน้ำท่วมสูง 0.50 ม.ระยะทาง 100 ม. รถไม่สามารถสัญจรไปมาได้
อ.ย่านตาขาว เกิดน้ำท่วมขัง 7 ตำบล ได้แก่ ต.ในควน ต.ทุ่งกระบือ ต.ย่านตาขาว ต.หนองบ่อ ต.โพรงจระเข้ ต.นาชุมเห็ด น้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.ห้วยยอด เกิดน้ำท่วมขัง 11 ตำบล 83 หมู่บ้านได้แก่ ต.ห้วยยอด ต.บางดี ต.เขากอบ ต.นาวง ต.ทุ่งต่อ ต.ลำภูรา ต.เขาขาว ต.หนองช้างแล่น ต.เขาปูน ต.ปากคม ต.ท่างิ้ว โดยที่หมู่บ้านจีนเค้า น้ำท่วมสูง 1.50 ม.
อ.กันตัง เกิดน้ำท่วมขัง 3 ตำบล ได้แก่ ต.โคกยาง ต.บางหมาก ต.ควนธานี น้ำท่วมสูง 0.30-0.70 ม.โครงการชลประทานตรังได้แจ้งการเฝ้าระวังภัยให้สำนักบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดตรังทราบแล้ว
จังหวัดสงขลา เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2548 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในเขต อ.เมือง อ.ระโนด อ.สิงหนคร อ.กระแสสินธุ์ อ.สทิงพระ อ.เทพา อ.บางกล่ำ ต่อมาได้เกิดฝนตกหนักอีกในช่วงระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2548 โดยมีฝนตกหนักมากสุดในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ที่ อ.เมือง 170.6 ม.ม. ท่าอากาศยานฯ อ.หาดใหญ่ 108.9 ม.ม. ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ 126.1 ม.ม. อ.สะเดา 88.3 ม.ม. อ.ระโนด 172.8 ม.ม. อ.เทพา 51.4 ม.ม. อ.รัตภูมิ 142.0 ม.ม. อ.จะนะ 50.0 ม.ม. อ.สทิงพระ 220.0 ม.ม. อ.นาหม่อม 105.7 ม.ม. อ.กระแสสินธุ์ 120.5 ม.ม. อ.ควนเนียง 116.5 ม.ม. อ.คลองหอยโข่ง 86.7 ม.ม. อ.สิงหนคร 164.2 ม.ม. อ.บางกล่ำ 240 ม.ม. ทำให้เกิดน้ำท่วม เพิ่มมากขึ้นรวม 15 อำเภอ ดังนี้
อ.เมือง เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล 47 หมู่บ้าน สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติ ในวันที่ 18 ธ.ค.48
อ.สะบ้าย้อย เกิดน้ำท่วม 9 ตำบล
อ.กระแสสินธุ์ เกิดน้ำท่วม 4 ตำบลได้แก่ ต.โรง ต.เชิงแส ต.เกาะใหญ่ ต.กระแสสินธ์ น้ำท่วมสูง 0.80-1.00 ม.
อ.ระโนด เกิดน้ำท่วม 11 ตำบล 2 เทศบาลตำบล 6 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ระโนด ต.ปากแตร ต.ระวะ ต.คลองแคน ต.แดนสงวน ต.ตะเครียะ ต.ท่าบอน ต.พังยาง ต.วัดสน ต.บ้านขาว ต.บ้านไม้ เทศบาลต.ระโนด เทศบาล ต.บ่อตรุ น้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.บางกล่ำ เกิดน้ำท่วมในที่ลุ่มริมคลองระบาย ร.1 จำนวน 2 ตำบล ต.ท่าช้าง ต.บางกล่ำ น้ำท่วมสูง 0.50 ม.
อ.รัตภูมิ เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล ได้แก่ ต.เขาพระ ต.ท่าชะมวง ต.กำแพงเพชร ต.คูหาใต้ ต.ควนรูน้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.สิงหนคร เกิดน้ำท่วม 6 ตำบล ได้แก่ ต.รำแดง ต.ทำนบ ต.ป่าขาด ต.ปากรอ ต.ชะแล้ ต.บางเขียด ต.สะทิงหม้อ น้ำท่วมสูง 1.50-2.00 ม.
อ.สทิงพระ เกิดน้ำท่วมขัง 4 ตำบล ระดับน้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.ควนเนียง เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล ได้แก่ ต.รัตภูมิ ต.ห้วยลึก ต.บางเหรียง ต.ควนโส และเทศบาล ต.ควนเนียง น้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.นาทวี เกิดน้ำท่วม 10 ตำบล น้ำท่วมสูง 0.30-0.70 ม.
อ.เทพา เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล น้ำท่วมสูง 1.00-1.20 ม.
อ.นาหม่อม เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล น้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.จะนะ เกิดน้ำท่วม 14 ตำบล น้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.คลองหอยโข่ง เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล 32 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 1.00 ม.
อ.หาดใหญ่ เกิดน้ำท่วม 12 ตำบล 1 เทศบาล
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ยังคงมีน้ำท่วม 12 อำเภอ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ อ.สทิงพระ อ.ระโนด อ.สิงหนคร อ.กระแสสินธุ์ อ.รัตภูมิ อ.บางกล่ำ อ.ควนเนียง อ.สะบ้าย้อย อ.เทพา อ.นาทวี และอ.นาหม่อม
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
เมื่อเวลา 08.00 น. ของวันที่ 18 ธันวาคม 2548 ระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา + 7.42 ม.รทก. เริ่มล้นข้ามกำแพงกันตลิ่งฝั่งซ้ายของเทศบาลนครหาดใหญ่ (ระดับกำแพงกันตลิ่งฝั่งซ้าย + 7.40 ม.รทก. ระดับกำแพงกันตลิ่งฝั่งขวาเทศบาลนครหาดใหญ่ +8.30 ม. รทก.) ไหลเข้าท่วมชุมชนบ้านหาดใหญ่ใน โดยมีระดับน้ำสูงสุด เมื่อเวลา 03.00 น. ของวันที่ 19 ธ.ค.48 ที่ระดับ + 7.65 ม.รทก. (สูงกว่าตลิ่งฝั่งซ้าย 0.25 ม.) และลดลงเมื่อเวลา 08.00 น. ของวันที่ 19 ธ.ค. 48 ส่วนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เกิดน้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำ 0.30 ม. เนื่องจากเกิดฝนตกหนัก ที่นครหาดใหญ่ (เวลา 03.00น.- 05.00 น. ของวันที่ 18 ธ.ค.48) วัดได้ 96 ม.ม. และเมื่อเวลา 11.00 น. (18 ธ.ค.48) น้ำในคลองอู่ตะเภาล้น ตลิ่งฝั่งขวา บริเวณบ้านบางหัก ล้นข้ามคันกั้นน้ำของเทศบาลนครหาดใหญ่ประมาณ 0.10-0.15 ม. ทำให้เกิดน้ำท่วมใน เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ไหลเข้าท่วมชุมชนหาและเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.48 น้ำท่วมพื้นที่บริเวณชุมชนรัตนอุทิศ โชคสมาน สันติราษฎร์ บางหัก มีน้ำท่วมสูง 0.50 ม. ตลาดกิมหยง น้ำท่วมสูง0.30-0.50ม.นอกจากนี้มีน้ำท่วมถนนกาญจนวินิจ ตั้งแต่ค่ายเสนาณรงค์ถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถนนสาย1,2,3 ถนนบุญนกัน ถนนสัจกุล ถนนสายเอเชีย (หาดใหญ่-พัทลุง) ปัจจุบัน 13.00 น. 19 ธ.ค.48 ระดับน้ำ = 7.59 ม. (สูงกว่าตลิ่ง ฝั่งหาดใหญ่ใน = 0.19 ม.) และลดลงชั่วโมงละ 1 ซ.ม.หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าระดับน้ำจะลดต่ำกว่าระดับตลิ่งฝั่งหาดใหญ่ใน = 7.40 ม. ในวันพรุ่งนี้ (20 ธ.ค.48) เวลาประมาณ 09.00น. และมีระดับน้ำที่ 5.00 ม.(ระดับตลิ่งเดิมของแม่น้ำอู่ตะเภา)ในวันที่ 22 ธ.ค. 48 เวลา 12.00 น. สำหรับในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่เกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่ กรมชลประทาน และเทศบาล นครหาดใหญ่ ได้เร่งสูบระบายน้ำ ขณะนี้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว
สำนักงานชลประทานที่ 16 ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมในเขตเทศบาลนครสงขลา 7 เครื่อง เทศบาลตำบลควนลัง 6 เครื่องลัง เทศบาลคอหงส์ 6 เครื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหวะ 1 เครื่อง เทศบาลตำบลนาทวี 4 เครื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลพะวง 1 เครื่อง เทศบาลสทิงหม้อ 3 เครื่อง สชป.16 2 เครื่อง เทศบาลตำบล เขารูปช้าง 5 เครื่อง และเทศบาลตำบลควนลัง 2 เครื่อง รวมทั้งหมด 37 เครื่อง กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมจากส่วนกลาง ขนาด 24 นิ้ว จำนวน 4 เครื่อง และขนาด 12 นิ้ว จำนวน 11 เครื่อง รวมทั้งทั้งสิ้น 52 เครื่อง
แนวทางแก้ไข(หลังน้ำลด)
1. จะเร่งรัดเข้าดำเนินการในส่วนของคลองระบาย ร.1 ที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จำนวน 3 ช่อง รวมความยาว 2,300 เมตร (เป็นส่วนที่มีปัญหาเรื่องที่ดินเวนคืนและยังเป็นงานตกค้าง) เป็นงานที่มีสัญญาจ้างอยู่แล้ว ไม่ต้องของบประมาณเพิ่มเติม
2. จะก่อสร้าง ปตร.ระบายน้ำ คลองวาดและคลองต่ำพร้อมขุดลอกแยกซอย เพิ่มเติม(ซึ่งได้จัดซื้อที่ดินไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนปี 2549) คิดเป็นงบประมาณที่จะต้องดำเนินการ 80 ล้านบาท
3. จะต้องสร้างอาคารรับและระบายน้ำขนาดเล็กเพิ่มเติมอีกในคลองระบายน้ำ ร.1 — ร.6 รวม 5 สายจำนวน 35 แห่ง ซึ่งจะต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณส่วนเหลือจ่ายของกรมฯในปีงบประมาณ 2549 เป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท
4. เร่งรับซ่อมแซมคลองระบายน้ำที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยครั้งนี้ เป็นเงิน 20 ล้านบาท รวมเงินงบประมาณที่ต้องเร่งรัดดำเนินการหลังน้ำลดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 130 ล้านบาท
การเตือนภัยน้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ กรมชลประทานได้ติดตามจุดเฝ้าระวังที่สถานีวัดน้ำบ้านคลองแงะ (X.173)และสถานีบ้านศาลา(X.90)ด้วยระบบโทรมาตรตลอดเวลา ในช่วงที่ผ่านมาสามารถแจ้งเตือนจังหวัด หน่วยงานต่างๆ และราษฎรให้ทราบและเตรียมการป้องกันได้ทันเวลา (สามารถดูได้จากเว็บไซต์ : www.rid16.com)
จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2548 ฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในเขต อ.บางแก้ว อ.เมือง อ.ควนขนุน อ.กงหรา อ.เขาชัยสน และ อ.ปากพยูน สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 12 ธันวาคม 2548 ต่อมาได้เกิดฝนตกหนักอีกในช่วงระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2548 โดยมีฝนตกหนักมากที่สุดในวันที่ 15 ธันวาคม 2548 มีฝนตกที่ ต.ควนกุฎ อ.เมือง 189.6 ม.ม. อ.เมือง 170.0 ม.ม. อ.ควนขนุน 185.0 ม.ม. อ.ปากพยูน 215.2 ม.ม. อ.เขาชัยสน 150.9 ม.ม. อ.ตะโหมด 230.0 ม.ม. อ.กงหรา 257.0 ม.ม. อ.ป่าบอน 232.0 ม.ม. อ.ศรีบรรพต 160.0 ม.ม. อ.ป่าพยอม 210.0 ม.ม. อ.บางแก้ว 250.0 ม.ม.กิ่งอ.ศรีนครินทร์ 155.0 ม.ม.ทำให้เกิดน้ำท่วมเพิ่มขึ้นในอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.ควนขนุน เกิดน้ำท่วม 6 ตำบล 14 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 0.20-0.30 ม.
อ.เมือง เกิดน้ำท่วม 12 ตำบล 72 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.เขาเจียก ต.โคกชะงาย ต.ลำปัว ต.ปรางหมู่ ต.ชัยบุรี ต.ควนมะพร้าว ต.พญาขันธ์ ต.ตำนาน ต.นาท่อม ต.ท่าแค ต.ร่มเมือง ระดับน้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.เขาชัยสน เกิดน้ำท่วม 5 ตำบล 23 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 1.00-1.20 ม.
อ.ป่าบอน เกิดน้ำท่วม 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม.
อ.บางแก้ว เกิดน้ำท่วม 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ท่ามะเดือ น้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
อ.ปากพยูน น้ำท่วม 5 ตำบล 9 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 0.50-2.00 ม.
กิ่ง อ.ศรีนครินทร์ เกิดน้ำท่วม 4 ตำบล 25 หมู่บ้าน
อ.ศรีบรรพต เกิดน้ำท่วม 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน
อ.ตะโหมด เกิดน้ำท่วม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.คลองใหญ่ ต.แม่ขรี น้ำท่วมสูง 0.30-0.60 ม.
อ.ปากพะยอม เกิดน้ำท่วม4 ตำบล17หมู่บ้านได้แก่ ต.ป่าพะยอม ต.บ้านพร้าว ต.ลาดข่อย ต.เกาะเต่า
อ.กงหรา เกิดน้ำท่วม 3 ตำบล 12 หมู่บ้าน น้ำท่วมสูง 1.20-1.50 ม.
สถานการณ์น้ำท่วม เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.48 ระดับท่วมเริ่มมีแนวโน้มลดลง โดยน้ำส่วนใหญ่จะไหลไปยังพื้นที่ ที่ติดกับทะเลสาบสงขลา ยังคงมีน้ำท่วมขังใน อ.ควนขนุน อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว อ.ปากพยูน โดยมีระดับน้ำท่วมสูง 1.00-1.50 ม.
จังหวัดนราธิวาส เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 7-8 ธันวาคม 2548 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีสาคร อ.สุคริน และ อ.ระแงะ สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9 ธันวาคม 2548 ต่อมาได้เกิดฝนหนักมากที่สุดในวันที่ 14 ธันวาคม 2548 โดยมีฝนตกที่ อ.เมือง 201.0 ม.ม. อ.ยี่งอ 221.2 ม.ม. อ.สุไหงปาดี 66.9 ม.ม. อ.ระแงะ 113.2 ม.ม. อ.ตากใบ 171.6 ม.ม. อ.สุไหงโก-ลก 110.9 ม.ม. อ.บาเจาะ 207.5 ม.ม. อ.รือเสาะ 195.7 ม.ม. อ.แว้ง 85.6 ม.ม. อ.จะแนะ 81.9 ม.ม. อ.สุคิริน 65.9 ม.ม. อ.ศรสาคร 129.7 ม.ม. อ.เจาะไอร้อง 71.0 ม.ม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังอีกใน 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง ต.ลำภู ม.8 บ้านทุ่งกง ต.โคกเคียน มีน้ำท่วมขังประมาณ 0.50 ม. ระดับน้ำสูงขึ้น เนื่องจากฝนตกหนัก รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ และที่ อ.ตากใบ มีน้ำท่วมขังใน 2 ตำบล ได้แก่ ต.โฆษิต และ ต.นานาค ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 ม.
สถานการณ์น้ำท่วม เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.48 สถานการณ์โดยทั่วไปเริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมเกือบทุกอำเภอ ระดับน้ำเริ่มลดลง สูงประมาณ 0.10-0.30 ม. ถนนสายหลักสามารถสัญจรได้ กรมชลประทานส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 10 เครื่อง หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม แนวโน้มระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ
จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 7-8 ธันวาคม 2548 เกิดฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังบริเวณรอบนอกตัวเมืองปัตตานี และบางพื้นที่ของ อ.ยะรัง และ อ.หนองจิก มีน้ำท่วมขังสูง 0.30 ม. ต่อมาได้เกิดฝนตกถึงหนักมากติดต่อกันในช่วงวันที่ 13-17 ธันวาคม 2548 โดยมีฝนตกหนักมากที่สุดในวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ฝนตกที่ ท่าอากาศยานฯ อ.เมือง 151.1 ม.ม. อ.เมือง 119.3 ม.ม. อ.สายบุรี 149.9 ม.ม. อ.ยะรัง 184.5 ม.ม. อ.โคกโพธิ์ 228.5 ม.ม. อ.ปะนาเระ 155.9 ม.ม. อ.มายอ 214 ม.ม. อ.หนองจิก 191.0 ม.ม. อ.ยะหริ่ง 143.0 ม.ม. อ.กะพ้อ 183.6 ม.ม. อ.ไม้แก่น 130.8 ม.ม. อ.ทุ่งยางแดง 145.7 ม.ม. อ.แม่ลาน 200.0 ม.ม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2548 ที่ อ.เมืองในเขตเทศบาลและบริเวณรอบนอกของอำเภอเมืองระดับน้ำสูง 0.50 ม. อ.หนองจิก ท่วมขังในพื้นที่ ต.ดอนรัก ต.บ่อทอง ต.คอลอตันหยง น้ำท่วมสูง 1.00 ม. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ คือ อ.แม่ลาน อ.น้ำเชี่ยว อ.หนองจิก และ อ.ยะรัง น้ำจาก จ.ยะลา ไหลมาสมทบทำให้น้ำท่วมสูงขึ้นมีระดับสูง 0.50-1.00 ม. สถานการณ์น้ำท่วม เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ คือ อ.แม่ลาน อ.น้ำเชี่ยว อ.หนองจิก และ อ.ยะรัง น้ำจาก จ.ยะลา ไหลมาสมทบทำให้น้ำท่วมสูงขึ้นมีระดับสูง 0.50-1.00 ม. กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ จำนวน 10 เครื่อง หากไม่มีฝนตกเพิ่ม แนวโน้มระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ
จังหวัดยะลา เกิดฝนตกหนักติดต่อกันวันที่ 7-9 ธ.ค.48 ทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ลุ่มและพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบริเวณเขตเทศบาลนครยะลา อ.กรงปินัง อ.รามัน กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 16 ได้ส่งเครื่องสูบน้ำ 14 เครื่อง เพื่อเร่งสูบระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครฯ สถานการณ์น้ำท่วมได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.48 ต่อมาได้เกิดฝนตกติดต่อกันวันที่ 13-15 ธ.ค.48 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างอำเภอ รอบนอก ได้แก่ อ.ยะหา อ.บังนังสตา อ.กรงปินัง อ.รามัน และ อ.เมือง เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.48 อ.เมืองในเขตนครยะลา มีน้ำท่วมบริเวณชุมชนธนวิถี ชุมชนสามหมออุตสาหกรรม ชุมชนฝั่งตลาดเก่า ระดับน้ำสูง 1.00-1.50 ม. บริเวณโรงแรมยะลารามา ถนนรถไฟ ตลาดสด น้ำท่วมสูง 0.80 ม. กรมชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือจำนวน 14 เครื่อง หากไม่มีฝนตกเพิ่ม แนวโน้มระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ
จ.สตูล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2548 ได้เกิดน้ำท่วมในเขตอ.เมือง อ.ท่าแพ อ.ควนโดน อ.ควนกาหลง อ.ละงู และกิ่ง อ.มะนัง ถนนสายหลักยังใช้การได้ไม่มีน้ำท่วม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--