คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในการพัฒนาแหล่งน้ำตามโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้สามารถพัฒนาแหล่งน้ำในลักษณะต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยยกเลิกการกำหนดรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำจากเดิมที่จำกัดเฉพาะการขุดบ่อหรือสระกักเก็บน้ำและขุดเจาะบ่อบาดาลเท่านั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินวงเงินที่แต่ละโรงงานได้รับการจัดสรร และให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการให้เป็นไปตามมติดังกล่าว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า
1. คณะทำงานส่งเสริมสินเชื่อเพื่อการปลูกอ้อยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติตามโครงการดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2549/50 - 2551/52 โดยกำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้ เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี โดยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการยื่นใบสมัครที่โรงงานน้ำตาลหรือสถาบันชาวไร่อ้อย แล้วให้นำเสนอคณะทำงานควบคุมการผลิตประจำโรงงานตรวจสอบคุณสมบัติชาวไร่อ้อยและพื้นที่ดำเนินการ เพื่อเสนอ ธ.ก.ส. พิจารณาต่อไป นอกจากนี้ให้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่าง ธ.ก.ส. โรงงานน้ำตาล และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ดังกล่าวด้วย
2. ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 ธ.ก.ส. ได้มีการอนุมัติวงเงินสินเชื่อสำหรับโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่เป็นคู่สัญญาของโรงงานน้ำตาลแล้ว จำนวน 3 โรงงาน รวมเป็นเงิน 10,011,150 บาท ซึ่งเป็นการขุดบ่อกักเก็บน้ำ จำนวน 54 บ่อ และเจาะบ่อบาดาล จำนวน 121 บ่อ
3. เนื่องจากรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำตามโครงการข้างต้นครอบคลุมเฉพาะขุดบ่อหรือสระกักเก็บน้ำ และเจาะบ่อบาดาลเท่านั้น ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่นอกเขตชลประทานเป็นหลัก และอาจไม่เหมาะสมกับสภาพในบางพื้นที่ เกษตรชาวไร่อ้อยจึงได้เสนอให้เพิ่มเติมรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำในโครงการ โดยให้รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำในลักษณะอื่นด้วย เช่น การรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อทำการต่อยอดคลองหรือท่อส่งน้ำของทางราชการ และสร้างระบบส่งน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนเข้าสู่ไร่อ้อย เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายในการประชุมครั้งที่ 12/2549 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการในโครงการดังกล่าวให้ครอบคลุมการพัฒนาแหล่งน้ำในลักษณะอื่นได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินวงเงินที่แต่ละโรงงานได้รับ
4. กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินโครงการนี้มีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติ และขยายโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถใช้ประโยชน์จากเงินกู้โครงการ เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อยตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า
1. คณะทำงานส่งเสริมสินเชื่อเพื่อการปลูกอ้อยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติตามโครงการดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2549/50 - 2551/52 โดยกำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้ เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี โดยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการยื่นใบสมัครที่โรงงานน้ำตาลหรือสถาบันชาวไร่อ้อย แล้วให้นำเสนอคณะทำงานควบคุมการผลิตประจำโรงงานตรวจสอบคุณสมบัติชาวไร่อ้อยและพื้นที่ดำเนินการ เพื่อเสนอ ธ.ก.ส. พิจารณาต่อไป นอกจากนี้ให้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่าง ธ.ก.ส. โรงงานน้ำตาล และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ดังกล่าวด้วย
2. ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 ธ.ก.ส. ได้มีการอนุมัติวงเงินสินเชื่อสำหรับโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่เป็นคู่สัญญาของโรงงานน้ำตาลแล้ว จำนวน 3 โรงงาน รวมเป็นเงิน 10,011,150 บาท ซึ่งเป็นการขุดบ่อกักเก็บน้ำ จำนวน 54 บ่อ และเจาะบ่อบาดาล จำนวน 121 บ่อ
3. เนื่องจากรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำตามโครงการข้างต้นครอบคลุมเฉพาะขุดบ่อหรือสระกักเก็บน้ำ และเจาะบ่อบาดาลเท่านั้น ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่นอกเขตชลประทานเป็นหลัก และอาจไม่เหมาะสมกับสภาพในบางพื้นที่ เกษตรชาวไร่อ้อยจึงได้เสนอให้เพิ่มเติมรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำในโครงการ โดยให้รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำในลักษณะอื่นด้วย เช่น การรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อทำการต่อยอดคลองหรือท่อส่งน้ำของทางราชการ และสร้างระบบส่งน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนเข้าสู่ไร่อ้อย เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายในการประชุมครั้งที่ 12/2549 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการในโครงการดังกล่าวให้ครอบคลุมการพัฒนาแหล่งน้ำในลักษณะอื่นได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินวงเงินที่แต่ละโรงงานได้รับ
4. กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินโครงการนี้มีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติ และขยายโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถใช้ประโยชน์จากเงินกู้โครงการ เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อยตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--