คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงการคลังได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... แล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป พร้อมทั้งได้ยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการ (28 พฤศจิกายน 2549) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้วมาพร้อมกันด้วย และเห็นชอบตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ต่อสภานิติบัญญัติพร้อมกัน
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดโครงสร้างและสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยให้สถาบันมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีทุนประเดิมเป็นวงเงินไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท และให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี ทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของสถาบัน โดยมีคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝากทำหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน
2. กำหนดให้มีกองทุนคุ้มครองเงินฝาก โดยในแต่ละปีให้คณะกรรมการจัดสรรเงินตามจำนวนที่กำหนดแต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของดอกผลสุทธิของกองทุนให้แก่สถาบัน
3. กำหนดขอบเขตของเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง และกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินแก่ผู้ฝากเงินในกรณีที่สถาบันการเงินได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว
4. กำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากเป็นผู้ชำระบัญชีสถาบันการเงินเมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว
5. กำหนดโทษสำหรับบุคคลนอกสถาบันที่ใช้เครื่องหมายเพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--
กระทรวงการคลังได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... แล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป พร้อมทั้งได้ยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการ (28 พฤศจิกายน 2549) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้วมาพร้อมกันด้วย และเห็นชอบตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ต่อสภานิติบัญญัติพร้อมกัน
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดโครงสร้างและสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยให้สถาบันมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีทุนประเดิมเป็นวงเงินไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท และให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี ทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของสถาบัน โดยมีคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝากทำหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน
2. กำหนดให้มีกองทุนคุ้มครองเงินฝาก โดยในแต่ละปีให้คณะกรรมการจัดสรรเงินตามจำนวนที่กำหนดแต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของดอกผลสุทธิของกองทุนให้แก่สถาบัน
3. กำหนดขอบเขตของเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง และกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินแก่ผู้ฝากเงินในกรณีที่สถาบันการเงินได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว
4. กำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากเป็นผู้ชำระบัญชีสถาบันการเงินเมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว
5. กำหนดโทษสำหรับบุคคลนอกสถาบันที่ใช้เครื่องหมายเพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--