การนำเสนอร่างแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555 — 2559 ต่อคณะรัฐมนตรี

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 4, 2011 09:51 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555 — 2559 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ

สาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555 — 2559 มีดังนี้

1. วิสัยทัศน์ เด็กและเยาวชนมีความมั่นคง แข็งแรง ดี มีสุข และสร้างสรรค์

2. พันธกิจ

2.1 พัฒนาเด็กและเยาวชนทั้งกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม และพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย

2.2 เสริมพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและทุกระดับในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

2.3 พัฒนาระบบบริหารจัดการในการคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีประสิทธิภาพ

3. เป้าประสงค์ของการพัฒนาเด็กและเยาวชน

3.1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาทั้งกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมเต็มตามศักยภาพ และมีพฤติกรรมเหมาะสมตามวัย

3.2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและทุกระดับเป็นพลังที่เข้มแข็งในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

3.3 เพื่อให้การคุ้มครองและการพัฒนาเด็กและเยาวชนมีความเป็นเอกภาพ ทำให้การดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชนมีประสิทธิภาพ

4. เป้าหมายหลัก เด็กและเยาวชนมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึง มีความแข็งแรงทางร่างกายและ จิตใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีสำนึกความเป็นพลเมือง (civic mind) กล้าคิดและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ตามวิถีประชาธิปไตย และมีความสุข

5. ตัวชี้วัดสำคัญ ประกอบด้วย 17 ตัวชี้วัด

(1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชน

(1.1) เป้าประสงค์ เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาทั้งกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม และมีพฤติกรรมเหมาะสมตามวัย

(1.2) มาตรการ

(1.2.1) มาตรการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน

(1.2.2) มาตรการเสริมสร้างความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของเด็กและเยาวชน

(1.2.3) มาตรการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน

(1.2.4) มาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน

(2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การคุ้มครองและพัฒนาเด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ และเด็กพิเศษ

(2.1) เป้าประสงค์ เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการการคุ้มครองพิเศษและเด็กพิเศษ ได้รับการคุ้มครองและพัฒนาทั้งกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม เต็มตามศักยภาพ

(2.2) มาตรการ

(2.2.1) มาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

(2.2.2) มาตรการพัฒนาบริการพื้นฐานที่จำเป็นและมีคุณภาพให้เข้าถึงเด็ก

(2.2.3) มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านเด็ก

(2.2.4) มาตรการปรับปรุงและบังคับใช้กำหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวกับเด็กที่ต้องการการคุ้มครองพิเศษ

(2.2.5) มาตรการพัฒนาระบบข้อมูลองค์ความรู้ กลไกของรัฐ และชุมชน

(2.2.6) มาตรการระดมสรรพกำลังเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ

(2.2.7) มาตรการเฉพาะกลุ่ม

(3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

(3.1) เป้าประสงค์ ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและทุกระดับเป็นพลังที่เข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

(3.2) มาตรการ

(3.2.1) มาตรการส่งเสริมสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับให้เข้มแข็ง

(3.2.2) มาตรการส่งเสริมบทบาทของภาคีเครือข่ายเพื่อ

(4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริหารจัดการในการคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน

(4.1) เป้าประสงค์ มีการคุ้มครองและการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เป็นเอกภาพ ทำให้การดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชนมีประสิทธิภาพ

(4.2) มาตรการ

(4.2.1) มาตรการพัฒนาการบริหารจัดการในการคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน

(4.2.2) มาตรการเสริมสร้างโอกาสและการเข้าถึงระบบสวัสดิการสังคม ระบบบริการ และระบบคุ้มครอง

(4.2.3) มาตรการพัฒนาระบบ และกลไกป้องกันเด็กและเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

กลไกการขับเคลื่อน และการติดตามประเมินผลแผน ประกอบด้วย

1) กลไกการบริหารแผน มี 2 ระดับ คือ ระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ

2) แนวทางการขับเคลื่อน และกลไกการติดตามประเมินผลแผน ประกอบด้วย

(1) สร้างความเข้าใจร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างทั่วถึงและให้รวดเร็ว

(2) สนับสนุนการจัดระบบข้อมูลและแผนที่ทางสังคม (social mapping)

(3) กลไกการติดตามและประเมินผลแผน

(3.1) ประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามตัวชี้วัดสำคัญ

(3.2) ติดตามประเมินผลระดับยุทธศาสตร์ตามตัวชี้วัด

(3.3) ติดตามประเมินผลระดับแผนงาน โครงการกิจกรรมโดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้ประเมินตนเอง

(3.4) จัดให้มีการประเมินระยะครึ่งแผนและสิ้นสุดแผนทั้งประเด็นความก้าวหน้า และผลลัพธ์ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติได้พิจารณาร่างแผนฯ ในการประชุม ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 แล้ว มีมติเห็นชอบในหลักการร่างแผนฯ โดยให้พิจารณาเพิ่มเติมสาระของนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กตามแนวทาง “โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก” กับแผนยุทธศาสตร์จังหวัดน่าอยู่สำหรับเด็กและเยาวชนผนวกรวมไว้ในแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555- 2559 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่ง พม. ได้ดำเนินการแล้ว

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤษภาคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ