คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ที่อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการจัดเก็บสถิติ ข้อมูล และแบบของการจัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ไปประกอบการพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอตามรายงานของกรมควบคุมมลพิษว่า สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจัดเก็บสถิติ ข้อมูล และแบบของการจัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่แหล่งกำเนิดมลพิษนั้นตั้งอยู่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ ประจำปี 2549 จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการจัดเก็บสถิติ ข้อมูล และแบบของการจัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม “ระบบบำบัดน้ำเสีย” และ “ข้อมูลการตรวจสอบ” (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้รับจ้าง หรือผู้ควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ จัดทำสถิติ ข้อมูล การแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละวันตามแบบ ทส.1 ไว้ ณ ที่ตั้งของแหล่งกำเนิดมลพิษ และสรุปผลการทำงานดังกล่าวเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นรายเดือน รวมทั้งจะต้องเก็บสถิติ ข้อมูลดังกล่าวไม่น้อยกว่า 2 ปี (ร่างข้อ 3)
3. กำหนดให้รายละเอียดข้อมูลในแบบ ทส.1 และแบบบันทึกข้อมูลเพื่อแสดงผลการทำงานของระบบ อุปกรณ์ และเครื่องมือตามแบบ ทส.1 เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4. กำหนดให้การจัดส่งรายงานผลการทำงานของระบบอุปกรณ์และเครื่องมือในการบำบัดน้ำเสีย ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ อาจส่งรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์แบบเข้ารหัสลับก็ได้
5. กฎกระทรวงให้ใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่ประกาศราชกิจจานุเบกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอตามรายงานของกรมควบคุมมลพิษว่า สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจัดเก็บสถิติ ข้อมูล และแบบของการจัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่แหล่งกำเนิดมลพิษนั้นตั้งอยู่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ ประจำปี 2549 จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการจัดเก็บสถิติ ข้อมูล และแบบของการจัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม “ระบบบำบัดน้ำเสีย” และ “ข้อมูลการตรวจสอบ” (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้รับจ้าง หรือผู้ควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ จัดทำสถิติ ข้อมูล การแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละวันตามแบบ ทส.1 ไว้ ณ ที่ตั้งของแหล่งกำเนิดมลพิษ และสรุปผลการทำงานดังกล่าวเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นรายเดือน รวมทั้งจะต้องเก็บสถิติ ข้อมูลดังกล่าวไม่น้อยกว่า 2 ปี (ร่างข้อ 3)
3. กำหนดให้รายละเอียดข้อมูลในแบบ ทส.1 และแบบบันทึกข้อมูลเพื่อแสดงผลการทำงานของระบบ อุปกรณ์ และเครื่องมือตามแบบ ทส.1 เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4. กำหนดให้การจัดส่งรายงานผลการทำงานของระบบอุปกรณ์และเครื่องมือในการบำบัดน้ำเสีย ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ อาจส่งรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์แบบเข้ารหัสลับก็ได้
5. กฎกระทรวงให้ใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่ประกาศราชกิจจานุเบกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--