ร่างกฎกระทรวงการทำสำมะโน สำรวจ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ รวม 16 ฉบับ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 9, 2011 14:11 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการทำสำมะโน สำรวจ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ รวม 16 ฉบับ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

1.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 2)

1.2 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจด้วยตัวอย่างหรือสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและขนาดของสถานประกอบการประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม และลักษณะเชิงเศรษฐกิจและสังคมของสถานประกอบการ จำนวนคนทำงานและค่าตอบแทนการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการผลิตและดำเนินการ มูลค่าของสินทรัพย์ถาวรของสถานประกอบการ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอุตสาหกรรมและธุรกิจ เพื่อนำมาประมวลผลเป็นข้อมูลสถิติเป็นรายสาขาอุตสาหกรรมและธุรกิจ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับภาครัฐและภาคเอกชน มีข้อมูลที่ทันสมัย ใช้ในการกำหนดนโยบายการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และธุรกิจของประเทศ (ร่างข้อ 3)

1.3 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่างหรือสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4)

1.4 กำหนดให้ผู้ประกอบการหรือผู้แทนที่สถานประกอบการมอบหมายเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการให้สัมภาษณ์หรือด้วยวิธีการอื่นตามประกาศที่ออกตามมาตรา 10 (ร่างข้อ 5)

2. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

2.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 2)

2.2 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตัวอย่าง ภาวะการทำงานของประชากรทั่วประเทศในช่วงเวลาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะและสภาพการทำงานของประชากรทั่วราชอาณาจักร เพื่อใช้ในการวางแผนกำลังคน การกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (ร่างข้อ 3)

2.3 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่างภาวะการทำงานของประชากร ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4)

2.4 กำหนดให้หัวหน้าครัวเรือนหรือบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกในครัวเรือนทุกครัวเรือนที่มีรายชื่อปรากฎในบัญชีรายชื่อครัวเรือนตัวอย่าง เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังวิธีการตามประกาศที่ออกตาม มาตรา 10 (ร่างข้อ 5)

3. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจค่าตอบแทนภาคเอกชน พ.ศ. ....

3.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 2)

3.2 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตัวอย่างค่าตอบแทนภาคเอกชนคุ้มรวมสถานประกอบการในภาคเอกชนที่มีคนทำงาน ตั้งแต่ 101 คนขึ้นไป ซึ่งประกอบกิจการในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การทำเหมืองแร่ การผลิต การไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงานประจำหรือลูกจ้างที่ได้รับจากสถานประกอบการในภาคเอกชนสำหรับใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างและอัตราค่าตอบแทนระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ (ร่างข้อ 3)

3.3 กำหนดให้เขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4)

3.4 กำหนดให้ผู้รับผิดชอบด้านบริหารงานบุคคลของสถานประกอบการเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสัมภาณ์ (ร่างข้อ 5)

4. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. ....

4.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 2)

4.2 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตัวอย่างการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน เพื่อทราบจำนวนประชากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือและเพื่อทราบจำนวนครัวเรือนที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในแต่ละประเภท รวมทั้งรายละเอียดในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน (ร่างข้อ 3)

4.3 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4)

4.4 กำหนดให้บุคคลที่เข้าข่ายการแจงนับ คือ สมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างข้อ 5)

5. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. ....

5.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 2)

5.2 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตัวอย่างพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย เพื่อรวบรวมข้อมูลลักษณะการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทย และพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ (ร่างข้อ 3)

5.3 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4)

5.4 กำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่าง ครัวเรือนละ 1 ราย เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการให้สัมภาษณ์หรือโดยวิธีการอื่นตามประกาศที่ออกตามมาตรา 10 (ร่างข้อ 5)

6. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจการมีการใช้เทคโนลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ พ.ศ. ....

6.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 2)

6.2 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตัวอย่างการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ เพื่อรวบรวมข้อมูลการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความต้องการจ้างบุคลากร ข้อจำกัดของการใช้ และความต้องการของผู้ประกอบการในการให้ภาครัฐช่วยเหลือ (ร่างข้อ 3)

6.3 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4)

6.4 กำหนดให้ผู้ประกอบการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการสัมภาษณ์หรือโดยวิธีการอื่นตามประกาศที่ออกมาตรา 10 (ร่างข้อ 5)

7. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจยอดขายรายไตรมาส พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

7.1 กำหนดให้กฏกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 2)

7.2 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตัวอย่างยอดขายรายไตรมาส เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าขายหรือรายรับจากการจำหน่ายปลีกสินค้าและการบริการประเภทต่าง ๆ และมูลค่าสินค้าคงเหลือของสถานปรพกอบการ รวมถึงศึกษาแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของยอดขายหรือรายรับ และสินค้าคงเหลือของสถานประกอบการเป็นรายไตรมาส (ร่างข้อ 3)

7.3 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4)

7.4 กำหนดให้ผู้ประกอบการหรือผู้แทนที่สถานประกอบการมอบหมายเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสัมภาษณ์หรือด้วยวิธีการอื่นตามประกาศที่ออกตามาตรา 10 (ร่างข้อ 5)

8. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

8.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 2)

8.2 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตัวอย่างการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพและพัฒนาการของการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ในเรื่องของประเภทธุรกิจที่ทำ จำนวนคนทำงาน การตลาด มูลค่าการขาย การชำระเงิน การจัดส่งสินค้า ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่ต้องการให้รัฐเข้ามาช่วยสนับสนุน (ร่างข้อ 3)

8.3 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4)

8.4 กำหนดให้ผู้ประกอบการแต่เฉพาะสถานประกอบการ/ผู้ประกอบการที่มีการขายสินค้า/บริการทางอินเตอร์เน็ตให้กับลูกค้าในประเทศหรือต่างประเทศ หรือผู้แทนที่สถานประกอบการมอบหมายเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการให้สัมภาษณ์หรือด้วยวิธีการอื่นตามประกาศที่ออกมาตรา 10 (ร่างข้อ 5)

9. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. ....

มีสาระสำคัญ ดังนี้

9.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 1)

9.2 กำหนดนิยามคำว่า “บ้าน” “ครัวเรือนส่วนบุคคล” “หัวหน้าครัวเรือน” “สมาชิกของครัวเรือนส่วนบุคคลครัวเรือน” และ “การสัมภาษณ์” (ร่างข้อ 2)

9.3 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย ภาวะหนี้สิน ทรัพย์สิน โครงสร้างของสมาชิกในครัวเรือน ลักษณะที่อยู่อาศัย การย้ายถิ่นและการส่งเงิน ตลอดจนการได้รับสวัสดิการ/ความช่วยเหลือจากรัฐ แลใช้บริการของภาครัฐ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อการยริหารของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (ร่างข้อ 3)

9.4 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรที่ครัวเรือนตกเป็นตัวอย่าง (ร่างข้อ 4)

9.5 กำหนดให้ครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างตามร่างข้อ 4 เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานที่ไปสัมภาษณ์ และบันทึกข้อมูลลงในแบบสอบถาม (ร่างข้อ 5)

9.6 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการทำสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนตามกฎกระทรวงนี้ (ร่างข้อ 1)

10.ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

10.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 1)

10.2 กำหนดนิยามของคำว่า “ครอบครัวข้าราชการ” “ครัวเรือนข้าราชการ” “อายุราชการ” “ผู้ที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู” “ลักษณะการอยู่อาศัย” “ที่อยู่อาศัย” “ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน” “ค่าใช้จ่ายด้านสังคม” “รายได้ค่าเฉลี่ยต่อเดือน” “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” “เงินออม” “ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน” “สวัสดิการข้าราชการ” “ประโยชน์เกื้อกูล” และทำการรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง หรือในบางกรณีที่ไม่สามารถสัมภาษณ์ได้อาจจำเป็นต้องทอดแบบไว้ให้ผู้ตอบสัมภาษณ์เป็นผู้กรอกแบบสอบภาม (ร่างข้อ 2)

10.3 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย ภาวะหนี้สิน ลักษณะการอยู่อาศัย สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวข้าราชการ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ให้เหมาะสมต่อไป (ร่างข้อ 3)

10.4 กำหนดการสำรวจนี้คุ้มรวมข้าราชการพลเรือนสามัญทุกประเภทและระดับตำแหน่ง ทั่วประเทศ (ร่างข้อ 4)

10.5 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ตกเป็นตัวอย่างตามร่างข้อ 4 เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสัมภาษณ์หรือทอดแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (ร่างข้อ 5)

10.6 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการทำสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามกฎกระทรวงนี้ (ร่างช้อ 6)

11.ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

11.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 1)

11.2 กำหนดนิยามของคำว่า “บ้าน” “ครัวเรือนส่วนบุคคล” “หัวหน้าครัวเรือน” “สมาชิกของครัวเรือนส่วนบุคคล” และ “การสัมภาษณ์” (ร่างข้อ 2)

11.3 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรทั่วราชอาณาจักร ของครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้อ่านหนังสือและไม่อ่านหนังสือพร้อมทั้งลักษณะทางประชากร รายละเอียดเกี่ยวกับการอ่านหนังสือและความคิดเห็น ในเรื่องของวิธีการจูงใจให้ประชาชนรักการอ่านหนังสือ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อการบริหารของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (ร่างข้อ 3)

11.4 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ร่างข้อ 4)

11.5 กำหนดให้ครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างในเขตท้องที่ตามร่างข้อ 4 เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการให้สัมภาษณ์ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (ร่างข้อ 5)

11.6 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการทำสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร ตามกฎกระทรวงนี้ (ร่างข้อ 6)

12.ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

12.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 1)

12.2 กำหนดนิยามของคำว่า “บ้าน” “ครัวเรือนส่วนบุคคล” “หัวหน้าครัวเรือน” “สมาชิกของครัวเรือนส่วนบุคคล” และ “การสัมภาษณ์” (ร่างข้อ 2)

12.3 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2554 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานทางประชากร สังคม เศรษฐกิจและพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของสมาชิกในครัวเรือน ตลอดจนลักษณะที่อยู่อาศัยของครัวเรือน เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการนำข้อมูลไปศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคแบบผนการบริโภค กลุ่มเสี่ยงและทิศทางแนวโน้มของพฤติกรรมการบริโภคบุหรี่และสุราของประชากร เพื่อกำหนดเป็นนโยบายและจัดทำแผนงาน การรณรงค์หรือมาตราการต่าง ๆ ที่จะทำให้ปริมาณผู้สูบบุหรี่และผู้ดื่มสุราลดลง (ร่างข้อ 3)

12.4 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรที่ตกเป็นตัวอย่าง (ร่างข้อ 4)

12.5 กำหนดให้ครัวเรือนที่ตกเป้นตัวอย่างในเขตท้องที่ตามร่างข้อ 4 เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการให้สัมภาษณ์ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (ร่างข้อ 5)

12.6 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการทำสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากร ตามกฎกระทรวงนี้ (ร่างข้อ 6)

13.ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

13.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 1)

13.2 กำหนดนิยามของคำว่า “บ้าน” “ครัวเรือนส่วนบุคคล” “หัวหน้าครัวเรือน” “สมาชิกของครัวเรือนส่วนบุคคล” และ “การสัมภาษณ์” (ร่างข้อ 2)

13.3 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากรของครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการย้ายถิ่นของประชากร เพื่อให้มีข้อมูลสถิติในเรื่องดังกล่าว สำหรับใช้ประกอบในการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนเกี่ยวกับการกระจายตัวและการตั้งถิ่นฐานของประชากรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตลอดจนใช้เป็นแนวทางในทางการวางแผนพัฒนาโครงการต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการย้ายถิ่นของประชากร (ร่างข้อ 3)

13.4 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตที่ทั่วราชอาณาจักรที่ตกเป็นตัวอย่าง (รางข้อ 4)

13.5 กำหนดให้ครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างในเขตท้องที่ตามร่างข้อ 4 เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการให้สัมภาษณ์ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (ร่างข้อ 5)

13.6 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการทำสำรวจของประชากร ตามกฎกระทรวงนี้ (ร่างข้อ 6)

14.ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

14.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 1)

14.2 กำหนดนิยามของคำว่า “บ้าน” “ครัวเรือนส่วนบุคคล” “หัวหน้าครัวเรือน” “สมาชิกของครัวเรือนส่วนบุคคล” และ “การสัมภาษณ์” (ร่างข้อ 2)

14.3 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรมของครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ทราบถึงสภาพสังคมไทยเกี่ยวกับพฤติกรรม ค่านิยมและวัฒนธรรมของคนไทยในปัจจุบัน สำหรับนำไปใช้ในการติดตาม ประเมินสถานการณ์ และทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอนาคต และให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องนำไปกำหนดนโยบายและวางแผนในการแก้ปัญหาสังคม ได้อย่างตรงจุด (ร่างข้อ 3)

14.4 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรที่ตกเป็นตัวอย่าง (ร่างข้อ 4)

14.5 กำหนดให้ครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างในเขตท้องที่ตามร่างข้อ 4 เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสัมภาษณ์ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (ร่างข้อ 5)

14.6 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการทำสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม ตามกฎกระทรวงนี้ (ร่างข้อ 6)

15.ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

15.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 1)

15.2 กำหนดนิยามของคำว่า “บ้าน” “ครัวเรือนส่วนบุคคล” “หัวหน้าครัวเรือน” “สมาชิกของครัวเรือนส่วนบุคคล” และ “การสัมภาษณ์” (ร่างข้อ 2)

15.3 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจอนามัยแลสวัสดิการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ภาวะการเจ็บป่วย การส่งเสริมสุขภาพ การเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข ค่าใช้จ่ายในการรับบริการด้านสาธารณสุข และการเข้าถึงสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของประชากร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อการบริหารของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (ร่างข้อ 3)

15.4 กำหนดท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรที่ตกเป็นตัวอย่าง (ร่างข้อ 4)

15.5 กำหนดให้ครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างในเขตท้องที่ตามร่างข้อ 4 เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการให้สัมภาษณ์ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (ร่างข้อ 5)

15.6 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการทำสำรวจอนามัยและสวัสดิการ ตามกฎกระทรวง (ร่างข้อ 6)

16.ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

16.1 กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีอายุสิบปี (ร่างข้อ 1)

16.2 กำหนดนิยามของคำว่า “บ้าน” “ครัวเรือนส่วนบุคคล” “หัวหน้าครัสเรือน” “สมาชิกของครัวเรือนส่วนบุคคล” และ “การสัมภาษณ์” (ร่างข้อ 2)

16.3 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยของครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุ ลักษณะทางประชากรผู้สูงอายุ สภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ สภาพทางเศรษฐกิจและสภาพทางสังคม รวมทั้งสภาวะสุขภาพ ฯลฯ เพื่อจะได้มีข้อมูลผู้สูงอายุที่เป็นปัจจุบันและต่อเนื่องสามารถใช้จัดทำตัวชี้วัดระดับประเทศและจังหวัดเพื่อใช้ในการประเมินผล แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2546) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 (ร่างข้อ 3)

16.4 กำหนดเขตท้องที่ที่จัดทำการสำรวจตัวอย่าง ได้แก่ ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรที่ตกเป็นตัวอย่าง (ร่างข้อ 4)

16.5 กำหนดให้ครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างในเขตท้องที่ตามร่างข้อ 4 เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการให้สัมภาษณ์ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (ร่างข้อ 5)

16.6 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการทำสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ตามกฎหระทรวงนี้ (ร่างข้อ 6)

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤษภาคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ