คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้เจ้าพนักงานมีอำนาจปฏิบัติการอำพราง ครอบครองหรือจัดให้มีการครอบครองยาเสพติด เพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด รวมทั้งอาจขอให้บุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเฉพาะในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานได้ (ร่างมาตรา 7 ถึงมาตรา 9 )
2. กำหนดให้ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่มีความซับซ้อน หรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อย หรือเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติ หรือมีผู้มีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนก็ได้ และหากเป็นการสอบสวนคดีที่มีโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต พนักงานอัยการต้องร่วมสอบสวนทุกคดี (ร่างมาตรา 10)
3. กำหนดวิธีพิจารณาคดียาเสพติดในศาลชั้นต้นโดยให้ศาลมีอำนาจสืบพยานลับหลังจำเลยได้หากจำเลยจงใจไม่มาศาลหรือหลบหนี และให้ศาลมีอำนาจพิพากษาโดยไม่สืบพยานก็ได้หากจำเลยให้การรับสารภาพ เว้นแต่คดีนั้นมีอัตราโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ศาลต้องฟังพยานจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำผิดจริง (ร่างมาตรา 12 และมาตรา 13)
4. กำหนดให้อุทธรณ์คดียาเสพติดไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง (ร่างมาตรา 14)
5. กำหนดให้คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตหากไม่มีการอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนและคำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ (ร่างมาตรา 15)
6. กรณีจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน กรรมใดกรรมหนึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและมีอัตราโทษอย่างสูงเท่ากันหรือสูงกว่ากรรมอื่น ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาการกระทำซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ด้วย (ร่างมาตรา 16)
7. กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด แต่คู่ความอาจยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อศาลฎีกาภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาของศาลเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ และศาลฎีกาอาจพิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยได้หากเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญ คำสั่งไม่รับฎีกาไว้วินิจฉัยให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สำหรับการกระทำซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คู่ความอาจฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่วนการอุทธรณ์และฎีกาในศาลทหาร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร (ร่างมาตรา 17 ถึงมาตรา 19)
8. กำหนดคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดสำหรับฐานความผิดซึ่งมีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้มีอายุความ 30 ปี (ร่างมาตรา 20 และร่างมาตรา 21)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้เจ้าพนักงานมีอำนาจปฏิบัติการอำพราง ครอบครองหรือจัดให้มีการครอบครองยาเสพติด เพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด รวมทั้งอาจขอให้บุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเฉพาะในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานได้ (ร่างมาตรา 7 ถึงมาตรา 9 )
2. กำหนดให้ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่มีความซับซ้อน หรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อย หรือเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติ หรือมีผู้มีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนก็ได้ และหากเป็นการสอบสวนคดีที่มีโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต พนักงานอัยการต้องร่วมสอบสวนทุกคดี (ร่างมาตรา 10)
3. กำหนดวิธีพิจารณาคดียาเสพติดในศาลชั้นต้นโดยให้ศาลมีอำนาจสืบพยานลับหลังจำเลยได้หากจำเลยจงใจไม่มาศาลหรือหลบหนี และให้ศาลมีอำนาจพิพากษาโดยไม่สืบพยานก็ได้หากจำเลยให้การรับสารภาพ เว้นแต่คดีนั้นมีอัตราโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ศาลต้องฟังพยานจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำผิดจริง (ร่างมาตรา 12 และมาตรา 13)
4. กำหนดให้อุทธรณ์คดียาเสพติดไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง (ร่างมาตรา 14)
5. กำหนดให้คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตหากไม่มีการอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนและคำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ (ร่างมาตรา 15)
6. กรณีจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน กรรมใดกรรมหนึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและมีอัตราโทษอย่างสูงเท่ากันหรือสูงกว่ากรรมอื่น ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาการกระทำซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ด้วย (ร่างมาตรา 16)
7. กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด แต่คู่ความอาจยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อศาลฎีกาภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาของศาลเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ และศาลฎีกาอาจพิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยได้หากเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญ คำสั่งไม่รับฎีกาไว้วินิจฉัยให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สำหรับการกระทำซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คู่ความอาจฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่วนการอุทธรณ์และฎีกาในศาลทหาร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร (ร่างมาตรา 17 ถึงมาตรา 19)
8. กำหนดคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดสำหรับฐานความผิดซึ่งมีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้มีอายุความ 30 ปี (ร่างมาตรา 20 และร่างมาตรา 21)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--