คณะรัฐมนตรีพิจารณาการเปลี่ยนสถานะของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชียให้เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบกฎบัตรของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำกฎบัตรฯ ฉบับภาษาไทยเสนอขอความเห็นชอบต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และส่งฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป เมื่อสภานิติบัญญัติฯ ได้ให้ความเห็นชอบกฎบัตรฯ ในเรื่องนี้แล้ว
3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันกฎบัตรฯ กับลงนามความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Host Country Agreement) ในประเทศไทย และแจ้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย เพื่อให้ความตกลงฯ ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ เมื่อกฎบัตรฯ ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ได้ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว
กระทรวงการต่างประเทศเสนอว่า
1. ได้จัดพิธีลงนามกฎบัตรศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย โดยมีประเทศเข้าร่วมลงนามรวม 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ ต่อมาได้มีอินเดียเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีผู้ก่อตั้งด้วย รวมเป็น 9 ประเทศ แต่อย่างไรก็ตามกฎบัตรฯ จะยังไม่มีผลใช้บังคับจนกว่าภาคีผู้ลงนามก่อตั้งจะให้สัตยาบันครบทุกประเทศ ซึ่งขณะนี้มีภาคีที่ให้สัตยาบันแล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ ศรีลังกา จีน เนปาล และปากีสถาน สำหรับกัมพูชาและไทย ยังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการให้สัตยาบัน
2. การจัดทำความตกลงว่าด้วยการให้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Host Country Agreement) นั้น ได้นำเรื่องเสนอคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ความตกลง เอกสิทธิ์ ความคุ้มกันและสิทธิพิเศษขององค์การระหว่างประเทศและองค์การต่างประเทศพิจารณา ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างความตกลงฯ รวมทั้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ก็ได้ให้ความเห็นชอบร่างความตกลงฯ แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--
1. เห็นชอบกฎบัตรของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำกฎบัตรฯ ฉบับภาษาไทยเสนอขอความเห็นชอบต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และส่งฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป เมื่อสภานิติบัญญัติฯ ได้ให้ความเห็นชอบกฎบัตรฯ ในเรื่องนี้แล้ว
3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันกฎบัตรฯ กับลงนามความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Host Country Agreement) ในประเทศไทย และแจ้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย เพื่อให้ความตกลงฯ ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ เมื่อกฎบัตรฯ ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ได้ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว
กระทรวงการต่างประเทศเสนอว่า
1. ได้จัดพิธีลงนามกฎบัตรศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย โดยมีประเทศเข้าร่วมลงนามรวม 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ ต่อมาได้มีอินเดียเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีผู้ก่อตั้งด้วย รวมเป็น 9 ประเทศ แต่อย่างไรก็ตามกฎบัตรฯ จะยังไม่มีผลใช้บังคับจนกว่าภาคีผู้ลงนามก่อตั้งจะให้สัตยาบันครบทุกประเทศ ซึ่งขณะนี้มีภาคีที่ให้สัตยาบันแล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ ศรีลังกา จีน เนปาล และปากีสถาน สำหรับกัมพูชาและไทย ยังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการให้สัตยาบัน
2. การจัดทำความตกลงว่าด้วยการให้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Host Country Agreement) นั้น ได้นำเรื่องเสนอคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ความตกลง เอกสิทธิ์ ความคุ้มกันและสิทธิพิเศษขององค์การระหว่างประเทศและองค์การต่างประเทศพิจารณา ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างความตกลงฯ รวมทั้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ก็ได้ให้ความเห็นชอบร่างความตกลงฯ แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--