คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2550 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. มอบหมายธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภากรรมการหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย พิจารณารายละเอียดการนำเงินฝากที่เป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ไปชำระเงินในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในรายการต่าง ๆ เช่น การชำระค่าระวางขนส่งระหว่างประเทศ (International Freight) เป็นต้น โดยไม่ต้องแลกเป็นเงินบาทก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถมีผลในทางปฏิบัติได้ภายใน 1 สัปดาห์
2. อนุมัติให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยมีแหล่งเงินทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย 2,700 ล้านบาท และสมทบจากสมาชิกของสมาคมธนาคารไทย 2,300 ล้านบาท เพื่อให้กู้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกันกำหนดรายละเอียดเพื่อให้สามารถมีผลในทางปฏิบัติได้ภายใน 1 สัปดาห์
3. มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับไปพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีต่อแรงงาน และเสนอแนะแนวทางและมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้มีการปรับตัวของแรงงาน ตลอดจนเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมภายใน 3 เดือน
4. อนุมัติให้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการปรับตัวของธุรกิจรายสาขา โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
ทั้งนี้ การดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้มีผลในทางปฏิบัติได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--
1. มอบหมายธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภากรรมการหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย พิจารณารายละเอียดการนำเงินฝากที่เป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ไปชำระเงินในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในรายการต่าง ๆ เช่น การชำระค่าระวางขนส่งระหว่างประเทศ (International Freight) เป็นต้น โดยไม่ต้องแลกเป็นเงินบาทก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถมีผลในทางปฏิบัติได้ภายใน 1 สัปดาห์
2. อนุมัติให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยมีแหล่งเงินทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย 2,700 ล้านบาท และสมทบจากสมาชิกของสมาคมธนาคารไทย 2,300 ล้านบาท เพื่อให้กู้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกันกำหนดรายละเอียดเพื่อให้สามารถมีผลในทางปฏิบัติได้ภายใน 1 สัปดาห์
3. มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับไปพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีต่อแรงงาน และเสนอแนะแนวทางและมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้มีการปรับตัวของแรงงาน ตลอดจนเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมภายใน 3 เดือน
4. อนุมัติให้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการปรับตัวของธุรกิจรายสาขา โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
ทั้งนี้ การดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้มีผลในทางปฏิบัติได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--