แท็ก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
กระทรวงพาณิชย์
ประชาสัมพันธ์
คณะรัฐมนตรี
น้ำผลไม้
สสส.
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สำหรับงบประมาณการดำเนินการ ให้กระทรวงพาณิชย์ประสานในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำโครงการรณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพให้มากยิ่งขึ้นทั้งในรูปน้ำผลไม้สดและน้ำผลไม้กล่อง โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการส่งออกจัดประชุมร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้นได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล กระทรวงพาณิชย์จึงขอเสนอโครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเพิ่มช่องทางการขยายตลาดผลไม้ให้เกษตรกรสามารถปลูกผลไม้ป้อนตลาดและโรงงานเพื่อผลิตน้ำผลไม้ได้มากขึ้นตลอดทั้งปี
1.2 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพให้มากขึ้น
2. หน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่ร่วมกันดำเนินการ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักนายกรัฐมนตรี และบริษัทผู้ผลิตและส่งออกน้ำผลไม้
3. น้ำผลไม้ที่ส่งเสริม รวม 6 ชนิด ได้แก่ น้ำส้ม น้ำมะพร้าว น้ำมังคุด น้ำสับปะรด น้ำฝรั่ง และน้ำมะม่วง
4. กลุ่มเป้าหมายที่ส่งเสริม ได้แก่ ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ทั่วประเทศ และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
5. ข้อมูลเบื้องต้นการบริโภคน้ำผลไม้ : คนไทยบริโภคน้ำผลไม้โดยเฉลี่ย 3 ลิตร/คน/ปี หรือมีการบริโภคน้ำผลไม้ประมาณ 190 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณบริโภคที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศในแถบยุโรปซึ่งบริโภคน้ำผลไม้โดยเฉลี่ย 22.1 ลิตร/คน/ปี
6. กิจกรรมการส่งเสริมการดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ
6.1 ส่งเสริมให้มีการดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพแทนน้ำชา/กาแฟในหน่วยงานราชการทั่วประเทศ
6.2 ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมให้มีการดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ใช้บริการในโรงพยาบาลของรัฐ โดยตั้งจุดจำหน่ายน้ำผลไม้ในโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 887 แห่ง
6.3 ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมให้มีการดื่มน้ำผลไม้ในโรงเรียนเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนบริโภคน้ำผลไม้จนเป็นนิสัย โดยตั้งจุดจำหน่ายน้ำผลไม้ในราคาต่ำกว่าราคาขายทั่วไปและขอความร่วมมือเอกชนจำหน่ายในราคาทุน
6.4 ส่งเสริมให้มีการดื่มน้ำผลไม้ในกลุ่มประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศโดยหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมการค้าภายใน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดจุดบริการจำหน่ายน้ำผลไม้เพื่อสนับสนุนโครงการ เช่น ดำเนินการควบคู่กับโครงการธงฟ้า ขอความร่วมมือโรงแรม ร้านอาหารไทย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสถานประกอบการเอกชน เช่น โรงพยาบาลและสถานศึกษา เป็นต้น
6.5 จัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ “ดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพของคนไทย” โดยขอรับการสนับสนุนจากสื่อของรัฐ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. สถานีวิทยุโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ เพื่อรณรงค์ให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
7. เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 ในเบื้องต้นมีเป้าหมายส่งเสริมให้คนไทยบริโภคน้ำผลไม้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยปีละ 30 ล้านลิตร (จากเฉลี่ยปีละ 190 ล้านลิตร เป็น 220 ล้านลิตร) หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.5 ลิตร/คน/ปี โดยใช้เวลา 3 ปี
7.2 เป็นการสร้างนิสัยการบริโภคน้ำผลไม้ให้กับเยาวชนไทย
7.3 เกษตรกรผู้ปลูก มะพร้าว ฝรั่ง สับปะรด และมะม่วง สามารถปลูกผลไม้ดังกล่าวให้แก่ตลาดและโรงงานเพื่อผลิตน้ำผลไม้ได้มากขึ้นตลอดทั้งปี และสามารถขยายธุรกิจการผลิตน้ำผลไม้เข้มข้น (concentrate juice) เพื่อป้อนโรงงานผลิตน้ำผลไม้อีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำโครงการรณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพให้มากยิ่งขึ้นทั้งในรูปน้ำผลไม้สดและน้ำผลไม้กล่อง โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการส่งออกจัดประชุมร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้นได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล กระทรวงพาณิชย์จึงขอเสนอโครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเพิ่มช่องทางการขยายตลาดผลไม้ให้เกษตรกรสามารถปลูกผลไม้ป้อนตลาดและโรงงานเพื่อผลิตน้ำผลไม้ได้มากขึ้นตลอดทั้งปี
1.2 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพให้มากขึ้น
2. หน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่ร่วมกันดำเนินการ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักนายกรัฐมนตรี และบริษัทผู้ผลิตและส่งออกน้ำผลไม้
3. น้ำผลไม้ที่ส่งเสริม รวม 6 ชนิด ได้แก่ น้ำส้ม น้ำมะพร้าว น้ำมังคุด น้ำสับปะรด น้ำฝรั่ง และน้ำมะม่วง
4. กลุ่มเป้าหมายที่ส่งเสริม ได้แก่ ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ทั่วประเทศ และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
5. ข้อมูลเบื้องต้นการบริโภคน้ำผลไม้ : คนไทยบริโภคน้ำผลไม้โดยเฉลี่ย 3 ลิตร/คน/ปี หรือมีการบริโภคน้ำผลไม้ประมาณ 190 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณบริโภคที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศในแถบยุโรปซึ่งบริโภคน้ำผลไม้โดยเฉลี่ย 22.1 ลิตร/คน/ปี
6. กิจกรรมการส่งเสริมการดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ
6.1 ส่งเสริมให้มีการดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพแทนน้ำชา/กาแฟในหน่วยงานราชการทั่วประเทศ
6.2 ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมให้มีการดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ใช้บริการในโรงพยาบาลของรัฐ โดยตั้งจุดจำหน่ายน้ำผลไม้ในโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 887 แห่ง
6.3 ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมให้มีการดื่มน้ำผลไม้ในโรงเรียนเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนบริโภคน้ำผลไม้จนเป็นนิสัย โดยตั้งจุดจำหน่ายน้ำผลไม้ในราคาต่ำกว่าราคาขายทั่วไปและขอความร่วมมือเอกชนจำหน่ายในราคาทุน
6.4 ส่งเสริมให้มีการดื่มน้ำผลไม้ในกลุ่มประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศโดยหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมการค้าภายใน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดจุดบริการจำหน่ายน้ำผลไม้เพื่อสนับสนุนโครงการ เช่น ดำเนินการควบคู่กับโครงการธงฟ้า ขอความร่วมมือโรงแรม ร้านอาหารไทย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสถานประกอบการเอกชน เช่น โรงพยาบาลและสถานศึกษา เป็นต้น
6.5 จัดทำแผนการประชาสัมพันธ์ “ดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพของคนไทย” โดยขอรับการสนับสนุนจากสื่อของรัฐ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. สถานีวิทยุโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ เพื่อรณรงค์ให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
7. เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 ในเบื้องต้นมีเป้าหมายส่งเสริมให้คนไทยบริโภคน้ำผลไม้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยปีละ 30 ล้านลิตร (จากเฉลี่ยปีละ 190 ล้านลิตร เป็น 220 ล้านลิตร) หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.5 ลิตร/คน/ปี โดยใช้เวลา 3 ปี
7.2 เป็นการสร้างนิสัยการบริโภคน้ำผลไม้ให้กับเยาวชนไทย
7.3 เกษตรกรผู้ปลูก มะพร้าว ฝรั่ง สับปะรด และมะม่วง สามารถปลูกผลไม้ดังกล่าวให้แก่ตลาดและโรงงานเพื่อผลิตน้ำผลไม้ได้มากขึ้นตลอดทั้งปี และสามารถขยายธุรกิจการผลิตน้ำผลไม้เข้มข้น (concentrate juice) เพื่อป้อนโรงงานผลิตน้ำผลไม้อีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--