คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแก้ไขแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป สำหรับพระราชบัญญัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นควรส่งคืนภายในกำหนดเวลา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. .... ในสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ร่างมาตรา 3 ได้แก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามคำว่า “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ให้ “ หมายความว่าสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ทั้งนี้ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น” เพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกฎหมายว่าสุราและได้แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติและคำปรารภเพื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น
2. ประเด็นเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามร่างมาตรา 23 นั้น ผู้แทนสำนักงบประมาณเห็นว่า ไม่สมควรกำหนดเรื่องการจัดตั้งหน่วยงานไว้ในร่างพระราชบัญญัติ แต่ควรไปกำหนดไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
3. ได้พิจารณาความเห็นของคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 ดังนี้
3.1 การเพิ่มเติมข้อยกเว้นในร่างมาตรา 31 วรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่ปรากฏในการถ่ายทอดสดรายการสดในประเทศไปต่างประเทศด้วยนั้น เห็นว่าการเพิ่มข้อยกเว้นดังกล่าวจะส่งผลให้มีการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์เพิ่มมากขึ้น โดยอ้างการถ่ายทอดสดรายการสดในประเทศ เช่น ดนตรีหรือกีฬา ไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกับประเทศไทย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก
3.2 การกำหนดระยะเวลาให้ผู้ประกอบการเดิมสามารถปรับตัวได้ทันกับการห้ามโฆษณาหรือนำเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปแสดงบนผลิตภัณฑ์อื่นตามร่างมาตรา 33 นั้น เห็นว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบการได้ทราบล่วงหน้าด้วยแล้ว อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องในทางนโยบายที่อาจจะกำหนดระยะเวลาผ่อนผันการบังคับใช้บทบัญญัติดังกล่าวไว้ในร่างมาตรา 2 ได้
4. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) มีข้อสังเกตดังนี้
4.1 การกำหนดเรื่องบรรจุภัณฑ์ ฉลาก และข้อความคำเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร่างมาตรา 25 มีความซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร แต่ทางผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค) ยืนยันให้คงร่างมาตราดังกล่าวไว้ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน เนื่องจากปัจจุบันมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก ซึ่งมีลักษณะและรูปแบบคล้ายคลึงกับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
4.2 การกำหนดวัน เวลา ในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีประกาศกำหนดตามร่างมาตรา 27 นั้น ปัจจุบันมีกฎหมายที่กำหนดในเรื่องนี้อยู่แล้ว คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 253 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และกฎกระทรวงกำหนดเวลาขายสุราสำหรับผู้ได้รับอนุญาตขายสุราประเภทที่ 3 และประเภทที่ 4 พ.ศ. 2548
จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. .... ในสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ร่างมาตรา 3 ได้แก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามคำว่า “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ให้ “ หมายความว่าสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ทั้งนี้ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น” เพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกฎหมายว่าสุราและได้แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติและคำปรารภเพื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น
2. ประเด็นเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามร่างมาตรา 23 นั้น ผู้แทนสำนักงบประมาณเห็นว่า ไม่สมควรกำหนดเรื่องการจัดตั้งหน่วยงานไว้ในร่างพระราชบัญญัติ แต่ควรไปกำหนดไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
3. ได้พิจารณาความเห็นของคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 ดังนี้
3.1 การเพิ่มเติมข้อยกเว้นในร่างมาตรา 31 วรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่ปรากฏในการถ่ายทอดสดรายการสดในประเทศไปต่างประเทศด้วยนั้น เห็นว่าการเพิ่มข้อยกเว้นดังกล่าวจะส่งผลให้มีการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์เพิ่มมากขึ้น โดยอ้างการถ่ายทอดสดรายการสดในประเทศ เช่น ดนตรีหรือกีฬา ไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกับประเทศไทย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก
3.2 การกำหนดระยะเวลาให้ผู้ประกอบการเดิมสามารถปรับตัวได้ทันกับการห้ามโฆษณาหรือนำเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปแสดงบนผลิตภัณฑ์อื่นตามร่างมาตรา 33 นั้น เห็นว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบการได้ทราบล่วงหน้าด้วยแล้ว อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องในทางนโยบายที่อาจจะกำหนดระยะเวลาผ่อนผันการบังคับใช้บทบัญญัติดังกล่าวไว้ในร่างมาตรา 2 ได้
4. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) มีข้อสังเกตดังนี้
4.1 การกำหนดเรื่องบรรจุภัณฑ์ ฉลาก และข้อความคำเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร่างมาตรา 25 มีความซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร แต่ทางผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค) ยืนยันให้คงร่างมาตราดังกล่าวไว้ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน เนื่องจากปัจจุบันมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก ซึ่งมีลักษณะและรูปแบบคล้ายคลึงกับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
4.2 การกำหนดวัน เวลา ในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีประกาศกำหนดตามร่างมาตรา 27 นั้น ปัจจุบันมีกฎหมายที่กำหนดในเรื่องนี้อยู่แล้ว คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 253 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และกฎกระทรวงกำหนดเวลาขายสุราสำหรับผู้ได้รับอนุญาตขายสุราประเภทที่ 3 และประเภทที่ 4 พ.ศ. 2548
จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--