คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การบังคับคดี) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า เนื่องจากภารกิจด้านการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจำต้องปฏิบัติงานภายใต้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเคร่งครัด แต่โดยเหตุที่กฎหมายดังกล่าวได้ประกาศใช้มาเป็นระยะเวลานาน บทบัญญัติบางส่วนมีความล้าสมัย ไม่ครอบคลุม และก่อให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงาน บังคับคดีนานัปการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานบังคับคดีมีประสิทธิภาพ และอำนวยความยุติธรรมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี รวมทั้งการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่าง ๆ จึงได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การบังคับคดี) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับแต่งตั้งจากศาลถือเสมือนเป็นเจ้าพนักงานศาล มีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้ ยึดหรืออายัดและยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้ เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด และจำหน่ายทรัพย์สินหรือเงินรายได้จากการนั้น (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 278)
2. กำหนดอำนาจการส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ร่างมาตรา 4 เพิ่มความเป็นมาตรา 278 ทวิ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า เนื่องจากภารกิจด้านการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจำต้องปฏิบัติงานภายใต้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเคร่งครัด แต่โดยเหตุที่กฎหมายดังกล่าวได้ประกาศใช้มาเป็นระยะเวลานาน บทบัญญัติบางส่วนมีความล้าสมัย ไม่ครอบคลุม และก่อให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงาน บังคับคดีนานัปการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานบังคับคดีมีประสิทธิภาพ และอำนวยความยุติธรรมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี รวมทั้งการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่าง ๆ จึงได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การบังคับคดี) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับแต่งตั้งจากศาลถือเสมือนเป็นเจ้าพนักงานศาล มีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้ ยึดหรืออายัดและยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้ เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด และจำหน่ายทรัพย์สินหรือเงินรายได้จากการนั้น (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 278)
2. กำหนดอำนาจการส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ร่างมาตรา 4 เพิ่มความเป็นมาตรา 278 ทวิ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--