คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมและเรียบเรียงความเห็นของคณะรัฐมนตรี โดยประสานงานกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ แล้วนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาเสนอความเห็นของคณะรัฐมนตรีต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน และรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ให้ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองความเห็น แล้วสรุปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนส่งสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการฯ เพื่อประกอบการดำเนินการต่อไป ภายในวันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2550
สำหรับแนวทางการดำเนินการดังกล่าวมีกรอบการดำเนินงานดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้จัดทำคำชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่นั้น มีความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในเรื่องใดพร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไขไปยังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กรและบุคคลดังต่อไปนี้ เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็น
(1) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
(2) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(3) คณะรัฐมนตรี
ฯลฯ
2. สภาร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบเวลาการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ช่วงระยะเวลา
ช่วงที่ 1 กุมภาพันธ์-มีนาคม 2550
- จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ
ช่วงที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2550
- จัดเวทีรับฟังความเห็นรายมาตรา (เพื่อการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ)
ช่วงที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2550
- ได้ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
- รณรงค์เพื่อการประชามติ
- วันที่ 3 กันยายน 2550 ลงประชามติ
3. คณะรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ตามข้อ 1 โดยจะต้องพิจารณาตามกรอบระยะเวลาในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรและประชาชน รวมทั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2550-26 พฤษภาคม 2550 (30วัน)
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาเสนอความเห็นของคณะรัฐมนตรีต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 131 / 2550 โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์) โดยมี รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นางโฉมศรี อารยะศิริ) เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้อำนวยการสำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 2 สำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารนโนยบายพิเศษของรัฐบาล สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1) รวบรวมความเห็นของรัฐมนตรีแต่ละท่านตามแบบสำรวจความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... และนำมาพิจารณากลั่นกรอง สรุปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาร่างรัฐธรรมนูญ
2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล เพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
3) เชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้แทนภาคเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อคิดเห็น รวมทั้งเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
4) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ทั้งนี้ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อช่วยปฏิบัติงานรวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และงบประมาณ สำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 พฤษภาคม 2550--จบ--
สำหรับแนวทางการดำเนินการดังกล่าวมีกรอบการดำเนินงานดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้จัดทำคำชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่นั้น มีความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในเรื่องใดพร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไขไปยังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กรและบุคคลดังต่อไปนี้ เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็น
(1) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
(2) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(3) คณะรัฐมนตรี
ฯลฯ
2. สภาร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบเวลาการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ช่วงระยะเวลา
ช่วงที่ 1 กุมภาพันธ์-มีนาคม 2550
- จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ
ช่วงที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2550
- จัดเวทีรับฟังความเห็นรายมาตรา (เพื่อการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ)
ช่วงที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2550
- ได้ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
- รณรงค์เพื่อการประชามติ
- วันที่ 3 กันยายน 2550 ลงประชามติ
3. คณะรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ตามข้อ 1 โดยจะต้องพิจารณาตามกรอบระยะเวลาในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรและประชาชน รวมทั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2550-26 พฤษภาคม 2550 (30วัน)
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาเสนอความเห็นของคณะรัฐมนตรีต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 131 / 2550 โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์) โดยมี รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นางโฉมศรี อารยะศิริ) เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้อำนวยการสำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 2 สำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารนโนยบายพิเศษของรัฐบาล สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1) รวบรวมความเห็นของรัฐมนตรีแต่ละท่านตามแบบสำรวจความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... และนำมาพิจารณากลั่นกรอง สรุปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาร่างรัฐธรรมนูญ
2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล เพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
3) เชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้แทนภาคเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อคิดเห็น รวมทั้งเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
4) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ทั้งนี้ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อช่วยปฏิบัติงานรวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และงบประมาณ สำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 พฤษภาคม 2550--จบ--