คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ที่อนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดจำนวน ขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. .... โดยมอบให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์) รับไปดำเนินการหารือกับกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงข้อความตามร่างประกาศดังกล่าวตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ แล้วส่งให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ เพื่อนำเสนอประธานฯ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อส่งให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ โดยได้ปรับปรุงข้อความในร่างประกาศฯ และกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เห็นด้วยกับร่างประกาศฯ โดยไม่มีข้อแก้ไข
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า โดยที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดจำนวน ขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 ได้วางข้อกำหนดห้ามตั้งหรือขยายโรงงาน ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการฟอกหรือย้อมสีเส้นใย ย้อมสีหรือแต่งสำเร็จด้ายหรือสิ่งทอ หรือเครื่องนุ่งห่มที่ถักด้วยด้ายหรือเส้นใยทั่วราชอาณาจักร เว้นแต่การตั้งหรือขยายโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือในเขตประกอบการนิคมอุตสาหกรรมสำหรับการฟอกย้อมสิ่งทอตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หรือการขยายโรงงานฟอกย้อมเดิมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว ซึ่งจะต้องเป็นการขยายโรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยไม่มีการเพิ่มเนื้อที่บริเวณโรงงานขึ้นจากเดิม ซึ่งหลังจากได้มีการประกาศใช้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับดังกล่าว ปรากฏว่าผู้ประสงค์จะลงทุนตั้งโรงงานฟอกย้อมขึ้นมาใหม่หรือประสงค์จะขยายโรงงานเดิมไม่สามารถปฏิบัติตามข้อยกเว้นของประกาศฉบับนี้ได้ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศให้มีการขยายตัวและสามารถแข่งขันได้ จึงได้เสนอร่างประกาศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดจำนวน ขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดจำนวน ขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 ดังต่อไปนี้
1. กำหนดประเภทของโรงงานที่ห้ามตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเพิ่มเติมอีกหนึ่งประเภท ได้แก่ โรงงานซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการทอหรือการเตรียมเส้นด้ายปั่นสำหรับการทอที่ใช้เครื่องจักรเกินห้าสิบแรงม้าเฉพาะโรงงานซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการฟอกหรือย้อมสีเส้นใย
2. กำหนดข้อยกเว้นของการห้ามตั้งหรือขยายโรงงานบางประเภทที่ใช้เครื่องจักรเกินห้าสิบแรงม้าในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเพิ่มเติม กล่าวคือ หากเป็นโรงงานที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และการตั้งหรือขยายโรงงานดังกล่าว ได้กระทำในเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ก็ให้สามารถกระทำได้
3. แก้ไขข้อยกเว้นของการห้ามตั้งหรือขยายโรงงานบางประเภทที่ใช้เครื่องจักรเกินห้าสิบแรงม้าในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยตามข้อยกเว้นเดิมนั้น การขยายโรงงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ หรือมีการใช้น้ำในกระบวนการผลิตในส่วนที่ลดลง จะไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามดังกล่าว หากการขยายโรงงาน นั้น ไม่ได้ทำให้พื้นที่บริเวณโรงงานเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่ในร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดจำนวน ขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. .... นั้น ได้กำหนดให้การขยายโรงงงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แม้จะทำให้พื้นที่บริเวณโรงงานเพิ่มขึ้นจากเดิม ก็ให้กระทำได้ไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามดังกล่าวอีกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า โดยที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดจำนวน ขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 ได้วางข้อกำหนดห้ามตั้งหรือขยายโรงงาน ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการฟอกหรือย้อมสีเส้นใย ย้อมสีหรือแต่งสำเร็จด้ายหรือสิ่งทอ หรือเครื่องนุ่งห่มที่ถักด้วยด้ายหรือเส้นใยทั่วราชอาณาจักร เว้นแต่การตั้งหรือขยายโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือในเขตประกอบการนิคมอุตสาหกรรมสำหรับการฟอกย้อมสิ่งทอตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หรือการขยายโรงงานฟอกย้อมเดิมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว ซึ่งจะต้องเป็นการขยายโรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยไม่มีการเพิ่มเนื้อที่บริเวณโรงงานขึ้นจากเดิม ซึ่งหลังจากได้มีการประกาศใช้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับดังกล่าว ปรากฏว่าผู้ประสงค์จะลงทุนตั้งโรงงานฟอกย้อมขึ้นมาใหม่หรือประสงค์จะขยายโรงงานเดิมไม่สามารถปฏิบัติตามข้อยกเว้นของประกาศฉบับนี้ได้ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศให้มีการขยายตัวและสามารถแข่งขันได้ จึงได้เสนอร่างประกาศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดจำนวน ขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดจำนวน ขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 ดังต่อไปนี้
1. กำหนดประเภทของโรงงานที่ห้ามตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเพิ่มเติมอีกหนึ่งประเภท ได้แก่ โรงงานซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการทอหรือการเตรียมเส้นด้ายปั่นสำหรับการทอที่ใช้เครื่องจักรเกินห้าสิบแรงม้าเฉพาะโรงงานซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการฟอกหรือย้อมสีเส้นใย
2. กำหนดข้อยกเว้นของการห้ามตั้งหรือขยายโรงงานบางประเภทที่ใช้เครื่องจักรเกินห้าสิบแรงม้าในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเพิ่มเติม กล่าวคือ หากเป็นโรงงานที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และการตั้งหรือขยายโรงงานดังกล่าว ได้กระทำในเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ก็ให้สามารถกระทำได้
3. แก้ไขข้อยกเว้นของการห้ามตั้งหรือขยายโรงงานบางประเภทที่ใช้เครื่องจักรเกินห้าสิบแรงม้าในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยตามข้อยกเว้นเดิมนั้น การขยายโรงงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ หรือมีการใช้น้ำในกระบวนการผลิตในส่วนที่ลดลง จะไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามดังกล่าว หากการขยายโรงงาน นั้น ไม่ได้ทำให้พื้นที่บริเวณโรงงานเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่ในร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดจำนวน ขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. .... นั้น ได้กำหนดให้การขยายโรงงงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แม้จะทำให้พื้นที่บริเวณโรงงานเพิ่มขึ้นจากเดิม ก็ให้กระทำได้ไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามดังกล่าวอีกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--