คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดห้ามผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใดในขณะที่รถเคลื่อนที่) แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดห้ามผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใดในขณะที่รถเคลื่อนที่) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า การออกประกาศยกเว้นตามร่างมาตรา 5 ซึ่งเพิ่มความเห็น (9) ของมาตรา 43 นั้น ควรพิจารณาความจำเป็นในการใช้โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใดในขณะที่รถเคลื่อนที่ของรถที่ใช้ในงานกู้ภัย หรือรถพยาบาลที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานฉุกเฉินด้วย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอว่า ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 เมษายน 2550 แล้ว โดยแนวทางการออกกฎหมายควบคุมการใช้โทรศัพท์มือถือและแฮนด์ฟรีในขณะขับรถฯ ในต่างประเทศ จะมี 2 แนวทาง ได้แก่
1.1 แนวทางที่ 1 ประเทศที่ออกกฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมทุกชนิด รวมทั้งการห้ามใช้แฮนด์ฟรี มีทั้งสิ้น 4 ประเทศ คือ ประเทศอิสราเอล ประเทศญี่ปุ่น ประเทศโปรตุเกส และประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบการจราจรที่ดี ไม่หนาแน่น เนื่องจากมีระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟฟ้า รถขนส่งมวลชนและรถไฟฟ้าใต้ดินที่ดีมาก ในกรณีที่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถจะสามารถหาที่จอดเพื่อพูดโทรศัพท์ได้
1.2 แนวทางที่ 2 ประเทศที่ออกกฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือแต่อนุญาตให้ใช้อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ รวมทั้งแฮนด์ฟรีได้ในขณะขับรถยนต์ มีทั้งสิ้น 21 ประเทศ เช่น ประเทศเดนมาร์ก ประเทศเยอรมัน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดห้ามผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใดในขณะที่รถเคลื่อนที่) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า การออกประกาศยกเว้นตามร่างมาตรา 5 ซึ่งเพิ่มความเห็น (9) ของมาตรา 43 นั้น ควรพิจารณาความจำเป็นในการใช้โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใดในขณะที่รถเคลื่อนที่ของรถที่ใช้ในงานกู้ภัย หรือรถพยาบาลที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานฉุกเฉินด้วย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอว่า ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 เมษายน 2550 แล้ว โดยแนวทางการออกกฎหมายควบคุมการใช้โทรศัพท์มือถือและแฮนด์ฟรีในขณะขับรถฯ ในต่างประเทศ จะมี 2 แนวทาง ได้แก่
1.1 แนวทางที่ 1 ประเทศที่ออกกฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมทุกชนิด รวมทั้งการห้ามใช้แฮนด์ฟรี มีทั้งสิ้น 4 ประเทศ คือ ประเทศอิสราเอล ประเทศญี่ปุ่น ประเทศโปรตุเกส และประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบการจราจรที่ดี ไม่หนาแน่น เนื่องจากมีระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟฟ้า รถขนส่งมวลชนและรถไฟฟ้าใต้ดินที่ดีมาก ในกรณีที่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถจะสามารถหาที่จอดเพื่อพูดโทรศัพท์ได้
1.2 แนวทางที่ 2 ประเทศที่ออกกฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือแต่อนุญาตให้ใช้อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ รวมทั้งแฮนด์ฟรีได้ในขณะขับรถยนต์ มีทั้งสิ้น 21 ประเทศ เช่น ประเทศเดนมาร์ก ประเทศเยอรมัน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--