คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสนอทั้ง 3 ข้อ ดังนี้
1. รับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ (Strengthening the Export Capacity of Thailand’s Organic Agriculture) ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. เห็นชอบในการจัดตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ” ตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านเกษตรอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้แทนจากมหาวิทยาลัย และภาคเอกชน
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับผิดชอบในการจัดตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ” ซึ่งคณะกรรมการฯ มีหน้าที่ในการกำกับดูแล ประสานงาน และผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติ รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า
1. สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ โดยมีแนวทางดำเนินงานที่สอดรับกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้ขอรับการสนับสนุนความช่วยเหลือทางวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์ภายใต้กรอบกองทุน Asia Trade Related Technical Assistance (TRTA) จากสหภาพยุโรป และศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (International Trade Centre-ITC) โดยผ่านการประสานงานของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าการพัฒนา (องค์การมหาชน) (International Institute for Trade and Development-ITD) จนได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พาณิชยกรรมระว่างประเทศ (ITC/UNCTAD/WTO) ภายใต้ชื่อโครงการ “Strengthening the Export Capacity of Thailand’s Organic Agriculture” ในวงเงินงบประมาณ 194,074 ดอลลาร์สหรัฐ ในการศึกษารูปแบบนวัตกรรมทางด้านเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์อินทรีย์ของประเทศไทยสู่ตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการพัฒนาธุรกิจชีวภาพของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
2. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย และเห็นว่าควรผลักดันอย่างจริงจัง โดยจัดตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ” รวมถึงเห็นสมควรให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงซึ่งอาจจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ” เป็นต้น โดยมอบให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติดำเนินงานโครงการดังกล่าวโดยสรุปผลการดำเนินการ ดังนี้
2.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับ 6 กระทรวง 26 หน่วยงานจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ปี 2549
2.2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการผลักดันการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนื่อง
2.3 กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินงานด้านการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งในต่างจังหวัดและในต่างประเทศ
2.4 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้ดำเนินโครงการ “Strengthening the Export Capacity of Thailand’s Organic Agriculture” ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 ถึงเดือนสิงหาคม 2549 และได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 การสำรวจหาข้อมูลพื้นฐาน
- ระยะที่ 2 การแผนปฏิบัติการระดับชาติ
- ระยะที่ 3 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ / การฝึกอบรม
2.5 จากผลการดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้นทำให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติสามารถสร้างเครือข่ายวิสาหกิจและนักวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์ให้มีความร่วมมือ และผลักดันให้เกิดการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมรวมทั้งหมด 8 โครงการด้วยวงเงินสนับสนุน 10,548,000 บาท คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 52,982,100 บาท ภายใต้กรอบและกลไกการสนับสนุนด้านวิชาการ และการเข้าร่วมรับความเสี่ยงทางการลงทุนของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติให้แก่โครงการ ต่อไปนี้
1) โครงการวิเคราะห์เชิงลึก การผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ตามกรอบยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย
2) โครงการปรับปรุงการผลิต การตลาด และสร้างมาตรฐานส้มโอด้วยระบบเกษตรอินทรีย์
3) โครงการผ้าอ้อมจากฝ้ายอินทรีย์
4) โครงการนำร่องการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ครบวงจรสู่เชิงพาณิชย์
5) โรงงานต้นแบบผลิตปุ๋ยชีวภาพจากแบคทีเรียสังเคราะห์แสง
6) โครงการการผลิตสบู่อินทรีย์
7) โครงการการผลิตแป้งมะพร้าวอินทรีย์
8) โครงการรูปแบบธุรกิจรีสอร์ทเกษตรอินทรีย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
1. รับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ (Strengthening the Export Capacity of Thailand’s Organic Agriculture) ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. เห็นชอบในการจัดตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ” ตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านเกษตรอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้แทนจากมหาวิทยาลัย และภาคเอกชน
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับผิดชอบในการจัดตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ” ซึ่งคณะกรรมการฯ มีหน้าที่ในการกำกับดูแล ประสานงาน และผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติ รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า
1. สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ โดยมีแนวทางดำเนินงานที่สอดรับกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้ขอรับการสนับสนุนความช่วยเหลือทางวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์ภายใต้กรอบกองทุน Asia Trade Related Technical Assistance (TRTA) จากสหภาพยุโรป และศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (International Trade Centre-ITC) โดยผ่านการประสานงานของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าการพัฒนา (องค์การมหาชน) (International Institute for Trade and Development-ITD) จนได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พาณิชยกรรมระว่างประเทศ (ITC/UNCTAD/WTO) ภายใต้ชื่อโครงการ “Strengthening the Export Capacity of Thailand’s Organic Agriculture” ในวงเงินงบประมาณ 194,074 ดอลลาร์สหรัฐ ในการศึกษารูปแบบนวัตกรรมทางด้านเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์อินทรีย์ของประเทศไทยสู่ตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการพัฒนาธุรกิจชีวภาพของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
2. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย และเห็นว่าควรผลักดันอย่างจริงจัง โดยจัดตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ” รวมถึงเห็นสมควรให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงซึ่งอาจจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ” เป็นต้น โดยมอบให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติดำเนินงานโครงการดังกล่าวโดยสรุปผลการดำเนินการ ดังนี้
2.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับ 6 กระทรวง 26 หน่วยงานจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ปี 2549
2.2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการผลักดันการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนื่อง
2.3 กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินงานด้านการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งในต่างจังหวัดและในต่างประเทศ
2.4 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้ดำเนินโครงการ “Strengthening the Export Capacity of Thailand’s Organic Agriculture” ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 ถึงเดือนสิงหาคม 2549 และได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 การสำรวจหาข้อมูลพื้นฐาน
- ระยะที่ 2 การแผนปฏิบัติการระดับชาติ
- ระยะที่ 3 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ / การฝึกอบรม
2.5 จากผลการดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้นทำให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติสามารถสร้างเครือข่ายวิสาหกิจและนักวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์ให้มีความร่วมมือ และผลักดันให้เกิดการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมรวมทั้งหมด 8 โครงการด้วยวงเงินสนับสนุน 10,548,000 บาท คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 52,982,100 บาท ภายใต้กรอบและกลไกการสนับสนุนด้านวิชาการ และการเข้าร่วมรับความเสี่ยงทางการลงทุนของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติให้แก่โครงการ ต่อไปนี้
1) โครงการวิเคราะห์เชิงลึก การผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ตามกรอบยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย
2) โครงการปรับปรุงการผลิต การตลาด และสร้างมาตรฐานส้มโอด้วยระบบเกษตรอินทรีย์
3) โครงการผ้าอ้อมจากฝ้ายอินทรีย์
4) โครงการนำร่องการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ครบวงจรสู่เชิงพาณิชย์
5) โรงงานต้นแบบผลิตปุ๋ยชีวภาพจากแบคทีเรียสังเคราะห์แสง
6) โครงการการผลิตสบู่อินทรีย์
7) โครงการการผลิตแป้งมะพร้าวอินทรีย์
8) โครงการรูปแบบธุรกิจรีสอร์ทเกษตรอินทรีย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--