คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2550 (1 ตุลาคม 2549 — 31 มีนาคม 2550) และงานที่สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในปี 2550 สรุปได้ดังนี้
ความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพ ณ เดือนมีนาคม 2550 พบว่า ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.21 จากผลงานในไตรมาส 1 โดยสามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61.21 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.94 ของประชากรทั้งประเทศ (62.49 ล้านคน)
ประชากรลงทะเบียนสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 46.67 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ร้อยละ 0.10 โดยลงทะเบียนสิทธิกับหน่วยบริการของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 42.22 ล้านคน (ร้อยละ 90.47) หน่วยบริการของรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2.11 ล้านคน (ร้อยละ 4.43) และหน่วยบริการสังกัดเอกชน จำนวน 2.3 ล้านคน (ร้อยละ 4.15)
การคุ้มครองสิทธิ
สปสช. มีกลไกการให้บริการประชาชนเพื่อช่วยเหลือผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันฯ โดยในรอบ 6 เดือน ของปีงบประมาณ 2550 ให้บริการไปแล้วทั้งสิ้น 212,894 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการให้ข้อมูล จำนวน 207,874 เรื่อง (ร้อยละ 97.64) เรื่องร้องทุกข์ 4,379 เรื่อง (ร้อยละ 2.06) และ เรื่องร้องเรียน 641 เรื่อง (ร้อยละ 0.30) โดยเรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง (ตอบกลับผู้ร้องหรือผู้แจ้งเรื่อง) ภายใน 5 วันทำการ สำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน มีจำนวนเรื่องร้องเรียนที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,288 เรื่อง (ร้อยละ 95.41) ทั้งนี้เป็นเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ จำนวน 1,204 เรื่อง (ร้อยละ 89.19) ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด นอกจากนี้ สปสช. มีศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการได้ทันท่วงที โดยในรอบ 6 เดือน ได้รับเรื่องประสานการส่งต่อผู้ป่วยจำนวน 1,458 ราย สามารถประสานการส่งต่อได้ จำนวน 1,057 ราย (ร้อยละ 72.50)
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ จะประกอบด้วยการตรวจประเมินหน่วยบริการ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการ โดยได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการทุกระดับ มีการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ พร้อมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในระบบบริการปฐมภูมิด้วย การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลเปรียบเทียบระหว่างกันยายน 2549 กับ มีนาคม 2550 พบว่าร้อยละของหน่วยบริการที่มีการพัฒนาตามมาตรฐาน HA หรือ ISO 9001 : 2000 ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 91.36 เป็น 94.33 นอกจากนี้ สปสช. ได้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 19 ราย เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท
การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
สปสช. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายองค์กรประชาชนเครือข่ายผู้ป่วย การมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพอีกด้วย สปสช. ได้ร่วมกับภาคีต่าง ๆ จัดให้มีงานนวัตกรรมสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับคนพิการ เมื่อวันที่ 12 — 13 มีนาคม 2550 เพื่อนำเสนอผลงาน สร้างความรู้ความเข้าใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานระหว่างองค์กรและแนวคิดสากลด้านคนพิการ เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริการ ระหว่างหน่วยบริการ องค์กรคนพิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนางานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ จนสามารถสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานระดับนโยบายและรัฐบาลต่อไป
การช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการตามมาตรา 41 จำนวน 227 ราย จ่ายเงินช่วยเหลือทั้งหมด เป็นเงิน 27.7 ล้านบาท
การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2550
การจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว (ค่าบริการทางการแพทย์) ปีงบประมาณ 2550 เป็นการจัดสรรล่วงหน้าให้หน่วยบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เงินลงสู่หน่วยบริการได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มสภาพคล่องให้หน่วยบริการ จำนวนเงินที่โอนล่วงหน้าประกอบด้วย งบบริการผู้นอก บริการผู้ใน บริการส่งเสริมป้องกันโรค บริการอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน และบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโอนภายใต้การปรับเปลี่ยนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาจังหวัด โอนเงินแบ่งเป็น 4 งวด คืองวดที่ 1 (ตุลาคม 2549 — ธันวาคม 2549) ร้อยละ 30 งวดที่ 2 (เดือนมกราคม — มีนาคม 2550) ร้อยละ 20 และงวดที่ 3 (เดือนเมษายน — มิถุนายน 2550) ร้อยละ 25 และงวดที่ 4 (เดือนกรกฎาคม — กันยายน 2550) ร้อยละ 25 ส่วนหน่วยบริการสังกัดอื่น ๆ โอนล่วงหน้า 4 งวด ๆ ละร้อยละ 25 โดยผลการดำเนินงานเมื่อ 31 มีนาคม 2550 สามารถโอนเงินงบเหมาจ่ายรายหัวล่วงหน้าให้แก่หน่วยบริการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 52.93 และ ร้อยละ 75 ของงบประมาณการที่หน่วยบริการได้รับในปีงบประมาณ 2550 ให้แก่หน่วยบริการภาครัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคเอกชน และคลินิกชุมชน
การดำเนินงานที่สำคัญต่องานหลักประกันสุขภาพ
เพื่อให้มีการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีการประสานและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สปสช. โดยมีการดำเนินการ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ครบทั้ง 12 เขต และจัดตั้งคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับจังหวัดจำนวน 67 จังหวัด คิดเป็น ร้อยละ 89.33
การดำเนินงานที่สำคัญต่องานหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วยการพัฒนางานเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านการเงินการคลังและทรัพยากรสุขภาพของสถานบริการสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภายในเขตพื้นที่ (นครสวรรค์) โครงการโรงพยาบาลบริการประทับใจ ไร้ความแออัด พัฒนาเครือข่าย/โครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิ (ศูนย์แพทย์ชุมชน) พ.ศ. 2550 ของสำนักงานสาขาเขตพื้นที่ (อุบลราชธานี) นวัตกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคนพิการในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน โรงพยาบาลพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ของสำนักงานสาขาเขตพื้นที่ (นครราชสีมา)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--
ความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพ ณ เดือนมีนาคม 2550 พบว่า ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.21 จากผลงานในไตรมาส 1 โดยสามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61.21 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.94 ของประชากรทั้งประเทศ (62.49 ล้านคน)
ประชากรลงทะเบียนสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 46.67 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ร้อยละ 0.10 โดยลงทะเบียนสิทธิกับหน่วยบริการของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 42.22 ล้านคน (ร้อยละ 90.47) หน่วยบริการของรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2.11 ล้านคน (ร้อยละ 4.43) และหน่วยบริการสังกัดเอกชน จำนวน 2.3 ล้านคน (ร้อยละ 4.15)
การคุ้มครองสิทธิ
สปสช. มีกลไกการให้บริการประชาชนเพื่อช่วยเหลือผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันฯ โดยในรอบ 6 เดือน ของปีงบประมาณ 2550 ให้บริการไปแล้วทั้งสิ้น 212,894 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการให้ข้อมูล จำนวน 207,874 เรื่อง (ร้อยละ 97.64) เรื่องร้องทุกข์ 4,379 เรื่อง (ร้อยละ 2.06) และ เรื่องร้องเรียน 641 เรื่อง (ร้อยละ 0.30) โดยเรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง (ตอบกลับผู้ร้องหรือผู้แจ้งเรื่อง) ภายใน 5 วันทำการ สำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน มีจำนวนเรื่องร้องเรียนที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,288 เรื่อง (ร้อยละ 95.41) ทั้งนี้เป็นเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ จำนวน 1,204 เรื่อง (ร้อยละ 89.19) ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด นอกจากนี้ สปสช. มีศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการได้ทันท่วงที โดยในรอบ 6 เดือน ได้รับเรื่องประสานการส่งต่อผู้ป่วยจำนวน 1,458 ราย สามารถประสานการส่งต่อได้ จำนวน 1,057 ราย (ร้อยละ 72.50)
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ จะประกอบด้วยการตรวจประเมินหน่วยบริการ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการ โดยได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการทุกระดับ มีการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ พร้อมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในระบบบริการปฐมภูมิด้วย การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลเปรียบเทียบระหว่างกันยายน 2549 กับ มีนาคม 2550 พบว่าร้อยละของหน่วยบริการที่มีการพัฒนาตามมาตรฐาน HA หรือ ISO 9001 : 2000 ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 91.36 เป็น 94.33 นอกจากนี้ สปสช. ได้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 19 ราย เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท
การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
สปสช. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายองค์กรประชาชนเครือข่ายผู้ป่วย การมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพอีกด้วย สปสช. ได้ร่วมกับภาคีต่าง ๆ จัดให้มีงานนวัตกรรมสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับคนพิการ เมื่อวันที่ 12 — 13 มีนาคม 2550 เพื่อนำเสนอผลงาน สร้างความรู้ความเข้าใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานระหว่างองค์กรและแนวคิดสากลด้านคนพิการ เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริการ ระหว่างหน่วยบริการ องค์กรคนพิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนางานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ จนสามารถสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานระดับนโยบายและรัฐบาลต่อไป
การช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการตามมาตรา 41 จำนวน 227 ราย จ่ายเงินช่วยเหลือทั้งหมด เป็นเงิน 27.7 ล้านบาท
การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2550
การจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว (ค่าบริการทางการแพทย์) ปีงบประมาณ 2550 เป็นการจัดสรรล่วงหน้าให้หน่วยบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เงินลงสู่หน่วยบริการได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มสภาพคล่องให้หน่วยบริการ จำนวนเงินที่โอนล่วงหน้าประกอบด้วย งบบริการผู้นอก บริการผู้ใน บริการส่งเสริมป้องกันโรค บริการอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน และบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโอนภายใต้การปรับเปลี่ยนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาจังหวัด โอนเงินแบ่งเป็น 4 งวด คืองวดที่ 1 (ตุลาคม 2549 — ธันวาคม 2549) ร้อยละ 30 งวดที่ 2 (เดือนมกราคม — มีนาคม 2550) ร้อยละ 20 และงวดที่ 3 (เดือนเมษายน — มิถุนายน 2550) ร้อยละ 25 และงวดที่ 4 (เดือนกรกฎาคม — กันยายน 2550) ร้อยละ 25 ส่วนหน่วยบริการสังกัดอื่น ๆ โอนล่วงหน้า 4 งวด ๆ ละร้อยละ 25 โดยผลการดำเนินงานเมื่อ 31 มีนาคม 2550 สามารถโอนเงินงบเหมาจ่ายรายหัวล่วงหน้าให้แก่หน่วยบริการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 52.93 และ ร้อยละ 75 ของงบประมาณการที่หน่วยบริการได้รับในปีงบประมาณ 2550 ให้แก่หน่วยบริการภาครัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคเอกชน และคลินิกชุมชน
การดำเนินงานที่สำคัญต่องานหลักประกันสุขภาพ
เพื่อให้มีการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีการประสานและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สปสช. โดยมีการดำเนินการ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ครบทั้ง 12 เขต และจัดตั้งคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับจังหวัดจำนวน 67 จังหวัด คิดเป็น ร้อยละ 89.33
การดำเนินงานที่สำคัญต่องานหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วยการพัฒนางานเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านการเงินการคลังและทรัพยากรสุขภาพของสถานบริการสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภายในเขตพื้นที่ (นครสวรรค์) โครงการโรงพยาบาลบริการประทับใจ ไร้ความแออัด พัฒนาเครือข่าย/โครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิ (ศูนย์แพทย์ชุมชน) พ.ศ. 2550 ของสำนักงานสาขาเขตพื้นที่ (อุบลราชธานี) นวัตกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคนพิการในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน โรงพยาบาลพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ของสำนักงานสาขาเขตพื้นที่ (นครราชสีมา)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--