คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า โดยที่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายวิชาชีพด้านการสร้างสุขภาพ มีเพียงสภาวิชาชีพที่เกี่ยวกับการซ่อมสุขภาพ ได้แก่ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ และสภาวิชาชีพด้านการฟื้นฟูสภาพหลังการเจ็บป่วย ได้แก่ สภากายภาพบำบัด ดังนั้น เพื่อให้มีสภาวิชาชีพด้านการสร้างสุขภาพขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดูแลสุขภาพของประชาชนมีความสมบูรณ์มากขึ้นจากผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญด้านการป้องกันควบคุมโรค สนับสนุนระบบสุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีสภาวิชาชีพการสาธารณสุข มีฐานะเป็นนิติบุคคล กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพฯ
2. กำหนดให้สภาวิชาชีพการสาธารณสุขมีรายได้ส่วนหนึ่งจากเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
3. กำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม สิทธิ หน้าที่ และการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาวิชาชีพการสาธารณสุข
4. กำหนดให้มีคณะกรรมการสภาวิชาชีพการสาธารณสุข ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
5. กำหนดห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขทำการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุข
6. กำหนดให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพการสาธารณสุขมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จรรยาบรรณ เพื่อให้มีอำนาจสืบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีได้รับข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษกรณีมีผู้ได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุข
7. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาวิชาชีพการสาธารณสุข และกำหนดการดำเนินงานด้านสาธารณสุข
8. กำหนดให้มีบทกำหนดโทษ
9. กำหนดบทเฉพาะกาลในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับของสภาวิชาชีพการสาธารณสุขให้เป็นไปตามระเบียบหรือประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และกำหนดการดำเนินการตามบทเฉพาะกาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า โดยที่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายวิชาชีพด้านการสร้างสุขภาพ มีเพียงสภาวิชาชีพที่เกี่ยวกับการซ่อมสุขภาพ ได้แก่ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ และสภาวิชาชีพด้านการฟื้นฟูสภาพหลังการเจ็บป่วย ได้แก่ สภากายภาพบำบัด ดังนั้น เพื่อให้มีสภาวิชาชีพด้านการสร้างสุขภาพขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดูแลสุขภาพของประชาชนมีความสมบูรณ์มากขึ้นจากผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญด้านการป้องกันควบคุมโรค สนับสนุนระบบสุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีสภาวิชาชีพการสาธารณสุข มีฐานะเป็นนิติบุคคล กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพฯ
2. กำหนดให้สภาวิชาชีพการสาธารณสุขมีรายได้ส่วนหนึ่งจากเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
3. กำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม สิทธิ หน้าที่ และการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาวิชาชีพการสาธารณสุข
4. กำหนดให้มีคณะกรรมการสภาวิชาชีพการสาธารณสุข ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
5. กำหนดห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขทำการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุข
6. กำหนดให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพการสาธารณสุขมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จรรยาบรรณ เพื่อให้มีอำนาจสืบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีได้รับข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษกรณีมีผู้ได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุข
7. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาวิชาชีพการสาธารณสุข และกำหนดการดำเนินงานด้านสาธารณสุข
8. กำหนดให้มีบทกำหนดโทษ
9. กำหนดบทเฉพาะกาลในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับของสภาวิชาชีพการสาธารณสุขให้เป็นไปตามระเบียบหรือประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และกำหนดการดำเนินการตามบทเฉพาะกาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--