คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2550) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีประกาศเตือนเรื่องภาวะฝนตกหนักระหว่างวันที่ 4-9 กรกฎาคม 2550 เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ทุกภาคของประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นกับ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา และชุมพร ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะดังกล่าว สำหรับคลื่นลมในทะเลยังคงมีกำลังแรงและให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง นั้น
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์สภาวะฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สรุปสถานการณ์และผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2550) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์จากสภาวะฝนตกหนัก (ระหว่างวันที่ 4 - 9 กรกฎาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด 2 อำเภอ 3 ตำบล 9 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดตราด และกาญจนบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อนประมาณ 1,135 คน 260 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 27 สาย สะพาน 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 7,600 ไร่ บ่อปลา 15 บ่อ ความเสียหายด้านอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.4 สถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน เข้าสู่ภาวะปกติแล้วทั้ง 2 จังหวัดตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2550
1.5 สถานการณ์อุทกภัยแยกรายจังหวัด ดังนี้
1) จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550ได้เกิดฝนตกหนักบริเวณเกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนในตำบลเกาะช้าง เนื่องจากระบายไม่ทัน จำนวน 4 จุด ได้แก่ ถนนสายคลองสน-สลักเพชร ม.2 ช่วง กม.ที่ 4-5 ถนนสายคลองสน-มาบค้างคาว ม.4 บริเวณช่วงหาดทรายขาว และถนนสายมาบค้างคาว-บางเบ้า ม.4 บริเวณ คลองไก่แบ้ และบริเวณหน้าโรงแรมสยามบรีช รถยนต์วิ่งสัญจรไป-มาได้ ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด/อำเภอ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 แล้ว
2) จังหวัดกาญจนบุรี ได้เกิดฝนตกอย่างต่อเนื่องบริเวณพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ทำให้น้ำในลำภาชีล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรที่อำเภอด่านมะขามเตี้ย บริเวณตำบลหนองไผ่ (หมู่ที่ 1,3,4,6) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 285 คน 90 ครัวเรือน และที่ตำบลด่านมะขามเตี้ย (หมู่ที่ 2,5,10) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 850 คน 170 ครัวเรือน ถนน 24 สาย สะพาน 1 แห่ง บ่อปลา 15 บ่อ พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 7,600 ไร่ มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ สถานการณ์อุทกภัยเข้าสู่สภาวะปกติแล้วตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2550 ยังคงมีน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อยในที่ลุ่มบางพื้นที่
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด/อำเภอ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 แล้ว
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 6-12 กรกฎาคม 2550 (ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา)
2.1 ลักษณะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงเกือบตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ข้อควรระวัง ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ระนองและพังงา ระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
2.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ตามข้อ 2.1 ให้จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ได้เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่มและคลื่นลมแรง อันเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวไทย และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น โดยให้แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายอันเกิดจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในระยะ 4-5 วันนี้ และให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--
ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีประกาศเตือนเรื่องภาวะฝนตกหนักระหว่างวันที่ 4-9 กรกฎาคม 2550 เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ทุกภาคของประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นกับ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา และชุมพร ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะดังกล่าว สำหรับคลื่นลมในทะเลยังคงมีกำลังแรงและให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง นั้น
กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์สภาวะฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สรุปสถานการณ์และผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2550) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์จากสภาวะฝนตกหนัก (ระหว่างวันที่ 4 - 9 กรกฎาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด 2 อำเภอ 3 ตำบล 9 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดตราด และกาญจนบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อนประมาณ 1,135 คน 260 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน ถนน 27 สาย สะพาน 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 7,600 ไร่ บ่อปลา 15 บ่อ ความเสียหายด้านอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.4 สถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน เข้าสู่ภาวะปกติแล้วทั้ง 2 จังหวัดตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2550
1.5 สถานการณ์อุทกภัยแยกรายจังหวัด ดังนี้
1) จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550ได้เกิดฝนตกหนักบริเวณเกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนในตำบลเกาะช้าง เนื่องจากระบายไม่ทัน จำนวน 4 จุด ได้แก่ ถนนสายคลองสน-สลักเพชร ม.2 ช่วง กม.ที่ 4-5 ถนนสายคลองสน-มาบค้างคาว ม.4 บริเวณช่วงหาดทรายขาว และถนนสายมาบค้างคาว-บางเบ้า ม.4 บริเวณ คลองไก่แบ้ และบริเวณหน้าโรงแรมสยามบรีช รถยนต์วิ่งสัญจรไป-มาได้ ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด/อำเภอ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 แล้ว
2) จังหวัดกาญจนบุรี ได้เกิดฝนตกอย่างต่อเนื่องบริเวณพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ทำให้น้ำในลำภาชีล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรที่อำเภอด่านมะขามเตี้ย บริเวณตำบลหนองไผ่ (หมู่ที่ 1,3,4,6) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 285 คน 90 ครัวเรือน และที่ตำบลด่านมะขามเตี้ย (หมู่ที่ 2,5,10) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 850 คน 170 ครัวเรือน ถนน 24 สาย สะพาน 1 แห่ง บ่อปลา 15 บ่อ พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 7,600 ไร่ มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ สถานการณ์อุทกภัยเข้าสู่สภาวะปกติแล้วตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2550 ยังคงมีน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อยในที่ลุ่มบางพื้นที่
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด/อำเภอ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 แล้ว
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 6-12 กรกฎาคม 2550 (ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา)
2.1 ลักษณะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงเกือบตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ข้อควรระวัง ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ระนองและพังงา ระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
2.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ตามข้อ 2.1 ให้จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ได้เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่มและคลื่นลมแรง อันเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวไทย และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น โดยให้แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายอันเกิดจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในระยะ 4-5 วันนี้ และให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--