คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยคณะกรรมการประสานการดำเนินการกรณีสถานการณ์มลภาวะทางน้ำที่เกิดในพื้นที่จังหวัดอ่างทองและจังหวัดพระนครศรีอยุธยารายงานผลการประชุมของคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 เพื่อติดตามสถานการณ์มลภาวะในแม่น้ำเจ้าพระยา การตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุ การช่วยเหลือเยียวยาเฉพาะหน้าให้แก่เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน และแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้
1. สถานการณ์มลภาวะในแม่น้ำเจ้าพระยา
กรมควบคุมมลพิษ ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2550 ว่า จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำภายหลังเกิดเหตุ (12 มี.ค.50) อย่างต่อเนื่องทุกวัน จนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2550 คุณภาพน้ำตั้งแต่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงท่าน้ำนนทบุรี พบว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มีค่าออกซิเจนละลายน้ำ 2.5 - 3.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้ค่าที่ได้มีค่าไม่ต่างจากผลการตรวจวัดในรอบหลายปีที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร มวลน้ำเสียที่ไหลมาจากอ่างทอง กลับฟื้นฟูคุณภาพดีขึ้นแล้ว และไม่มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ส่วนการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำไปใช้
2. การช่วยเหลือเยียวยาเร่งด่วนเฉพาะหน้าให้แก่เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน
จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลาในกระชังเสียหาย ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ในอัตรา 257 บาท/ ตารางเมตร รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร (หรือไม่เกิน 20,560 บาท) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2550 รวมเกษตรกรได้รับเงินช่วยเหลือ 220 ราย เป็นเงิน 3,480,618 บาท แยกเป็น
2.1 จังหวัดอ่างทอง ได้จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 90 ราย 6,647 ตารางเมตร เป็นเงิน 1,708,279 บาท
2.2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 130 ราย 6,896.50 ตารางเมตร เป็นเงิน 1,772,339 บาท
3. การตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุของคณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุการตายของปลา จังหวัดอ่างทอง (ตามคำสั่งจังหวัดอ่างทอง ที่ 265/2550 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2550 และที่ 268/2550 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2550)
3.1 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2550 จังหวัดอ่างทองได้ประชุมแก้ไขปัญหาเหตุการณ์มลภาวะทางน้ำ และช่วยเหลือเกษตรกรที่เลี้ยงปลาในกระชัง ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองทั้ง 2 ท่าน รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 2 สาขาอยุธยา สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 นนทบุรี อัยการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อุตสาหกรรมจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเสด็จ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง นายอำเภอป่าโมก นายอำเภอเมืองอ่างทอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 35 คน
3.2 ประเด็นสาเหตุการตายของปลาเดิมตั้งไว้ 5 ประเด็น คือ (1) น้ำเสียจากชุมชนปล่อยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา (2) จากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร (3) ของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงปลาในกระชัง (4) เกิดจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 4 โรง ที่ตั้งอยู่บริเวณตำบลโพสะ อำเภอเมือง จำนวน 3 โรง และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จำนวน 1 โรง (โรงงานผงชูรส) (5) เรือบรรทุกน้ำตาล ล่มกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จากการวิเคราะห์ของกรมควบคุมมลพิษได้ตัดประเด็นที่ (1) (2) และ (3) ออก คงเหลือประเด็นที่ (4) น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และ (5) กรณีเรือน้ำตาลล่ม
3.3 จากการวิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น ของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งจำลองสถานการณ์ขึ้นมา 3 กรณี ดังนี้
1) สถานการณ์ที่ 1 กรณีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในสภาวะปกติ
- ไม่มีเหตุการณ์เรือน้ำตาลล่ม
- มีน้ำเสียจากชุมชนที่บำบัดได้มาตรฐาน คือ BOD = 20 มก./ล.
- มีน้ำทิ้งจากโรงงานที่บำบัดได้มาตรฐาน คือ BOD = 20 มก./ล.
- ผล : ค่า DO ไม่ต่ำกว่า 4.5 มก./ล. ในวันที่ 11 มีนาคม 2550
2) สถานการณ์ที่ 2 กรณีมีเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำตาล 650 ตัน จมลงในแม่น้ำเจ้าพระยา
- ปริมาณ 30% ของ 440 ตัน BOD = 132 ตัน BOD เริ่มปล่อยเวลา 02.00 น. ของวันที่ 4 มีนาคม 2550 โดยอัตราที่เท่ากันทุกชั่วโมง (เรือจมมิดที่เวลา 02.30 น. สันนิษฐานว่าน้ำตาลเริ่มละลายออกจากเรือและเริ่มเปลี่ยนเป็นความสกปรก)
- ปริมาณ 70% ของ 440 ตัน BOD = 308 ตัน BOD เริ่มปล่อยเวลา 12.00 น. ของวันที่ 10 มีนาคม 2550 โดยอัตราที่เท่ากันทุกชั่วโมง (ดำเนินการกู้เรือและดูดน้ำตาลที่เหลือออกเวลา 12.30 น. และเสร็จเวลา 18.00 น. สันนิษฐานว่าน้ำตาลที่ละลายแล้วเข้มข้นบวกน้ำตาลที่เหลืออยู่ในก้นเรือตกค้างอยู่บริเวณเรือและเริ่มถูกปล่อยออกขณะดำเนินการกู้เรือ)
- น้ำทิ้งจากโรงงานทั้ง 4 โรง บำบัดได้มาตรฐานคือ BOD = 20 มก./ล.
(หมายเหตุ 650 ตัน น้ำตาล = 440 ตัน BOD)
- ผล : DO เริ่มลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2550 จาก DO สูงสุดปริมาณ 5 มก./ล., DO ต่ำสุดประมาณ 2.5 มก./ล. ในวันที่ 11 มีนาคม 2550
3) สถานการณ์ที่ 3 มีเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม 650 ตัน ในแม่น้ำเจ้าพระยาและมีน้ำเสียโรงงานระบายลงสู่แม่น้ำโดยไม่ได้รับการบำบัดในคืนวันที่ 10 มีนาคม 2550
- ผล : DO เริ่มลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2550 จาก DO สูงสุดปริมาณ 5 มก./ล. โดยลดลงเรื่อยๆ DO ต่ำสุดประมาณ 2.5 มก./ล. ในวันที่ 11 มีนาคม 2550
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น สรุปได้ว่า การละลายของน้ำตาลมีผลทำให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดน้อยลง และจาการวิเคราะห์ทั้ง 3 สถานการณ์จะได้ ค่า DO ปริมาณต่ำสุด เท่ากับ 2.5 มก./ล. ซึ่งยังไม่ถึงระดับทำให้ปลาตายและยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ดังนั้น กรมควบคุมมลพิษจะได้ขอความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ซึ่งมีความพร้อมด้านเครื่องมือ ร่วมการวิเคราะห์ต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 26 มีนาคม 2550 ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เป็นเพียงเครื่องมือที่จะชี้ว่าอะไรน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะเท่านั้น
3.4 การตรวจสอบโรงงาน
รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (นายอดิสร นภาวรานนท์) รายงานผลการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม 4 โรง สรุปได้ดังนี้
1) บริษัทสุภัทร์ธนากร เปเปอร์มิล จำกัด บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน) รวม 3 โรง น้ำทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยามีค่า BOD (mg/L) ที่กรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจวัดทั้ง 3 โรง มีค่าไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
2) บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผลิตผงชูรสอายิโนะทาการะ) คณะทำงานของจังหวัดได้ออกไปดำเนินการตรวจสอบโรงงานโดยผู้ประกอบการและวิศกรของโรงงานได้ทำการชี้แจงเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน คณะทำงานของจังหวัดได้ตรวจสอบสภาพบ่อบำบัดน้ำเสียและบริเวณรอบโรงงาน และได้ขุดแนวเส้นท่อน้ำเสียต่อจากจุดเดิมที่ได้มีการขุดไว้บริเวณหน้าอาคารสำนักงานโดยผู้ประกอบการยินยอม พบว่ามีแนววางท่อน้ำเสียฝังอยู่ใต้ดินของโรงงานจากภายในโรงงานไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ภายนอกโรงงาน มีระยะทางประมาณ 1,000 เมตร การขุดใช้รถแบคโฮ จำนวน 3 คัน โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด เนื่องจากแนวท่อที่อยู่ใกล้ถนนสายอ่างทอง-ป่าโมก-อยุธยา (ทางหลวงสาย 309) มีทิศทางเข้าไปในบริเวณถนน คสล.ของโรงงาน คณะทำงานของจังหวัดจึงได้ตกลงยุติการขุดต่อ โดยจะให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ในวันที่ 19 มีนาคม 2550
เนื่องจากการพบท่อดังกล่าวซึ่งอาจเป็นท่อน้ำเสีย อุตสาหกรรมจังหวัดจึงได้มีหนังสือลงวันที่ 19 มีนาคม 2550 แจ้งให้บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด รื้อถอนท่อเหล็กใต้ดินภายในบริเวณโรงงานให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือคำสั่งแจ้งรื้อถอน (ตามมาตรา 37 พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535) โดยบริษัทฯ ได้ทำการรื้อถอนท่อเหล็กใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน โดยมีรองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (นายอดิสร นภาวรานนท์) และคณะร่วมตรวจสอบ ดูแลการรื้อถอน ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมตรวจสอบและสรุปว่าท่อน้ำเสียที่ขุดพบไม่มีสภาพที่จะส่งน้ำเสียออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ (ตามบันทึกการตรวจติดตามการปฏิบัติตามคำสั่ง มาตรา 37 พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535)
3.5 กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี โดยสำนักงานขนส่งทางน้ำ สาขาอยุธยา ได้ตรวจสอบพบเครื่องสูบน้ำวางบนทุ่นลอยและท่อเหล็กจำนวน 2 ท่อ สร้างล่วงล้ำลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) จึงแจ้งความดำเนินคดีกรณีตรวจพบดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอป่าโมก
3.6 แต่เนื่องจากการดำเนินงานดังกล่าวประชาชนยังคงมีความเคลือบแคลงสังสัยว่ามีบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด แอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยานั้น คณะกรรมการฯ จังหวัดอ่างทองจึงมีมติดังนี้
1) จังหวัดอ่างทองขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วน สถานประกอบการ ตัวแทนประชาชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการขุดพิสูจน์ทราบ โดยเริ่มดำเนินการวันนี้ 26 มีนาคม 2550 ดังนี้
- บริเวณภายในโรงงานดำเนินการตามที่ผู้แทนประชาชนได้ให้คำชี้แนะ
- ขุดจากปลายท่อบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่สำนักงานขนส่งทางน้ำสาขาอยุธยาตรวจพบ
2) หากไม่ได้รับความร่วมมือจากโรงงาน ก็จะดำเนินการตามมาตรา 37 พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2535 โดยจะใช้อำนาจตามกฎหมายและดำเนินการให้เร็วที่สุด
ทั้งนี้ ในการตรวจสอบจังหวัดจะเชิญวิศวกรของจังหวัด ท้องถิ่น ส่วนกลางและสถาบันการศึกษา ไฟฟ้าภูมิภาคจังหวัด ร่วมตรวจสอบและให้คำปรึกษา
3.7 คณะกรรมการประสานการดำเนินการฯ รับทราบรายงานตามข้อ 3.1-3.6 แล้ว และได้ขอให้กรมควบคุมมลพิษ เร่งดำเนินการวิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ร่วมกับสถาบัน AIT เพื่อหาสาเหตุให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งเร่งรัดให้คณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุฯ จังหวัดอ่างทอง เร่งดำเนินการด้านโรงงานเพื่อนำข้อมูลมาประมวลสรุปร่วมกันให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
4. แนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ
4.1 สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปพิจารณาข้อกฎหมาย กรณีการขออนุมัติงบกลางฯ ปี 2550 จำนวน 30.6 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ (ตามเกณฑ์ที่กรมประมงกำหนด) นั้น
4.2 ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แจ้งว่า จากการศึกษาข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่เกษตรกรจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ และจากเงินงบกลางฯ ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 สามารถดำเนินการได้ สำหรับกรณีการเรียกเงินคืนจากเกษตรกรในส่วนที่รัฐทดรองจ่ายให้แก่เกษตรกรจำนวน 60% ของมูลค่าความเสียหายในภายหลัง จำเป็นต้องให้เกษตรกรมอบอำนาจให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้ฟ้องคดีแทน ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจักได้มีหนังสือแจ้งยืนยันความเห็นเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในวันที่ 27 มีนาคม 2550 นี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
1. สถานการณ์มลภาวะในแม่น้ำเจ้าพระยา
กรมควบคุมมลพิษ ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2550 ว่า จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำภายหลังเกิดเหตุ (12 มี.ค.50) อย่างต่อเนื่องทุกวัน จนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2550 คุณภาพน้ำตั้งแต่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงท่าน้ำนนทบุรี พบว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มีค่าออกซิเจนละลายน้ำ 2.5 - 3.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้ค่าที่ได้มีค่าไม่ต่างจากผลการตรวจวัดในรอบหลายปีที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร มวลน้ำเสียที่ไหลมาจากอ่างทอง กลับฟื้นฟูคุณภาพดีขึ้นแล้ว และไม่มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ส่วนการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำไปใช้
2. การช่วยเหลือเยียวยาเร่งด่วนเฉพาะหน้าให้แก่เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน
จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลาในกระชังเสียหาย ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ในอัตรา 257 บาท/ ตารางเมตร รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร (หรือไม่เกิน 20,560 บาท) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2550 รวมเกษตรกรได้รับเงินช่วยเหลือ 220 ราย เป็นเงิน 3,480,618 บาท แยกเป็น
2.1 จังหวัดอ่างทอง ได้จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 90 ราย 6,647 ตารางเมตร เป็นเงิน 1,708,279 บาท
2.2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 130 ราย 6,896.50 ตารางเมตร เป็นเงิน 1,772,339 บาท
3. การตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุของคณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุการตายของปลา จังหวัดอ่างทอง (ตามคำสั่งจังหวัดอ่างทอง ที่ 265/2550 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2550 และที่ 268/2550 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2550)
3.1 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2550 จังหวัดอ่างทองได้ประชุมแก้ไขปัญหาเหตุการณ์มลภาวะทางน้ำ และช่วยเหลือเกษตรกรที่เลี้ยงปลาในกระชัง ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองทั้ง 2 ท่าน รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 2 สาขาอยุธยา สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 นนทบุรี อัยการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อุตสาหกรรมจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเสด็จ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง นายอำเภอป่าโมก นายอำเภอเมืองอ่างทอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 35 คน
3.2 ประเด็นสาเหตุการตายของปลาเดิมตั้งไว้ 5 ประเด็น คือ (1) น้ำเสียจากชุมชนปล่อยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา (2) จากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร (3) ของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงปลาในกระชัง (4) เกิดจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 4 โรง ที่ตั้งอยู่บริเวณตำบลโพสะ อำเภอเมือง จำนวน 3 โรง และตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จำนวน 1 โรง (โรงงานผงชูรส) (5) เรือบรรทุกน้ำตาล ล่มกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จากการวิเคราะห์ของกรมควบคุมมลพิษได้ตัดประเด็นที่ (1) (2) และ (3) ออก คงเหลือประเด็นที่ (4) น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และ (5) กรณีเรือน้ำตาลล่ม
3.3 จากการวิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น ของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งจำลองสถานการณ์ขึ้นมา 3 กรณี ดังนี้
1) สถานการณ์ที่ 1 กรณีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในสภาวะปกติ
- ไม่มีเหตุการณ์เรือน้ำตาลล่ม
- มีน้ำเสียจากชุมชนที่บำบัดได้มาตรฐาน คือ BOD = 20 มก./ล.
- มีน้ำทิ้งจากโรงงานที่บำบัดได้มาตรฐาน คือ BOD = 20 มก./ล.
- ผล : ค่า DO ไม่ต่ำกว่า 4.5 มก./ล. ในวันที่ 11 มีนาคม 2550
2) สถานการณ์ที่ 2 กรณีมีเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำตาล 650 ตัน จมลงในแม่น้ำเจ้าพระยา
- ปริมาณ 30% ของ 440 ตัน BOD = 132 ตัน BOD เริ่มปล่อยเวลา 02.00 น. ของวันที่ 4 มีนาคม 2550 โดยอัตราที่เท่ากันทุกชั่วโมง (เรือจมมิดที่เวลา 02.30 น. สันนิษฐานว่าน้ำตาลเริ่มละลายออกจากเรือและเริ่มเปลี่ยนเป็นความสกปรก)
- ปริมาณ 70% ของ 440 ตัน BOD = 308 ตัน BOD เริ่มปล่อยเวลา 12.00 น. ของวันที่ 10 มีนาคม 2550 โดยอัตราที่เท่ากันทุกชั่วโมง (ดำเนินการกู้เรือและดูดน้ำตาลที่เหลือออกเวลา 12.30 น. และเสร็จเวลา 18.00 น. สันนิษฐานว่าน้ำตาลที่ละลายแล้วเข้มข้นบวกน้ำตาลที่เหลืออยู่ในก้นเรือตกค้างอยู่บริเวณเรือและเริ่มถูกปล่อยออกขณะดำเนินการกู้เรือ)
- น้ำทิ้งจากโรงงานทั้ง 4 โรง บำบัดได้มาตรฐานคือ BOD = 20 มก./ล.
(หมายเหตุ 650 ตัน น้ำตาล = 440 ตัน BOD)
- ผล : DO เริ่มลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2550 จาก DO สูงสุดปริมาณ 5 มก./ล., DO ต่ำสุดประมาณ 2.5 มก./ล. ในวันที่ 11 มีนาคม 2550
3) สถานการณ์ที่ 3 มีเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม 650 ตัน ในแม่น้ำเจ้าพระยาและมีน้ำเสียโรงงานระบายลงสู่แม่น้ำโดยไม่ได้รับการบำบัดในคืนวันที่ 10 มีนาคม 2550
- ผล : DO เริ่มลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2550 จาก DO สูงสุดปริมาณ 5 มก./ล. โดยลดลงเรื่อยๆ DO ต่ำสุดประมาณ 2.5 มก./ล. ในวันที่ 11 มีนาคม 2550
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น สรุปได้ว่า การละลายของน้ำตาลมีผลทำให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดน้อยลง และจาการวิเคราะห์ทั้ง 3 สถานการณ์จะได้ ค่า DO ปริมาณต่ำสุด เท่ากับ 2.5 มก./ล. ซึ่งยังไม่ถึงระดับทำให้ปลาตายและยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ดังนั้น กรมควบคุมมลพิษจะได้ขอความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ซึ่งมีความพร้อมด้านเครื่องมือ ร่วมการวิเคราะห์ต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 26 มีนาคม 2550 ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เป็นเพียงเครื่องมือที่จะชี้ว่าอะไรน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะเท่านั้น
3.4 การตรวจสอบโรงงาน
รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (นายอดิสร นภาวรานนท์) รายงานผลการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม 4 โรง สรุปได้ดังนี้
1) บริษัทสุภัทร์ธนากร เปเปอร์มิล จำกัด บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน) รวม 3 โรง น้ำทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยามีค่า BOD (mg/L) ที่กรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจวัดทั้ง 3 โรง มีค่าไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
2) บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผลิตผงชูรสอายิโนะทาการะ) คณะทำงานของจังหวัดได้ออกไปดำเนินการตรวจสอบโรงงานโดยผู้ประกอบการและวิศกรของโรงงานได้ทำการชี้แจงเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน คณะทำงานของจังหวัดได้ตรวจสอบสภาพบ่อบำบัดน้ำเสียและบริเวณรอบโรงงาน และได้ขุดแนวเส้นท่อน้ำเสียต่อจากจุดเดิมที่ได้มีการขุดไว้บริเวณหน้าอาคารสำนักงานโดยผู้ประกอบการยินยอม พบว่ามีแนววางท่อน้ำเสียฝังอยู่ใต้ดินของโรงงานจากภายในโรงงานไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ภายนอกโรงงาน มีระยะทางประมาณ 1,000 เมตร การขุดใช้รถแบคโฮ จำนวน 3 คัน โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด เนื่องจากแนวท่อที่อยู่ใกล้ถนนสายอ่างทอง-ป่าโมก-อยุธยา (ทางหลวงสาย 309) มีทิศทางเข้าไปในบริเวณถนน คสล.ของโรงงาน คณะทำงานของจังหวัดจึงได้ตกลงยุติการขุดต่อ โดยจะให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ในวันที่ 19 มีนาคม 2550
เนื่องจากการพบท่อดังกล่าวซึ่งอาจเป็นท่อน้ำเสีย อุตสาหกรรมจังหวัดจึงได้มีหนังสือลงวันที่ 19 มีนาคม 2550 แจ้งให้บริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด รื้อถอนท่อเหล็กใต้ดินภายในบริเวณโรงงานให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือคำสั่งแจ้งรื้อถอน (ตามมาตรา 37 พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535) โดยบริษัทฯ ได้ทำการรื้อถอนท่อเหล็กใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน โดยมีรองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (นายอดิสร นภาวรานนท์) และคณะร่วมตรวจสอบ ดูแลการรื้อถอน ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมตรวจสอบและสรุปว่าท่อน้ำเสียที่ขุดพบไม่มีสภาพที่จะส่งน้ำเสียออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ (ตามบันทึกการตรวจติดตามการปฏิบัติตามคำสั่ง มาตรา 37 พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535)
3.5 กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี โดยสำนักงานขนส่งทางน้ำ สาขาอยุธยา ได้ตรวจสอบพบเครื่องสูบน้ำวางบนทุ่นลอยและท่อเหล็กจำนวน 2 ท่อ สร้างล่วงล้ำลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด (โรงงานผงชูรส) จึงแจ้งความดำเนินคดีกรณีตรวจพบดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอป่าโมก
3.6 แต่เนื่องจากการดำเนินงานดังกล่าวประชาชนยังคงมีความเคลือบแคลงสังสัยว่ามีบริษัท เค ที เอ็มเอสจี จำกัด แอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยานั้น คณะกรรมการฯ จังหวัดอ่างทองจึงมีมติดังนี้
1) จังหวัดอ่างทองขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วน สถานประกอบการ ตัวแทนประชาชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการขุดพิสูจน์ทราบ โดยเริ่มดำเนินการวันนี้ 26 มีนาคม 2550 ดังนี้
- บริเวณภายในโรงงานดำเนินการตามที่ผู้แทนประชาชนได้ให้คำชี้แนะ
- ขุดจากปลายท่อบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่สำนักงานขนส่งทางน้ำสาขาอยุธยาตรวจพบ
2) หากไม่ได้รับความร่วมมือจากโรงงาน ก็จะดำเนินการตามมาตรา 37 พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2535 โดยจะใช้อำนาจตามกฎหมายและดำเนินการให้เร็วที่สุด
ทั้งนี้ ในการตรวจสอบจังหวัดจะเชิญวิศวกรของจังหวัด ท้องถิ่น ส่วนกลางและสถาบันการศึกษา ไฟฟ้าภูมิภาคจังหวัด ร่วมตรวจสอบและให้คำปรึกษา
3.7 คณะกรรมการประสานการดำเนินการฯ รับทราบรายงานตามข้อ 3.1-3.6 แล้ว และได้ขอให้กรมควบคุมมลพิษ เร่งดำเนินการวิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ร่วมกับสถาบัน AIT เพื่อหาสาเหตุให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งเร่งรัดให้คณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์หาสาเหตุฯ จังหวัดอ่างทอง เร่งดำเนินการด้านโรงงานเพื่อนำข้อมูลมาประมวลสรุปร่วมกันให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
4. แนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ
4.1 สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปพิจารณาข้อกฎหมาย กรณีการขออนุมัติงบกลางฯ ปี 2550 จำนวน 30.6 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ (ตามเกณฑ์ที่กรมประมงกำหนด) นั้น
4.2 ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แจ้งว่า จากการศึกษาข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่เกษตรกรจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ และจากเงินงบกลางฯ ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 สามารถดำเนินการได้ สำหรับกรณีการเรียกเงินคืนจากเกษตรกรในส่วนที่รัฐทดรองจ่ายให้แก่เกษตรกรจำนวน 60% ของมูลค่าความเสียหายในภายหลัง จำเป็นต้องให้เกษตรกรมอบอำนาจให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้ฟ้องคดีแทน ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจักได้มีหนังสือแจ้งยืนยันความเห็นเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในวันที่ 27 มีนาคม 2550 นี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--