คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้และการให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน ดังนี้
1. สถานการณ์ จากเหตุการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ใน 8 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ทำให้เกิดน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อประชาชน ประมาณ 700,000 คน 170,000 ครัวเรือน มีผู้ป่วยมารับบริการประมาณ 140,000 ราย ซึ่งป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า 50 % โรคทางเดินหายใจ 28 % และอีก 20 % เป็นโรคตาแดง ส่วนที่เหลือเป็นโรคทางเดินอาหาร บาดเจ็บเล็กน้อย และปวดเมื่อย ซึ่งขณะนี้หลายพื้นที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น จากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง และ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2548 ทำให้ภาคใต้บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง สตูล อาจจะมีฝนตกเกือบทั่วไปในระยะนี้ ดังนั้น ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงมีน้ำท่วมขัง
2. การให้การสนับสนุน
2.1 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 350,000 ชุด ยาน้ำกัดเท้า 250,000 หลอด และ ORS 60,000 ชุด ไปโดยเครื่องบิน C 130 คาดว่าจะถึงท่าอากาศยานหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เวลาประมาณ 15.30 น. วันที่ 24 ธันวาคม 2548
2.2 ได้สั่งการให้โรงพยาบาลที่ไม่ประสบปัญหาในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียงออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระหว่างและหลังน้ำท่วม
2.3 สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งยาและเวชภัณฑ์ที่ได้รับบริจาคจากภาคเอกชน และรวบรวมเวชภัณฑ์จากจังหวัดในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือที่ไม่ประสบภัย ส่งไปภายในพื้นที่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบทุกแห่ง
2.4 กองวิศวกรรมการแพทย์และกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ทำการสำรวจประเมินความเสียหายเบื้องต้นที่ต้องซ่อมแซมสถานบริการสาธารณสุข โดยทุกโรงพยาบาลขณะนี้สามารถเปิดบริการได้แล้วทุกโรงพยาบาล ยกเว้นโรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี ที่เริ่มสามารถเปิดให้บริการได้เฉพาะผู้ป่วยนอกเท่านั้น สำหรับปัญหาเรื่องเครื่องมือแพทย์บางรายการที่ได้รับความเสียหายใช้การไม่ได้ ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยหมุนเวียนเครื่องมือจากโรงพยาบาลใกล้เคียง เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้
2.5 ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค ร่วมกับศูนย์อนามัยของกรมอนามัย ออกดำเนินการสนับสนุนการดำเนินการด้านการป้องกัน และควบคุมโรค ภายหลังจากน้ำลดแล้ว
2.6 ศูนย์สุขภาพจิต จากโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลจิตเวชสงขลา และกรมสุขภาพจิต ได้ส่งทีมเพื่อเฝ้าระวัง และดำเนินการด้านสุขภาพจิตชุมชนในพื้นที่แล้ว
กระทรวงสาธารณสุข ขอรายงานความเสียหายต่อสถานบริการสาธารณสุขเพื่อพิจารณาสนับสนุน งบประมาณในโอกาส ต่อไป ดังนี้
- ค่าซ่อมแซม สร้างทดแทน สิ่งก่อสร้าง สถานบริการสาธารณสุข อาคารที่ทำการ บ้านพักข้าราชการที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 81 รายการ วงเงิน 44,857,000 บาท
- ค่ายา และเวชภัณฑ์ ชดเชยให้โรงพยาบาลต่าง ๆ องค์การเภสัชกรรมและบริษัทที่ใช้ไปในการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย วงเงิน 50 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
1. สถานการณ์ จากเหตุการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ใน 8 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ทำให้เกิดน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อประชาชน ประมาณ 700,000 คน 170,000 ครัวเรือน มีผู้ป่วยมารับบริการประมาณ 140,000 ราย ซึ่งป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า 50 % โรคทางเดินหายใจ 28 % และอีก 20 % เป็นโรคตาแดง ส่วนที่เหลือเป็นโรคทางเดินอาหาร บาดเจ็บเล็กน้อย และปวดเมื่อย ซึ่งขณะนี้หลายพื้นที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น จากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง และ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2548 ทำให้ภาคใต้บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง สตูล อาจจะมีฝนตกเกือบทั่วไปในระยะนี้ ดังนั้น ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงมีน้ำท่วมขัง
2. การให้การสนับสนุน
2.1 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 350,000 ชุด ยาน้ำกัดเท้า 250,000 หลอด และ ORS 60,000 ชุด ไปโดยเครื่องบิน C 130 คาดว่าจะถึงท่าอากาศยานหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เวลาประมาณ 15.30 น. วันที่ 24 ธันวาคม 2548
2.2 ได้สั่งการให้โรงพยาบาลที่ไม่ประสบปัญหาในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียงออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระหว่างและหลังน้ำท่วม
2.3 สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งยาและเวชภัณฑ์ที่ได้รับบริจาคจากภาคเอกชน และรวบรวมเวชภัณฑ์จากจังหวัดในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือที่ไม่ประสบภัย ส่งไปภายในพื้นที่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบทุกแห่ง
2.4 กองวิศวกรรมการแพทย์และกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ทำการสำรวจประเมินความเสียหายเบื้องต้นที่ต้องซ่อมแซมสถานบริการสาธารณสุข โดยทุกโรงพยาบาลขณะนี้สามารถเปิดบริการได้แล้วทุกโรงพยาบาล ยกเว้นโรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี ที่เริ่มสามารถเปิดให้บริการได้เฉพาะผู้ป่วยนอกเท่านั้น สำหรับปัญหาเรื่องเครื่องมือแพทย์บางรายการที่ได้รับความเสียหายใช้การไม่ได้ ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยหมุนเวียนเครื่องมือจากโรงพยาบาลใกล้เคียง เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้
2.5 ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค ร่วมกับศูนย์อนามัยของกรมอนามัย ออกดำเนินการสนับสนุนการดำเนินการด้านการป้องกัน และควบคุมโรค ภายหลังจากน้ำลดแล้ว
2.6 ศูนย์สุขภาพจิต จากโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลจิตเวชสงขลา และกรมสุขภาพจิต ได้ส่งทีมเพื่อเฝ้าระวัง และดำเนินการด้านสุขภาพจิตชุมชนในพื้นที่แล้ว
กระทรวงสาธารณสุข ขอรายงานความเสียหายต่อสถานบริการสาธารณสุขเพื่อพิจารณาสนับสนุน งบประมาณในโอกาส ต่อไป ดังนี้
- ค่าซ่อมแซม สร้างทดแทน สิ่งก่อสร้าง สถานบริการสาธารณสุข อาคารที่ทำการ บ้านพักข้าราชการที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 81 รายการ วงเงิน 44,857,000 บาท
- ค่ายา และเวชภัณฑ์ ชดเชยให้โรงพยาบาลต่าง ๆ องค์การเภสัชกรรมและบริษัทที่ใช้ไปในการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย วงเงิน 50 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--