คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์และมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2550 พบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกชนิด H5N1 จำนวน 2 จุด ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานตามโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบ บูรณาการ (x-ray) ครั้งที่ 1/2550 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 จังหวัดพิษณุโลก ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จากตัวอย่างซากเป็ดไข่พันธุ์กากีแคมเบล อายุ 5 เดือน โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,100 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 168 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณจำนวน 1,932 ตัว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2550
1.2 จังหวัดหนองคาย ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย จากตัวอย่างซากไก่ไข่ โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,000 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 236 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณจำนวน 1,860 ตัว ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2550
ท้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้รายงานการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 ทั้ง 2 จุด ไปยังองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) แล้ว
2. มาตรการควบคุมโรค
2.1 ทำลายสัตว์ปีกทั้งหมดในฝูงทันทีที่พบสัตว์ปีกป่วยหรือตายผิดปกติซึ่งมีลักษณะอาการตามนิยามโรคไข้หวัดนกในฝูงนั้น โดยไม่ต้องรอผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
2.2 ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกและสั่งกักสัตว์ปีกในพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน พร้อมทั้งตั้งจุดตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก 24 ชั่วโมง
2.3 ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพในจุดพบโรคและจุดเสี่ยงอื่น ๆ
2.4 เฝ้าระวังเชิงรุกและสอบสวนโรค โดยการค้นหาสัตว์ปีกป่วยเพิ่มและการสุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดพบโรค ส่งตรวจห้องปฏิบัติการประจำพื้นที่
2.5 ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ทั้งในคนและสัตว์
2.6 ประชาสัมพันธ์ โดยใช้สื่อต่าง ๆ ให้เกษตรกรเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับทางภาครัฐ
2.7 กรมปศุสัตว์จัดทีมสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาเข้าสอบสวนโรคในพื้นที่ เพื่อหาสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริง
3. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศ (1 ธันวาคม 2549-23 มกราคม 2550) พบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกชนิด H5N1 จำนวน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศปากีสถาน อียิปต์ เวียดนาม เกาหลีใต้ ไนจีเรีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง
4. การดำเนินงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนก จากการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray) ครั้งที่ 1/2550 ผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 3-23 มกราคม 2550 เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 31,623 ตัวอย่าง โดยพบผลบวก 2 ตัวอย่าง (พิษณุโลกและหนองคาย) ให้ผลลบ 15,111 ตัวอย่าง และอยู่ระหว่างรอผลการตรวจ 16,510 ตัวอย่าง
5. ผลการจับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2549-23 มกราคม 2550 จับกุม ผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกรวมทั้งสิ้น 62 ราย แบ่งเป็น เป็ด 173,550 ตัว ไก่ 1,300 ตัว ไก่ชน 132 ตัว และซากไก่ 900 กิโลกรัม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2550 พบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกชนิด H5N1 จำนวน 2 จุด ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานตามโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบ บูรณาการ (x-ray) ครั้งที่ 1/2550 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 จังหวัดพิษณุโลก ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จากตัวอย่างซากเป็ดไข่พันธุ์กากีแคมเบล อายุ 5 เดือน โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,100 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 168 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณจำนวน 1,932 ตัว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2550
1.2 จังหวัดหนองคาย ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย จากตัวอย่างซากไก่ไข่ โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,000 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 236 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณจำนวน 1,860 ตัว ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2550
ท้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้รายงานการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 ทั้ง 2 จุด ไปยังองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) แล้ว
2. มาตรการควบคุมโรค
2.1 ทำลายสัตว์ปีกทั้งหมดในฝูงทันทีที่พบสัตว์ปีกป่วยหรือตายผิดปกติซึ่งมีลักษณะอาการตามนิยามโรคไข้หวัดนกในฝูงนั้น โดยไม่ต้องรอผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
2.2 ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกและสั่งกักสัตว์ปีกในพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน พร้อมทั้งตั้งจุดตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก 24 ชั่วโมง
2.3 ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพในจุดพบโรคและจุดเสี่ยงอื่น ๆ
2.4 เฝ้าระวังเชิงรุกและสอบสวนโรค โดยการค้นหาสัตว์ปีกป่วยเพิ่มและการสุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดพบโรค ส่งตรวจห้องปฏิบัติการประจำพื้นที่
2.5 ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ทั้งในคนและสัตว์
2.6 ประชาสัมพันธ์ โดยใช้สื่อต่าง ๆ ให้เกษตรกรเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับทางภาครัฐ
2.7 กรมปศุสัตว์จัดทีมสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาเข้าสอบสวนโรคในพื้นที่ เพื่อหาสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริง
3. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศ (1 ธันวาคม 2549-23 มกราคม 2550) พบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกชนิด H5N1 จำนวน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศปากีสถาน อียิปต์ เวียดนาม เกาหลีใต้ ไนจีเรีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง
4. การดำเนินงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนก จากการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray) ครั้งที่ 1/2550 ผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 3-23 มกราคม 2550 เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 31,623 ตัวอย่าง โดยพบผลบวก 2 ตัวอย่าง (พิษณุโลกและหนองคาย) ให้ผลลบ 15,111 ตัวอย่าง และอยู่ระหว่างรอผลการตรวจ 16,510 ตัวอย่าง
5. ผลการจับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2549-23 มกราคม 2550 จับกุม ผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกรวมทั้งสิ้น 62 ราย แบ่งเป็น เป็ด 173,550 ตัว ไก่ 1,300 ตัว ไก่ชน 132 ตัว และซากไก่ 900 กิโลกรัม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--