คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม — กันยายน) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. การส่งออก
การส่งออกเดือนกันยายน มีมูลค่า 10,491 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 23.2 การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องจากเดือนสิงหาคม ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 และ 18.0 ตามลำดับ
การส่งออกในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม — กันยายน) มูลค่า 82,021 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.1 เป็นการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 16.7 ขณะที่สินค้าเกษตรกรรม/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในตลาดใหม่และตลาดหลักร้อยละ 24.0 และ 11.4 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่ขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ อินเดีย ลาตินอเมริกา ออสเตรเลีย และจีน
2. ดัชนีราคาส่งออก
ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนกันยายน 2548 เท่ากับ 113.8 (ปี 2543 = 100) สูงขึ้น จากเดือนสิงหาคม 2548 ร้อยละ 0.4 และเพิ่มจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.7 เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ กุ้ง ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา น้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ เป็นต้น
ดัชนีราคาส่งออกเฉลี่ย 9 เดือน (มกราคม — กันยายน) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.6
3. การนำเข้า
การนำเข้าในเดือนกันยายน 2548 มีมูลค่า 9,671 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และเทียบกับเดือนสิงหาคม 2548 ลดลงร้อยละ 4.9 สินค้าสำคัญที่มีการนำเข้าสูงได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ, สินค้าเชื้อเพลิง และทองคำ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.4, 8.5, 15.5, 23.0, 82.5 และ 174.9 ตามลำดับ
สำหรับสินค้านำเข้าสำคัญ (น้ำมันดิบ เหล็ก และทองคำ) ที่รัฐบาลได้ใช้มาตรการบริหารการนำเข้า เช่น การประหยัดพลังงานและขอความร่วมมือจากผู้นำเข้า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 นั้น ทั้ง 3 สินค้ามีปริมาณการนำเข้าลดลง ตามลำดับ คือ น้ำมันดิบนำเข้าลดลงจาก 0.87 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนกรกฎาคม เป็น 0.74 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือนกันยายน เหล็กมีการนำเข้าลดลงจาก 1.5 ล้านตัน เป็น 0.85 ล้านตัน และทองคำลดลงจาก 16 ตัน เป็น 12.5 ตัน
การนำเข้าในระยะ 9 เดือน (มกราคม — กันยายน) มีมูลค่า 89,249 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.9 เป็นการขยายตัวของการนำเข้าในทุกหมวด ที่สำคัญได้แก่ วัตถุดิบและกิ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน และสินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8, 28.1 และ 18.0 ตามลำดับ
4. แนวโน้มการส่งออกและนำเข้า ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2548 (ตุลาคม — ธันวาคม 2548)
การส่งออกไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 คาดว่าจะสามารถส่งออกมูลค่า 33816 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 30.6 เนื่องจากสินค้าในกลุ่มอาหาร ผลิตภัณฑ์พลาสติก และวัสดุก่อสร้างจะสามารถส่งออกได้สูงกว่าเป้าหมาย และทำให้การส่งออกทั้งปี 2548 บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20.0 คิดเป็นมูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การนำเข้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอความร่วมมือจากผู้นำเข้าสินค้าสำคัญ 6 กลุ่มสินค้า ได้แก่ น้ำมันดิบ เหล็ก ทองคำ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเภสัชเคมีภัณฑ์ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่นำเข้าสินค้าตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (New Mega Projects) เพื่อชะลอการนำเข้า ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าของไทยได้ต่อไป
5. ดุลการค้า
ในเดือนกันยายน ดุลการค้าไทยเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองของปี 2548 จำนวน 820 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้การขาดดุลรวม 9 เดือนของปี 2548 (มกราคม — กันยายน) ขาดดุลลดลงเหลือ 7,408 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่าการส่งออกที่ขยายตัวสูงในไตรมาสที่ 4 จะส่งผลให้การขาดดุลการค้าลดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
1. การส่งออก
การส่งออกเดือนกันยายน มีมูลค่า 10,491 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 23.2 การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องจากเดือนสิงหาคม ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 และ 18.0 ตามลำดับ
การส่งออกในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม — กันยายน) มูลค่า 82,021 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.1 เป็นการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 16.7 ขณะที่สินค้าเกษตรกรรม/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในตลาดใหม่และตลาดหลักร้อยละ 24.0 และ 11.4 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่ขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ อินเดีย ลาตินอเมริกา ออสเตรเลีย และจีน
2. ดัชนีราคาส่งออก
ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนกันยายน 2548 เท่ากับ 113.8 (ปี 2543 = 100) สูงขึ้น จากเดือนสิงหาคม 2548 ร้อยละ 0.4 และเพิ่มจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.7 เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ กุ้ง ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา น้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ เป็นต้น
ดัชนีราคาส่งออกเฉลี่ย 9 เดือน (มกราคม — กันยายน) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.6
3. การนำเข้า
การนำเข้าในเดือนกันยายน 2548 มีมูลค่า 9,671 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และเทียบกับเดือนสิงหาคม 2548 ลดลงร้อยละ 4.9 สินค้าสำคัญที่มีการนำเข้าสูงได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ, สินค้าเชื้อเพลิง และทองคำ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.4, 8.5, 15.5, 23.0, 82.5 และ 174.9 ตามลำดับ
สำหรับสินค้านำเข้าสำคัญ (น้ำมันดิบ เหล็ก และทองคำ) ที่รัฐบาลได้ใช้มาตรการบริหารการนำเข้า เช่น การประหยัดพลังงานและขอความร่วมมือจากผู้นำเข้า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 นั้น ทั้ง 3 สินค้ามีปริมาณการนำเข้าลดลง ตามลำดับ คือ น้ำมันดิบนำเข้าลดลงจาก 0.87 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนกรกฎาคม เป็น 0.74 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือนกันยายน เหล็กมีการนำเข้าลดลงจาก 1.5 ล้านตัน เป็น 0.85 ล้านตัน และทองคำลดลงจาก 16 ตัน เป็น 12.5 ตัน
การนำเข้าในระยะ 9 เดือน (มกราคม — กันยายน) มีมูลค่า 89,249 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.9 เป็นการขยายตัวของการนำเข้าในทุกหมวด ที่สำคัญได้แก่ วัตถุดิบและกิ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน และสินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8, 28.1 และ 18.0 ตามลำดับ
4. แนวโน้มการส่งออกและนำเข้า ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2548 (ตุลาคม — ธันวาคม 2548)
การส่งออกไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 คาดว่าจะสามารถส่งออกมูลค่า 33816 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 30.6 เนื่องจากสินค้าในกลุ่มอาหาร ผลิตภัณฑ์พลาสติก และวัสดุก่อสร้างจะสามารถส่งออกได้สูงกว่าเป้าหมาย และทำให้การส่งออกทั้งปี 2548 บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20.0 คิดเป็นมูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การนำเข้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอความร่วมมือจากผู้นำเข้าสินค้าสำคัญ 6 กลุ่มสินค้า ได้แก่ น้ำมันดิบ เหล็ก ทองคำ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเภสัชเคมีภัณฑ์ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่นำเข้าสินค้าตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (New Mega Projects) เพื่อชะลอการนำเข้า ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าของไทยได้ต่อไป
5. ดุลการค้า
ในเดือนกันยายน ดุลการค้าไทยเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองของปี 2548 จำนวน 820 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้การขาดดุลรวม 9 เดือนของปี 2548 (มกราคม — กันยายน) ขาดดุลลดลงเหลือ 7,408 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่าการส่งออกที่ขยายตัวสูงในไตรมาสที่ 4 จะส่งผลให้การขาดดุลการค้าลดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--