คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมและมติที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ภาพรวมสถานะการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2550
1.1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 - 23 มีนาคม 2550 ส่วนราชการมีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วทั้งสิ้น 646,336 ล้านบาท เท่ากับอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 41.27 ของวงเงินงบประมาณต่ำกว่าร้อยละ 45.43 ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2549
1.2 การเบิกจ่ายงบประมาณต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายเป็นเงิน 143,840 ล้านบาท (ร้อยละ 18.2) โดยรายจ่ายประจำต่ำกว่าแผนการใช้จ่าย 85,061 ล้านบาท (ร้อยละ 13.44) และรายจ่ายลงทุนต่ำกว่าแผนการใช้จ่าย 58,778 ล้านบาท (ร้อยละ 37.34)
1.3 ในส่วนของเม็ดเงินงบประมาณได้มีการเบิกจ่ายสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 เป็นเงิน 28,446 ล้านบาท (ร้อยละ 4.6) แต่เป็นงบประจำที่มีการเบิกจ่ายมากกว่าปีงบประมาณ 2549 เท่ากับ 55,674 ล้านบาท ในขณะที่งบลงทุนมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเท่ากับ 27,228 ล้านบาท
2. มติที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ที่ประชุมได้หารือถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้กระจายลงสู่ภาคธุรกิจและประชาชนได้จริงและส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2550 โดยให้ความสำคัญกับการเบิกจ่ายทั้งงบรายจ่ายประจำและงบลงทุนให้สูงขึ้น ดังนี้
2.1 งบลงทุน ควรเร่งรัดการจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานที่มีงบลงทุนสูง 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งมีงบลงทุนเป็นวงเงินรวม 209,885 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายเพียงร้อยละ 30.89 โดยให้เร่งรัดกระบวน การจัดซื้อจัดจ้างและทำสัญญาผูกพันของงบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550
2.2 งบประจำ หน่วยงานที่มีงบประจำสูง 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวงเงินรวม 278,991 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายร้อยละ 49.09 ซึ่งยังต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายอยู่เล็กน้อย จึงควรให้หน่วยงานดังกล่าวเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณโดยเร็ว โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขให้ถึงผู้รับประโยชน์โดยเร็ว
2.3 งบประมาณโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (โครงการ พพพ.) วงเงิน 5,000 ล้านบาท และโครงการภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด วงเงิน 5,000 ล้านบาท ควรเร่งรัดให้โอนเงินตามกระบวนการที่คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขอนุมัติ ให้ถึงจังหวัดภายในเดือนเมษายน 2550 และให้โอนถึงหมู่บ้านและชุมชนเพื่อเริ่มดำเนินโครงการและกิจกรรมในเดือนพฤษภาคม 2550
2.4 งบพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 อนุมัติและเร่งรัดโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ระยะเร่งด่วนปี 2550 ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้วในวงเงิน 4,500 ล้านบาท ยังไม่มีการเบิกจ่าย ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพานิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เร่งเบิกจ่ายภายในเดือนมิถุนายน 2550
2.5 งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ในช่วง 5 เดือนแรก (ตุลาคม 2549 — กุมภาพันธ์ 2550) รัฐวิสาหกิจได้มีการเบิกจ่ายงบลงทุนรวม 57,188 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.7 ของเป้าหมายห้าเดือนแรก หรือร้อยละ 13.4 ของเป้าหมายรวมทั้งปี* ที่ประชุมมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ สศช. รับไปเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2549 ให้ได้ตามเป้าหมายร้อยละ 90
ทั้งนี้ให้ส่วนราชการหลักตามข้อ 2.1 รวมทั้งส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างเร่งรัดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและทำสัญญาผูกพันของโครงการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 และในกรณีที่ส่วนราชการดังกล่าว คาดว่าจะไม่สามารถเร่งรัดกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างและทำสัญญาผูกพันของโครงการได้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ให้ปรับแผนงานและงบประมาณไปให้กับโครงการที่มีความพร้อมดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแทน โดยหารือกับสำนักงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--
1. ภาพรวมสถานะการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2550
1.1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 - 23 มีนาคม 2550 ส่วนราชการมีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วทั้งสิ้น 646,336 ล้านบาท เท่ากับอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 41.27 ของวงเงินงบประมาณต่ำกว่าร้อยละ 45.43 ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2549
1.2 การเบิกจ่ายงบประมาณต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายเป็นเงิน 143,840 ล้านบาท (ร้อยละ 18.2) โดยรายจ่ายประจำต่ำกว่าแผนการใช้จ่าย 85,061 ล้านบาท (ร้อยละ 13.44) และรายจ่ายลงทุนต่ำกว่าแผนการใช้จ่าย 58,778 ล้านบาท (ร้อยละ 37.34)
1.3 ในส่วนของเม็ดเงินงบประมาณได้มีการเบิกจ่ายสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2549 เป็นเงิน 28,446 ล้านบาท (ร้อยละ 4.6) แต่เป็นงบประจำที่มีการเบิกจ่ายมากกว่าปีงบประมาณ 2549 เท่ากับ 55,674 ล้านบาท ในขณะที่งบลงทุนมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเท่ากับ 27,228 ล้านบาท
2. มติที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ที่ประชุมได้หารือถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้กระจายลงสู่ภาคธุรกิจและประชาชนได้จริงและส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2550 โดยให้ความสำคัญกับการเบิกจ่ายทั้งงบรายจ่ายประจำและงบลงทุนให้สูงขึ้น ดังนี้
2.1 งบลงทุน ควรเร่งรัดการจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานที่มีงบลงทุนสูง 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งมีงบลงทุนเป็นวงเงินรวม 209,885 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายเพียงร้อยละ 30.89 โดยให้เร่งรัดกระบวน การจัดซื้อจัดจ้างและทำสัญญาผูกพันของงบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550
2.2 งบประจำ หน่วยงานที่มีงบประจำสูง 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวงเงินรวม 278,991 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายร้อยละ 49.09 ซึ่งยังต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายอยู่เล็กน้อย จึงควรให้หน่วยงานดังกล่าวเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณโดยเร็ว โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขให้ถึงผู้รับประโยชน์โดยเร็ว
2.3 งบประมาณโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (โครงการ พพพ.) วงเงิน 5,000 ล้านบาท และโครงการภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด วงเงิน 5,000 ล้านบาท ควรเร่งรัดให้โอนเงินตามกระบวนการที่คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขอนุมัติ ให้ถึงจังหวัดภายในเดือนเมษายน 2550 และให้โอนถึงหมู่บ้านและชุมชนเพื่อเริ่มดำเนินโครงการและกิจกรรมในเดือนพฤษภาคม 2550
2.4 งบพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 อนุมัติและเร่งรัดโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ระยะเร่งด่วนปี 2550 ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้วในวงเงิน 4,500 ล้านบาท ยังไม่มีการเบิกจ่าย ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพานิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เร่งเบิกจ่ายภายในเดือนมิถุนายน 2550
2.5 งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ในช่วง 5 เดือนแรก (ตุลาคม 2549 — กุมภาพันธ์ 2550) รัฐวิสาหกิจได้มีการเบิกจ่ายงบลงทุนรวม 57,188 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.7 ของเป้าหมายห้าเดือนแรก หรือร้อยละ 13.4 ของเป้าหมายรวมทั้งปี* ที่ประชุมมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ สศช. รับไปเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2549 ให้ได้ตามเป้าหมายร้อยละ 90
ทั้งนี้ให้ส่วนราชการหลักตามข้อ 2.1 รวมทั้งส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างเร่งรัดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและทำสัญญาผูกพันของโครงการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 และในกรณีที่ส่วนราชการดังกล่าว คาดว่าจะไม่สามารถเร่งรัดกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างและทำสัญญาผูกพันของโครงการได้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ให้ปรับแผนงานและงบประมาณไปให้กับโครงการที่มีความพร้อมดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแทน โดยหารือกับสำนักงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--