คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมเปิดตัวยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดและโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
ตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้มีการเปิดตัวยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดและโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คพพ.) และการสัมมนาผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในวันพุธที่ 21 มีนาคม 2550 ณ โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและโครงการ คพพ. เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขแก่ประชาชนและชุมชนโดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นการลงทุนในสิ่งที่ประชาชน/ชุมชนริเริ่มขึ้น มีกระบวนการเรียนรู้และการดำรงชีพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ยึดหลักคุณธรรม ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และสามารถพึ่งตนเองได้ มีกระบวนการทำงานร่วมกันของภาคีการพัฒนาที่ยึดหลัก 4 ป. ขอให้ใช้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดเป็นร่มใหญ่ของกิจกรรมและโครงการที่ลงสู่ทุกพื้นที่ และเป็นจุดบูรณาการความอยู่ดีมีสุขของประชาชนฐานรากและชุมชนต่อไป
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ให้หลักการสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ขอให้เน้นใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่นำไปสู่การพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนและการสร้างภูมิคุ้มกันให้คน/ชุมชนปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงใช้ความคิดของชาวบ้านเป็นหลัก รัฐเป็นผู้สนับสนุน (2) การบริหารจัดการ คือ การเชื่อมโยงความคิดของชุมชนเข้าสู่กระบวนการทำงาน โดยมีจังหวัดเป็นกลไกในการประสานและสนับสนุนให้เกิดการจัดทำแผนชุมชนที่เชื่อมโยงกับแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ และจังหวัด (3) สอดคล้องกับแผนงานตามกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ใน 5 แผนงาน ส่วน คพพ. จะเสริมต่อการดำเนินงานของชุมชนที่สามารถดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชนได้ผลดี ทั้งนี้ จังหวัดต้องมีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเงินตามสภาพปัญหาของชุมชน ไม่ใช่กระจายเม็ดเงินอย่างเท่าเทียมกันในทุกชุมชน
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ให้แนวทางการบูรณาการสู่ความอยู่ดีมีสุขของชุมชน ซึ่งความสุขประกอบด้วย 1) ความพอเพียง ไม่ยากจน 2) ความน่าอยู่ ปลอดภัย 3) ความเข้มแข็ง มีความรู้ มีสุขภาวะ และ 4) มีคุณธรรม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมีบทบาทเป็นผู้ประสานเชื่อมโยงการบูรณาการทั้งในส่วนขององค์กร คน เงิน และทุนทุกประเภท โดยใช้หลัก 4 ประการ ได้แก่ 1) ยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง 2) ประชาชนมีบทบาทเป็นทั้งผู้ปฏิบัติและผู้ได้รับประโยชน์ ส่วนราชการเป็นฝ่ายเอื้ออำนวย 3) รวมพลังทุกภาคส่วน 4) บูรณาการอย่างเป็นระบบ
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายอารีย์ วงศ์อารยะ) กล่าวถึงบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ จะต้องเข้าใจโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ และจะต้องมีบทบาทเป็นผู้แทนของทุกกระทรวงในการกำกับ ประสานและบูรณาการโครงการให้เป็นไปตามแนวทางอยู่ดีมีสุขและให้แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกันโดยคำนึงถึง 1) ความต้องการของประชาชน 2) การมีส่วนร่วมของประชาชน 3) การสร้างขีดความสามารถให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ สำหรับขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินอยู่ที่จังหวัดขอให้เป็นไปตามระเบียบ รวดเร็ว และโปร่งใสทุกบาท ให้รวบรวมความต้องการที่มาจากกระบวนการเรียนรู้ในการปรับตัวของชุมชน
5. การดำเนินการขั้นต่อไป
1) ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด อำเภอ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในวันที่ 10 เมษายน 2550
2) จังหวัดพิจารณากลั่นกรอง และอนุมัติโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนด และส่งให้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ภายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2550
3) การจัดตั้งงบประมาณปี 2551 กระทรวงมหาดไทยจะเป็นหน่วยงานตั้งคำของบประมาณและการจัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัด จะพิจารณาจากผลงานในปี 2550 จังหวัดใดสามารถเสริมสร้างการปรับตัว กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนไปสู่แผนชุมชนที่เชื่อมโยงกับแผนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น จะเป็นเกณฑ์สำคัญในการจัดสรรงบประมาณปี 2551
4) ให้มีคณะทำงานติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนสำนักงานพัฒนาระบบราชการ รายงานผลต่อคณะกรรมการระดับชาติและคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--
ตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้มีการเปิดตัวยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดและโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คพพ.) และการสัมมนาผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในวันพุธที่ 21 มีนาคม 2550 ณ โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและโครงการ คพพ. เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขแก่ประชาชนและชุมชนโดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นการลงทุนในสิ่งที่ประชาชน/ชุมชนริเริ่มขึ้น มีกระบวนการเรียนรู้และการดำรงชีพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ยึดหลักคุณธรรม ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และสามารถพึ่งตนเองได้ มีกระบวนการทำงานร่วมกันของภาคีการพัฒนาที่ยึดหลัก 4 ป. ขอให้ใช้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดเป็นร่มใหญ่ของกิจกรรมและโครงการที่ลงสู่ทุกพื้นที่ และเป็นจุดบูรณาการความอยู่ดีมีสุขของประชาชนฐานรากและชุมชนต่อไป
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ให้หลักการสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ขอให้เน้นใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่นำไปสู่การพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนและการสร้างภูมิคุ้มกันให้คน/ชุมชนปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงใช้ความคิดของชาวบ้านเป็นหลัก รัฐเป็นผู้สนับสนุน (2) การบริหารจัดการ คือ การเชื่อมโยงความคิดของชุมชนเข้าสู่กระบวนการทำงาน โดยมีจังหวัดเป็นกลไกในการประสานและสนับสนุนให้เกิดการจัดทำแผนชุมชนที่เชื่อมโยงกับแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ และจังหวัด (3) สอดคล้องกับแผนงานตามกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ใน 5 แผนงาน ส่วน คพพ. จะเสริมต่อการดำเนินงานของชุมชนที่สามารถดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชนได้ผลดี ทั้งนี้ จังหวัดต้องมีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเงินตามสภาพปัญหาของชุมชน ไม่ใช่กระจายเม็ดเงินอย่างเท่าเทียมกันในทุกชุมชน
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ให้แนวทางการบูรณาการสู่ความอยู่ดีมีสุขของชุมชน ซึ่งความสุขประกอบด้วย 1) ความพอเพียง ไม่ยากจน 2) ความน่าอยู่ ปลอดภัย 3) ความเข้มแข็ง มีความรู้ มีสุขภาวะ และ 4) มีคุณธรรม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมีบทบาทเป็นผู้ประสานเชื่อมโยงการบูรณาการทั้งในส่วนขององค์กร คน เงิน และทุนทุกประเภท โดยใช้หลัก 4 ประการ ได้แก่ 1) ยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง 2) ประชาชนมีบทบาทเป็นทั้งผู้ปฏิบัติและผู้ได้รับประโยชน์ ส่วนราชการเป็นฝ่ายเอื้ออำนวย 3) รวมพลังทุกภาคส่วน 4) บูรณาการอย่างเป็นระบบ
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายอารีย์ วงศ์อารยะ) กล่าวถึงบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ จะต้องเข้าใจโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ และจะต้องมีบทบาทเป็นผู้แทนของทุกกระทรวงในการกำกับ ประสานและบูรณาการโครงการให้เป็นไปตามแนวทางอยู่ดีมีสุขและให้แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกันโดยคำนึงถึง 1) ความต้องการของประชาชน 2) การมีส่วนร่วมของประชาชน 3) การสร้างขีดความสามารถให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ สำหรับขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินอยู่ที่จังหวัดขอให้เป็นไปตามระเบียบ รวดเร็ว และโปร่งใสทุกบาท ให้รวบรวมความต้องการที่มาจากกระบวนการเรียนรู้ในการปรับตัวของชุมชน
5. การดำเนินการขั้นต่อไป
1) ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด อำเภอ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในวันที่ 10 เมษายน 2550
2) จังหวัดพิจารณากลั่นกรอง และอนุมัติโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนด และส่งให้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ภายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2550
3) การจัดตั้งงบประมาณปี 2551 กระทรวงมหาดไทยจะเป็นหน่วยงานตั้งคำของบประมาณและการจัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัด จะพิจารณาจากผลงานในปี 2550 จังหวัดใดสามารถเสริมสร้างการปรับตัว กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนไปสู่แผนชุมชนที่เชื่อมโยงกับแผนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น จะเป็นเกณฑ์สำคัญในการจัดสรรงบประมาณปี 2551
4) ให้มีคณะทำงานติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนสำนักงานพัฒนาระบบราชการ รายงานผลต่อคณะกรรมการระดับชาติและคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--