แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ร่างพระราชบัญญัติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ฯ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้นำไปรวมกับร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูง พ.ศ. .... เป็นฉบับเดียวกัน โดยให้ตัดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ออก และรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 1 และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วเป็นกรณีเร่งด่วนด้วย แล้วส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. มอบสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องฯ คณะที่ 1 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปหารือร่วมกับสำนักงบประมาณ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากการปลูกฝังความคิดแบบวิทยาศาสตร์จะช่วยให้คนไทยมีวิถีการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล และการคิดแบบวิทยาศาสตร์จะช่วยให้สามารถหาวิธีแก้ปัญหาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ขณะที่ประเทศไทยยังขาดกลไกสำคัญที่ส่งเสริมให้คนไทยคิดและทำบนพื้นฐานของตรรกะและเหตุผล ซึ่งการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างและสะสมองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันสมัยจะช่วยให้ประเทศสามารถปรับตัวเตรียมป้องกันผลกระทบทางลบจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถบริหารการจัดการ และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากเกินความจำเป็น ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สมควรให้มีกฎหมายหลักด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศที่แสดงถึงความจำเป็นของภาครัฐที่มีการประกาศเจตจำนงอย่างชัดเจนในการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้นำไปรวมกับร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยชั้นสูง พ.ศ. .... เป็นฉบับเดียวกัน โดยให้ตัดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ออก และรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 1 และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วเป็นกรณีเร่งด่วนด้วย แล้วส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
2. มอบสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องฯ คณะที่ 1 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปหารือร่วมกับสำนักงบประมาณ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากการปลูกฝังความคิดแบบวิทยาศาสตร์จะช่วยให้คนไทยมีวิถีการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล และการคิดแบบวิทยาศาสตร์จะช่วยให้สามารถหาวิธีแก้ปัญหาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ขณะที่ประเทศไทยยังขาดกลไกสำคัญที่ส่งเสริมให้คนไทยคิดและทำบนพื้นฐานของตรรกะและเหตุผล ซึ่งการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างและสะสมองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันสมัยจะช่วยให้ประเทศสามารถปรับตัวเตรียมป้องกันผลกระทบทางลบจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถบริหารการจัดการ และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากเกินความจำเป็น ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สมควรให้มีกฎหมายหลักด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศที่แสดงถึงความจำเป็นของภาครัฐที่มีการประกาศเจตจำนงอย่างชัดเจนในการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--