คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ....ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป สำหรับพระราชบัญญัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นควรส่งคืนภายในกำหนดเวลา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากสภาวิชาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ภาคีสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ 7 สภาวิชาชีพ (แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภากายภาพบำบัด สภาเทคนิคการแพทย์ สัตวแพทยสภา) และเครือข่ายหมออนามัยแห่งชาติและพันธมิตรภาคประชาชน เครือข่ายองค์กรสาธารณสุข และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ในสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ร่างมาตรา 3 ได้แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “วิชาชีพการสาธารณสุข” เป็น “วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน”โดยให้ความหมายของคำนิยามดังกล่าวมีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบกับวิชาชีพในการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ หรือ การประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ ดังนั้น จึงได้แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น “พระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ....” เพื่อให้สอดคล้องกับคำนิยามด้วย
2. กรณีสภาสาธารณสุขชุมชน
2.1 แก้ไขชื่อสภาวิชาชีพจากเดิม “สภาวิชาชีพการสาธารณสุข” เป็น “สภาสาธารณสุขชุมชน” เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขนิยามคำว่า “วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน”
2.2 แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของสภาสาธารณสุขชุมชน โดยให้สภาสาธารณสุขชุมชนมีอำนาจในการควบคุม กำกับ ดูแลและกำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน และควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
2.3 แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของสภาสาธารณสุขชุมชน โดยตัดร่างมาตรา 7 (1) เดิม ออก เนื่องจากเห็นว่าสภาสาธารณสุขชุมชนไม่มีหน้าที่พัฒนาศักยภาพของสมาชิก หรือให้ความรู้กับสมาชิก และร่างมาตรา 7 (4) และ (5)ให้สภาสาธารณสุขชุมชนทำหน้าที่รับรองหลักสูตรต่าง ๆ ในระดับประกาศนียบัตร และหลักสูตรสำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
2.4 เนื่องจากคณะกรรมการสภาสาธารณสุขชุมชนสามารถดำเนินการจัดตั้งสำนักงานสภาสาธารณสุขชุมชนและสำนักงานสาขาได้โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในกฎหมาย จึงตัดร่างมาตรา 10 เดิม ออก
2.5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยให้สภาสาธารณสุขชุมชนประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกสามัญและสมาชิกกิตติมศักดิ์ โดยสมาชิกสามัญมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดในร่างมาตรา 11 และกำหนดการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกไว้ 4 กรณี
3. แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการสภาสาธารณสุขชุมชน
4. ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการซึ่งมาจากสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุขว่างลงก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการดำเนินการให้ผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการเลือกกันเองแทน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง
5. แก้ไขระยะเวลาในการเลือกตั้งสมาชิกสามัญขึ้นเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง จากเดิมสามสิบวัน เป็นเก้าสิบวัน
6. แก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
7. เพิ่มบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนไว้ท้ายพระราชบัญญัติ โดยกำหนดให้อัตราค่าธรรมเนียม เท่ากับอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547
8. ได้แก้ไขเหตุผลให้ตรงตามความมุ่งหมายและกรอบการทำงานของวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน และร่างพระราชบัญญัติให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพอื่น ๆ เช่น พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 และพระราชบัญญัติวิชาชีพการภาพบำบัด พ.ศ. 2547
9. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี สำนักงานฯ ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ดังนี้
9.1 แก้ไขประเภทและจำนวนของสมาชิกสภาสาธารณสุขชุมชน โดยกำหนดให้สภาสาธารณสุขชุมชนประกอบด้วย สมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกสามัญและสมาชิกกิตติมศักดิ์ และได้แก้ไขวุฒิการศึกษาของสมาชิกสามัญ โดยต้องเป็นผู้ได้รับปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงด้านสาธารณสุข ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนจากสถาบันการศึกษาที่สภาสาธารณสุขชุมชนรับรองเท่านั้น
9.2 ตัดที่มาของคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งเป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่มาจาก “เครือข่ายสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง” ออก (มาตรา 14 (1.3) เดิม) โดยกำหนดให้มีกรรมการซึ่งมาจากสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะเท่านั้น
จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากสภาวิชาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ภาคีสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ 7 สภาวิชาชีพ (แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภากายภาพบำบัด สภาเทคนิคการแพทย์ สัตวแพทยสภา) และเครือข่ายหมออนามัยแห่งชาติและพันธมิตรภาคประชาชน เครือข่ายองค์กรสาธารณสุข และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... ในสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ร่างมาตรา 3 ได้แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “วิชาชีพการสาธารณสุข” เป็น “วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน”โดยให้ความหมายของคำนิยามดังกล่าวมีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบกับวิชาชีพในการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ หรือ การประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ ดังนั้น จึงได้แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น “พระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ....” เพื่อให้สอดคล้องกับคำนิยามด้วย
2. กรณีสภาสาธารณสุขชุมชน
2.1 แก้ไขชื่อสภาวิชาชีพจากเดิม “สภาวิชาชีพการสาธารณสุข” เป็น “สภาสาธารณสุขชุมชน” เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขนิยามคำว่า “วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน”
2.2 แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของสภาสาธารณสุขชุมชน โดยให้สภาสาธารณสุขชุมชนมีอำนาจในการควบคุม กำกับ ดูแลและกำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน และควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
2.3 แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของสภาสาธารณสุขชุมชน โดยตัดร่างมาตรา 7 (1) เดิม ออก เนื่องจากเห็นว่าสภาสาธารณสุขชุมชนไม่มีหน้าที่พัฒนาศักยภาพของสมาชิก หรือให้ความรู้กับสมาชิก และร่างมาตรา 7 (4) และ (5)ให้สภาสาธารณสุขชุมชนทำหน้าที่รับรองหลักสูตรต่าง ๆ ในระดับประกาศนียบัตร และหลักสูตรสำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
2.4 เนื่องจากคณะกรรมการสภาสาธารณสุขชุมชนสามารถดำเนินการจัดตั้งสำนักงานสภาสาธารณสุขชุมชนและสำนักงานสาขาได้โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในกฎหมาย จึงตัดร่างมาตรา 10 เดิม ออก
2.5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยให้สภาสาธารณสุขชุมชนประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกสามัญและสมาชิกกิตติมศักดิ์ โดยสมาชิกสามัญมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดในร่างมาตรา 11 และกำหนดการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกไว้ 4 กรณี
3. แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการสภาสาธารณสุขชุมชน
4. ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการซึ่งมาจากสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุขว่างลงก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการดำเนินการให้ผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการเลือกกันเองแทน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง
5. แก้ไขระยะเวลาในการเลือกตั้งสมาชิกสามัญขึ้นเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง จากเดิมสามสิบวัน เป็นเก้าสิบวัน
6. แก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
7. เพิ่มบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนไว้ท้ายพระราชบัญญัติ โดยกำหนดให้อัตราค่าธรรมเนียม เท่ากับอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547
8. ได้แก้ไขเหตุผลให้ตรงตามความมุ่งหมายและกรอบการทำงานของวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน และร่างพระราชบัญญัติให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพอื่น ๆ เช่น พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 และพระราชบัญญัติวิชาชีพการภาพบำบัด พ.ศ. 2547
9. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี สำนักงานฯ ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ดังนี้
9.1 แก้ไขประเภทและจำนวนของสมาชิกสภาสาธารณสุขชุมชน โดยกำหนดให้สภาสาธารณสุขชุมชนประกอบด้วย สมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกสามัญและสมาชิกกิตติมศักดิ์ และได้แก้ไขวุฒิการศึกษาของสมาชิกสามัญ โดยต้องเป็นผู้ได้รับปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงด้านสาธารณสุข ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนจากสถาบันการศึกษาที่สภาสาธารณสุขชุมชนรับรองเท่านั้น
9.2 ตัดที่มาของคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งเป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่มาจาก “เครือข่ายสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง” ออก (มาตรา 14 (1.3) เดิม) โดยกำหนดให้มีกรรมการซึ่งมาจากสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะเท่านั้น
จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--