คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายนและระยะ 6 เดือนแรกของปี 2550 สรุปได้ดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2550
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมิถุนายน 2550 เท่ากับ 117.3 สำหรับเดือนพฤษภาคม 2550 เท่ากับ 117.3
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤษภาคม 2550 โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
2.2 เดือนมิถุนายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.9
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 6 เดือนแรก (ม.ค. — มิ.ย.) ปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 2.2
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2550 โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการชะลอตัวเดือนแรกหลังจากสูงขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูงติดต่อกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.2 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้อัตราค่ากระแสไฟฟ้าจะลดลงตามค่า Ft และน้ำมันเบนซินลดลง 1 ครั้งช่วงต้นเดือนก็ตาม
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงร้อยละ 0.2 (พฤษภาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 1.0) ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาข้าวสารเหนียวร้อยละ 5.4 ไก่สดร้อยละ 3.1 ไข่ไก่ร้อยละ 3.0 ตามปริมาณความต้องการบริโภคที่ยังคงสูงอยู่ นอกจากนี้ดัชนีราคานมและผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการทยอยปรับราคาผลิตภัณฑ์นมตามการอนุมัติให้ขึ้นราคาได้ ส่วนราคาผักสดลดลงร้อยละ 4.8 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคามะนาว ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กระเทียม และพริกแห้ง
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากการบริโภคยังคงชะลอตัวทำให้ราคาสินค้าประเภทของใช้ต่าง ๆ ราคาทรงตัว อย่างไรก็ตามมีการปรับอัตราค่ากระแสไฟฟ้าลดลง 5 สตางค์ ตามค่า Ft ทำให้ดัชนีหมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.2 น้ำมันเบนซินลดลง 1 ครั้ง ในช่วงต้นเดือน แต่มีการสูงขึ้นของดัชนีราคาผลิตภัณฑ์สุราร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ดัชนีหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.3
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนมิถุนายน 2549 ดัชนีราคาสูงขึ้นในอัตราที่เท่ากับเดือนก่อนคือร้อยละ 1.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.3 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 10.8 โดยเฉพาะราคาข้าวสารเหนียวสูงขึ้นร้อยละ 54.6 หมวดผักและผลไม้ร้อยละ 19.8 และเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 3.2 (น้ำมันพืช ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ) ส่วนดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
5. ถ้าพิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ยช่วงระยะ 6 เดือนแรก (ม.ค. — มิ.ย.) ปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 เทียบกับปี 2548 ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 5.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.6 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.6
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายน 2550 เท่ากับ 105.5 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนพฤษภาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
6.2 เดือนมิถุนายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 6 เดือนแรก (ม.ค. — มิ.ย.) ปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.2
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2550
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมิถุนายน 2550 เท่ากับ 117.3 สำหรับเดือนพฤษภาคม 2550 เท่ากับ 117.3
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤษภาคม 2550 โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
2.2 เดือนมิถุนายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.9
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 6 เดือนแรก (ม.ค. — มิ.ย.) ปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 2.2
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2550 โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการชะลอตัวเดือนแรกหลังจากสูงขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูงติดต่อกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.2 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้อัตราค่ากระแสไฟฟ้าจะลดลงตามค่า Ft และน้ำมันเบนซินลดลง 1 ครั้งช่วงต้นเดือนก็ตาม
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงร้อยละ 0.2 (พฤษภาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 1.0) ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาข้าวสารเหนียวร้อยละ 5.4 ไก่สดร้อยละ 3.1 ไข่ไก่ร้อยละ 3.0 ตามปริมาณความต้องการบริโภคที่ยังคงสูงอยู่ นอกจากนี้ดัชนีราคานมและผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการทยอยปรับราคาผลิตภัณฑ์นมตามการอนุมัติให้ขึ้นราคาได้ ส่วนราคาผักสดลดลงร้อยละ 4.8 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคามะนาว ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กระเทียม และพริกแห้ง
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากการบริโภคยังคงชะลอตัวทำให้ราคาสินค้าประเภทของใช้ต่าง ๆ ราคาทรงตัว อย่างไรก็ตามมีการปรับอัตราค่ากระแสไฟฟ้าลดลง 5 สตางค์ ตามค่า Ft ทำให้ดัชนีหมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.2 น้ำมันเบนซินลดลง 1 ครั้ง ในช่วงต้นเดือน แต่มีการสูงขึ้นของดัชนีราคาผลิตภัณฑ์สุราร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ดัชนีหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.3
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนมิถุนายน 2549 ดัชนีราคาสูงขึ้นในอัตราที่เท่ากับเดือนก่อนคือร้อยละ 1.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.3 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 10.8 โดยเฉพาะราคาข้าวสารเหนียวสูงขึ้นร้อยละ 54.6 หมวดผักและผลไม้ร้อยละ 19.8 และเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 3.2 (น้ำมันพืช ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ) ส่วนดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
5. ถ้าพิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ยช่วงระยะ 6 เดือนแรก (ม.ค. — มิ.ย.) ปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 เทียบกับปี 2548 ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 5.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.6 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.6
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายน 2550 เท่ากับ 105.5 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนพฤษภาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
6.2 เดือนมิถุนายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 6 เดือนแรก (ม.ค. — มิ.ย.) ปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.2
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--