เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตในการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวน
หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง
และการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตในการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้า ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองการค้า การนำเคลื่อนที่ และการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวง เพิ่มเติมคำว่า “สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง” และแก้ไขถ้อยคำบันทึกหลักการและเหตุผลให้มีความถูกต้องชัดเจนและสอดคล้องกับเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมข้างต้น รวมทั้งเพิ่มเติมบทเฉพาะกาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอฯ มีสาระสำคัญดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
2. เปลี่ยนแปลงสถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าในกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่วนในท้องที่อื่นให้ยื่นที่สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดที่สัตว์ป่านั้นอยู่ในกรณีที่สัตว์ป่าคุ้มครองนั้นเป็นสัตว์น้ำ ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมง ส่วนในท้องที่อื่นให้ยื่นที่สำนักงานประมงจังหวัดที่สัตว์น้ำนั้นอยู่ (ร่างข้อ 1)
3. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (ร่างข้อ 3)
4. กำหนดให้ใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองใช้แบบ สป.9 ท้ายกฎกระทรวงนี้ (ร่างข้อ 6)
5. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองจะต้องดำเนินการตามโครงการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับอนุญาต (ร่างข้อ 7)
6. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์บก และสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นผู้เพาะพันธุ์รายใหญ่หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งออกเชิงพาณิชย์ต้องจัดให้มีสัตวแพทย์หรือนักวิชาการด้านสัตว์น้ำประจำ ส่วนผู้เพาะพันธุ์รายย่อยให้มีสัตวแพทย์หรือนักวิชาการด้านสัตว์น้ำมาดูแลเป็นครั้งคราว (ร่างข้อ 8)
7. กำหนดข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองต้องดูแลจัดสถานที่เลี้ยงดูสัตว์ให้อยู่ในสภาพอันควร ปลอดภัย และเหมาะสมกับสถานที่ มิให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง และต้องดูแลป้องกันมิให้สัตว์ทำอันตรายแก่ผู้อื่น (ร่างข้อ 9)
8. กำหนดหลักการและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (ร่างข้อ 18- ร่างข้อ 26)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--
หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง
และการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตในการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้า ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองการค้า การนำเคลื่อนที่ และการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวง เพิ่มเติมคำว่า “สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง” และแก้ไขถ้อยคำบันทึกหลักการและเหตุผลให้มีความถูกต้องชัดเจนและสอดคล้องกับเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมข้างต้น รวมทั้งเพิ่มเติมบทเฉพาะกาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอฯ มีสาระสำคัญดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
2. เปลี่ยนแปลงสถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าในกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่วนในท้องที่อื่นให้ยื่นที่สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดที่สัตว์ป่านั้นอยู่ในกรณีที่สัตว์ป่าคุ้มครองนั้นเป็นสัตว์น้ำ ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมง ส่วนในท้องที่อื่นให้ยื่นที่สำนักงานประมงจังหวัดที่สัตว์น้ำนั้นอยู่ (ร่างข้อ 1)
3. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (ร่างข้อ 3)
4. กำหนดให้ใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองใช้แบบ สป.9 ท้ายกฎกระทรวงนี้ (ร่างข้อ 6)
5. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองจะต้องดำเนินการตามโครงการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับอนุญาต (ร่างข้อ 7)
6. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์บก และสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นผู้เพาะพันธุ์รายใหญ่หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งออกเชิงพาณิชย์ต้องจัดให้มีสัตวแพทย์หรือนักวิชาการด้านสัตว์น้ำประจำ ส่วนผู้เพาะพันธุ์รายย่อยให้มีสัตวแพทย์หรือนักวิชาการด้านสัตว์น้ำมาดูแลเป็นครั้งคราว (ร่างข้อ 8)
7. กำหนดข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองต้องดูแลจัดสถานที่เลี้ยงดูสัตว์ให้อยู่ในสภาพอันควร ปลอดภัย และเหมาะสมกับสถานที่ มิให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง และต้องดูแลป้องกันมิให้สัตว์ทำอันตรายแก่ผู้อื่น (ร่างข้อ 9)
8. กำหนดหลักการและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (ร่างข้อ 18- ร่างข้อ 26)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--