คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ จำนวน 1 เส้นทาง คือ สายช่องนนทรี — สะพานกรุงเทพ ระยะทางประมาณ 16.50 กิโลเมตร เพื่อรับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกต่อไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
กระทรวงมหาดไทยเสนอตามรายงานของกรุงเทพมหานครว่า กรุงเทพมหานครมีโครงการที่จะเดินรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BUSRAPID TRANSIT) หรือ BRT ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานคร ในการดำเนินการโครงการนี้เป็นแนวคิดใหม่ของระบบรถโดยสารประจำทางที่สามารถขนส่งผู้โดยสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย สามารถแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเขตกรุงเทพมหานคร ได้โดยมีลักษณะดังนี้
1. เป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษที่ผสมผสานข้อดีของระบบรถไฟฟ้า และข้อได้เปรียบของระบบการขนส่งทางถนน
2. มีทางวิ่งเป็นช่องทางพิเศษเฉพาะรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ มีแนวกั้นชัดเจน และเป็นช่องทางขวาสุดของถนน รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษสามารถวิ่งผ่านทางแยกต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องรอสัญญาณไฟเนื่องจากมีระบบสัญญาณไฟพิเศษ
3. มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร ผู้โดยสารสามารถเข้าสู่สถานีได้ โดยสะดวกจากทั้งสองฟากถนน ลักษณะคล้ายกับสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสารของระบบไฟฟ้าใช้ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ มีป้ายบอกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบการโดยสาร
4. รถโดยสารเป็นรถยนต์ระบบทันสมัยปรับอากาศมี 3 ประตูทางด้านขวา ไม่ก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
5.ใช้งบประมาณในการก่อสร้างและการบริหารจัดการน้อยกว่าระบบรถไฟฟ้าและระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มกราคม 2550--จบ--
กระทรวงมหาดไทยเสนอตามรายงานของกรุงเทพมหานครว่า กรุงเทพมหานครมีโครงการที่จะเดินรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BUSRAPID TRANSIT) หรือ BRT ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานคร ในการดำเนินการโครงการนี้เป็นแนวคิดใหม่ของระบบรถโดยสารประจำทางที่สามารถขนส่งผู้โดยสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย สามารถแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเขตกรุงเทพมหานคร ได้โดยมีลักษณะดังนี้
1. เป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษที่ผสมผสานข้อดีของระบบรถไฟฟ้า และข้อได้เปรียบของระบบการขนส่งทางถนน
2. มีทางวิ่งเป็นช่องทางพิเศษเฉพาะรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ มีแนวกั้นชัดเจน และเป็นช่องทางขวาสุดของถนน รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษสามารถวิ่งผ่านทางแยกต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องรอสัญญาณไฟเนื่องจากมีระบบสัญญาณไฟพิเศษ
3. มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร ผู้โดยสารสามารถเข้าสู่สถานีได้ โดยสะดวกจากทั้งสองฟากถนน ลักษณะคล้ายกับสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสารของระบบไฟฟ้าใช้ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ มีป้ายบอกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบการโดยสาร
4. รถโดยสารเป็นรถยนต์ระบบทันสมัยปรับอากาศมี 3 ประตูทางด้านขวา ไม่ก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
5.ใช้งบประมาณในการก่อสร้างและการบริหารจัดการน้อยกว่าระบบรถไฟฟ้าและระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มกราคม 2550--จบ--