คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2549 (1 ตุลาคม 2548 — 30 กันยายน 2549) สรุปได้ดังนี้
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2549 ณ เดือนกันยายน 2549 พบว่า ประชาชนคนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61.04 ล้านคนความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 97.82 ของประชากรทั้งประเทศ (62.39 ล้านคน) มีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.96 จากผลงานในปี 2548 จำนวนประชากรที่มีสิทธิว่าง 1.36 ล้านคน ลดลงจากปี 2548 ถึงร้อยละ 42.41
ประชากรลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.54 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 0.42 เป็นสิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 22.57 ล้านคน และสิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียม จำนวน 24.94 ล้านคน หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีจำนวนทั้งสิ้น 1,155 แห่ง เป็นกลุ่มโรงพยาบาล 959 แห่ง (ร้อยละ 83.03) และคลินิก 196 แห่ง (ร้อยละ 16.97)
การใช้บริการทางการแพทย์เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบมีการใช้บริการผู้ป่วยนอกจำนวน 110.88 ล้านครั้ง (34.89 ล้านคน) อัตราการใช้บริการ (ต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 2.33 ครั้ง/คน/ปี ส่วนผู้ป่วยในมีจำนวน 4.32 ล้านคน อัตราการนอนโรงพยาบาล (ต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 0.091 ครั้ง/คน/ปี
จำนวนหน่วยบริการที่มีการพัฒนาและรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA และมาตรฐาน ISO เพิ่มขึ้นเป็น 878 แห่ง (ร้อยละ 91.36) ของหน่วยบริการทั้งสิ้น 961 แห่ง การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการบริการสาธารณสุข (Health Practice Guidelines : HPG) ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 10 สภาวะโรค (ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ใหญ่ โรคหอบหืด ภาวะสมองเสื่อมในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ โรคเบาหวาน โรคลมชัก ภาวะโลหิตจาง ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก โรคต้อกระจก โรคหัวใจขาดเลือด และการดูแลผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่) ส่วนแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผ่านการพิจารณารับรองจากองค์กรวิชาชีพแล้ว จำนวน 10 เรื่อง (ได้แก่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ และมะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็ก)
ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประชาชนและบุคลากรในหน่วยบริหารปี 2549 พบว่า จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจ 8.08 คะแนน (ร้อยละ 80.2) เพิ่มขึ้นจากปี 2548 เท่ากับ 0.25 คะแนน ส่วนความพึงพอใจของผู้ให้บริการ 6.28 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 เท่ากับ 0.14 คะแนน
สปสช. ได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้บริการข้อมูลสิทธิประโยชน์แนะนำการใช้บริการ รับเรื่องร้องเรียน การแก้ปัญหาและคุ้มครองสิทธิของผู้รับบริการและหน่วยบริการให้มีมาตรฐาน จากผลการดำเนินงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง ภายใน 7 วันทำการ เรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการภายใน 30 วันทำการ ร้อยละ 83.06 และเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 89.95 ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ได้ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 97.35 ด้านศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย ดำเนินการประสานหาเตียงได้ จำนวน 1,784 ราย (ร้อยละ 73.63) นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการประสานงานส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจที่คอยคิวนานจากสถาบัน / โรงพยาบาลต่าง ๆ จำนวน 1,105 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.37
ปีงบประมาณ 2549 ได้พิจารณาให้การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 371 ราย จ่ายเงินช่วยเหลือเป็นเงิน 36.65 ล้านบาท และจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 50 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 350,000 บาท
ผู้รับบริการและผู้ให้บริการในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจทั้งทำให้เกิดยอมรับและมั่นใจในระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทยผ่านสื่อที่ผลิตและเผยแพร่เป็นประจำและต่อเนื่อง เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ ด้านการสื่อสารเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น Website : www.nhso.go.th ,Call Center สายด่วนบัตรทองโทร. 1330 เป็นต้น จากการดำเนินงานปรากฏผลทำให้ประชาชนมีการรับรู้เกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพมากขึ้น เช่น การรับรู้สิทธิประโยชน์เรื่องการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดตามวัย (ร้อยละ 91.80) การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ (ร้อยละ 87.90) เป็นต้น
สปสช. ได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนองค์กร 3 กลุ่ม ได้แก่ เครือข่ายองค์กรประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรวิชาชีพ เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้มีองค์การบริหารส่วนตำบลเข้าร่วมดำเนินงาน จำนวนทั้งสิ้น 896 แห่ง จากเป้าหมายการดำเนินงานที่กำหนดไว้จำนวน 100 แห่ง
สปสช. ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการผู้ป่วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงและโรคเรื้อรังต่าง ๆ ให้ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ ต่อเนื่อง ทั่วถึง และเป็นธรรมากยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้น 8 โรค อาทิ เช่น โรคเอดส์และผู้ติดเชื้อที่ต้องได้รับยาต้านไวรัส ร้อยละ 90.44 (ลงทะเบียนมากที่สุดเมื่อเทียบกับเป้าหมายของจำนวนผู้มีสิทธิ์) รองลงมาคือ โรคลมชักฯ ร้อยละ 68.00 และโรคหัวใจที่ต้องได้รับการผ่าตัด ร้อยละ 67.05 ตามลำดับ
ในปีงบประมาณ 2549 รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการให้กับกองทุนฯ ในอัตราเหมาจ่าย 1,659.20 บาทต่อประชากร สำหรับประชากรผู้มีสิทธิ จำนวน 47.75 ล้านคน รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 79,226.80 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินเดือนบุคลากรภาครัฐ 27,594.37 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจำนวน 51,632.43 ล้านบาท และจัดสรรงบประมาณเพิ่มพิเศษเป็นงบกองทุนเอดส์อีกจำนวน 2,796.20 ล้านบาท รวมเป็นงบทั้งหมดจำนวน 54,428.63 ล้านบาท
ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ ความสำเร็จของการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปีงบประมาณ 2549 เช่น การคุ้มครองสิทธิ (ผู้รับบริการยังไม่ทราบ หรือไม่แน่ใจเรื่องสิทธิประโยชน์ กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติบางด้าน เช่น การใช้สิทธิกรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ฉุกเฉิน เป็นต้น) หรือหน่วยบริการไม่ปฏิบัติหรือให้บริการตามนโยบายที่ สปสช. กำหนด หรือความไม่พอเพียงของงบประมาณในการบริหารจัดการ ในการจัดตั้งสำนักสาขาเขต สำหรับการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับพื้นที่ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการพัฒนาระบบและกลไกต่าง ๆ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2549 ณ เดือนกันยายน 2549 พบว่า ประชาชนคนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61.04 ล้านคนความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 97.82 ของประชากรทั้งประเทศ (62.39 ล้านคน) มีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.96 จากผลงานในปี 2548 จำนวนประชากรที่มีสิทธิว่าง 1.36 ล้านคน ลดลงจากปี 2548 ถึงร้อยละ 42.41
ประชากรลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.54 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 0.42 เป็นสิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 22.57 ล้านคน และสิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียม จำนวน 24.94 ล้านคน หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีจำนวนทั้งสิ้น 1,155 แห่ง เป็นกลุ่มโรงพยาบาล 959 แห่ง (ร้อยละ 83.03) และคลินิก 196 แห่ง (ร้อยละ 16.97)
การใช้บริการทางการแพทย์เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบมีการใช้บริการผู้ป่วยนอกจำนวน 110.88 ล้านครั้ง (34.89 ล้านคน) อัตราการใช้บริการ (ต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 2.33 ครั้ง/คน/ปี ส่วนผู้ป่วยในมีจำนวน 4.32 ล้านคน อัตราการนอนโรงพยาบาล (ต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 0.091 ครั้ง/คน/ปี
จำนวนหน่วยบริการที่มีการพัฒนาและรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA และมาตรฐาน ISO เพิ่มขึ้นเป็น 878 แห่ง (ร้อยละ 91.36) ของหน่วยบริการทั้งสิ้น 961 แห่ง การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการบริการสาธารณสุข (Health Practice Guidelines : HPG) ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 10 สภาวะโรค (ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ใหญ่ โรคหอบหืด ภาวะสมองเสื่อมในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ โรคเบาหวาน โรคลมชัก ภาวะโลหิตจาง ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก โรคต้อกระจก โรคหัวใจขาดเลือด และการดูแลผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่) ส่วนแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผ่านการพิจารณารับรองจากองค์กรวิชาชีพแล้ว จำนวน 10 เรื่อง (ได้แก่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ และมะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็ก)
ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประชาชนและบุคลากรในหน่วยบริหารปี 2549 พบว่า จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจ 8.08 คะแนน (ร้อยละ 80.2) เพิ่มขึ้นจากปี 2548 เท่ากับ 0.25 คะแนน ส่วนความพึงพอใจของผู้ให้บริการ 6.28 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 เท่ากับ 0.14 คะแนน
สปสช. ได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้บริการข้อมูลสิทธิประโยชน์แนะนำการใช้บริการ รับเรื่องร้องเรียน การแก้ปัญหาและคุ้มครองสิทธิของผู้รับบริการและหน่วยบริการให้มีมาตรฐาน จากผลการดำเนินงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง ภายใน 7 วันทำการ เรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการภายใน 30 วันทำการ ร้อยละ 83.06 และเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 89.95 ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ได้ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 97.35 ด้านศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย ดำเนินการประสานหาเตียงได้ จำนวน 1,784 ราย (ร้อยละ 73.63) นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการประสานงานส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจที่คอยคิวนานจากสถาบัน / โรงพยาบาลต่าง ๆ จำนวน 1,105 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.37
ปีงบประมาณ 2549 ได้พิจารณาให้การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 371 ราย จ่ายเงินช่วยเหลือเป็นเงิน 36.65 ล้านบาท และจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 50 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 350,000 บาท
ผู้รับบริการและผู้ให้บริการในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจทั้งทำให้เกิดยอมรับและมั่นใจในระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทยผ่านสื่อที่ผลิตและเผยแพร่เป็นประจำและต่อเนื่อง เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ ด้านการสื่อสารเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น Website : www.nhso.go.th ,Call Center สายด่วนบัตรทองโทร. 1330 เป็นต้น จากการดำเนินงานปรากฏผลทำให้ประชาชนมีการรับรู้เกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพมากขึ้น เช่น การรับรู้สิทธิประโยชน์เรื่องการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดตามวัย (ร้อยละ 91.80) การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ (ร้อยละ 87.90) เป็นต้น
สปสช. ได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนองค์กร 3 กลุ่ม ได้แก่ เครือข่ายองค์กรประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรวิชาชีพ เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้มีองค์การบริหารส่วนตำบลเข้าร่วมดำเนินงาน จำนวนทั้งสิ้น 896 แห่ง จากเป้าหมายการดำเนินงานที่กำหนดไว้จำนวน 100 แห่ง
สปสช. ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการผู้ป่วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงและโรคเรื้อรังต่าง ๆ ให้ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ ต่อเนื่อง ทั่วถึง และเป็นธรรมากยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้น 8 โรค อาทิ เช่น โรคเอดส์และผู้ติดเชื้อที่ต้องได้รับยาต้านไวรัส ร้อยละ 90.44 (ลงทะเบียนมากที่สุดเมื่อเทียบกับเป้าหมายของจำนวนผู้มีสิทธิ์) รองลงมาคือ โรคลมชักฯ ร้อยละ 68.00 และโรคหัวใจที่ต้องได้รับการผ่าตัด ร้อยละ 67.05 ตามลำดับ
ในปีงบประมาณ 2549 รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการให้กับกองทุนฯ ในอัตราเหมาจ่าย 1,659.20 บาทต่อประชากร สำหรับประชากรผู้มีสิทธิ จำนวน 47.75 ล้านคน รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 79,226.80 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินเดือนบุคลากรภาครัฐ 27,594.37 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจำนวน 51,632.43 ล้านบาท และจัดสรรงบประมาณเพิ่มพิเศษเป็นงบกองทุนเอดส์อีกจำนวน 2,796.20 ล้านบาท รวมเป็นงบทั้งหมดจำนวน 54,428.63 ล้านบาท
ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ ความสำเร็จของการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปีงบประมาณ 2549 เช่น การคุ้มครองสิทธิ (ผู้รับบริการยังไม่ทราบ หรือไม่แน่ใจเรื่องสิทธิประโยชน์ กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติบางด้าน เช่น การใช้สิทธิกรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ฉุกเฉิน เป็นต้น) หรือหน่วยบริการไม่ปฏิบัติหรือให้บริการตามนโยบายที่ สปสช. กำหนด หรือความไม่พอเพียงของงบประมาณในการบริหารจัดการ ในการจัดตั้งสำนักสาขาเขต สำหรับการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับพื้นที่ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการพัฒนาระบบและกลไกต่าง ๆ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--