คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนกรณีสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ระดมกำลังพนักงานดับไฟป่าจากพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาการเกิดไฟป่าน้อยไปสนับสนุนการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าในพื้นที่ที่มีปัญหาการเกิดไฟป่ามากกว่าโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด และจัดทำประกาศแจ้งเตือนประชาชนให้งดเว้น การใช้ไฟในการทำกิจกรรมในพื้นที่ป่าโดยเด็ดขาด รวมทั้งลดปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดไฟป่า
2. ให้กองทัพภาคที่ 3 ดำเนินการสนธิกำลังในการดำเนินการลาดตระเวนป้องปราม และเข้าดำเนินการ ดับไฟในพื้นที่นอกเขตป่าอนุรักษ์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลัก เนื่องจากอยู่ในช่วงการถ่ายโอนอำนาจเพื่อให้องค์การปกครองท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ
3. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการควบคุมการเผาในที่พื้นที่เกษตรกรรมอย่างเข้มงวด และส่งเสริมให้เกษตรใช้ประโยชน์จากเศษสิ่งเหลือทางการเกษตรทดแทนการจุดไฟเผา
4. ให้กระทรวงคมนาคมกำชับหน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางหลวงทุกสายห้ามมิให้กำจัดวัชพืชโดยวิธีจุดไฟเผา และตั้งทีมเฉพาะกิจในการระงับไฟในเขตทางหลวงที่รับผิดชอบ
5. ให้กระทรวงสาธารณสุขโดยสาธารณสุขจังหวัดจัดเตรียมคลินิกพิเศษ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษหมอกควัน
6. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในท้องที่ภาคเหนือทั้ง 17 จังหวัด เป็นผู้มีอำนาจในสั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการกำกับดูแล การบังคับใช้กฎหมาย ดังนี้
- ดำเนินการตามประกาศเขตควบคุมไฟป่าอย่างเคร่งครัด
- เร่งรัดประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชนในการงดการจุดไฟเผาป่า ระมัดระวังการใช้ไฟในพื้นที่ป่า ทำแนวกันไฟและควบคุมการเผาเศษวัสดุเพื่อป้องกันมิให้ไฟลุกลามเข้าป่า
- ให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุร้องเรียนด้านการเผาในที่โล่ง โดยมีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ระดับอำเภอ ตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาร้องเรียนและดำเนินการติดตามการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
- พิจารณาใช้งบฉุกเฉินเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควัน หากมีความจำเป็นให้จังหวัดพิจารณาขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทุนสิ่งแวดล้อม
7. หากการดำเนินมาตรการดังที่ได้กล่าวมาแล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ อาจใช้อำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนอันเนื่องจากภัยธรรมชาติหรือภาวะมลพิษ เพื่อให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการกำหนดมาตรการป้องกันและจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ทั้งนี้ให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ติดตามประเมินสถานการณ์ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการประกาศเหตุฉุกเฉินตามมาตรา 9 ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า สืบเนื่องจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนืออย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2550 โดยใช้สถานีติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในจังหวัดเชียงใหม่ 2 สถานี และจังหวัดลำปาง 4 สถานี พบว่าในพื้นที่ภาคเหนือมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์มลพิษหมอกควันเพิ่มสูงขึ้น โดยตรวจพบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน (มาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา ดังนี้
1. จังหวัดเชียงใหม่ ตรวจพบปริมาณฝุ่นขนาดเล็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา สถานีโรงเรียนยุพราช ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด มีค่าเท่ากับ 231 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 6 มีนาคม 2550 และสถานีศูนย์ราชการรวม ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด มีค่า 240 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 5 มีนาคม 2550 (ข้อมูลถึงวันที่ 12 มีนาคม 2550)
2. จังหวัดลำปาง ตรวจพบปริมาณฝุ่นขนาดเล็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 ตรวจพบค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ณ สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีค่าเท่ากับ 255 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 4 มีนาคม 2550 (ข้อมูลถึงวันที่ 12 มีนาคม 2550)
3. สถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2550 พบว่าในหลายจังหวัดมีความรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา พบควันไฟปกคลุมตลอดทั้งวันในพื้นที่หลายจังหวัด ทัศนวิสัยไม่เกิน 1 กิโลเมตร ซึ่งควันไฟที่เกิดจากไฟป่า มีสาเหตุหลักมาจากการเก็บหาของป่าคิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมาได้แก่ การล่าสัตว์และการเผาไร่ คิดเป็นร้อยละ 17 และ 14 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังเกิดจากการเผาในที่ดินเพื่อทำการเกษตร การบุกรุกเผาป่าเพื่อทำพื้นที่การเกษตร การทำไร่หมุนเวียนของชาวเขา การเผาเศษกิ่งไม้ใบหญ้าในบ้านเรือน การเผาตอซังและเศษวัชพืชในสวนผลไม้ จากสถิติจำนวนไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 — 11 มีนาคม 2550 เกิดไฟป่าจำนวน 2,859 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 28,834 ไร่
4. จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมตรวจพบจุดความร้อน (Hotspot) แสดงตำแหน่งการเกิดไฟจำนวนมากในพื้นที่ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา โดยพบแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวน Hotspot ในภูมิภาคอินโดจีนและประเทศพม่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 และพบการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนกุมภาพันธ์ถึงปัจจุบัน โดยพบค่าสูงสุดในประเทศพม่าจำนวน 1,282 จุด ในวันที่ 8 มีนาคม 2550 และในภูมิภาคอินโดจีนที่ 1,023 จุด ในวันที่ 9 มีนาคม 2550 ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวมวลอากาศเย็นเริ่มปกคลุมพื้นที่ภาคเหนืออีกครั้ง สภาพอากาศนิ่งฝุ่นละอองสามารถแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้นาน ไม่สามารถแพร่กระจายออกไปได้และไม่ตกสู่พื้นก่อให้เกิดสภาพฟ้าหลัว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
5. แนวโน้มสถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือปี 2550 มีความรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา และอาจมีความรุนแรงขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม — มิถุนายน 2550 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและการสะสมเชื้อเพลิงในพื้นที่ที่มีจำนวนมากขึ้น รวมทั้งข้อมูลจากอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าปี 2550 ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ่ ก่อให้เกิดสภาพความแห้งแล้งในประเทศไทยยาวนานจนถึงเดือนมิถุนายน 2550
6. ผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ หรือดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ที่เกิน 100 จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ อาจทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น มีอาการระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หรือมีการสะสมของฝุ่นในถุงลมปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมลง โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หืดหอบ หรือภูมิแพ้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--
1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ระดมกำลังพนักงานดับไฟป่าจากพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาการเกิดไฟป่าน้อยไปสนับสนุนการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าในพื้นที่ที่มีปัญหาการเกิดไฟป่ามากกว่าโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด และจัดทำประกาศแจ้งเตือนประชาชนให้งดเว้น การใช้ไฟในการทำกิจกรรมในพื้นที่ป่าโดยเด็ดขาด รวมทั้งลดปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดไฟป่า
2. ให้กองทัพภาคที่ 3 ดำเนินการสนธิกำลังในการดำเนินการลาดตระเวนป้องปราม และเข้าดำเนินการ ดับไฟในพื้นที่นอกเขตป่าอนุรักษ์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลัก เนื่องจากอยู่ในช่วงการถ่ายโอนอำนาจเพื่อให้องค์การปกครองท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ
3. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการควบคุมการเผาในที่พื้นที่เกษตรกรรมอย่างเข้มงวด และส่งเสริมให้เกษตรใช้ประโยชน์จากเศษสิ่งเหลือทางการเกษตรทดแทนการจุดไฟเผา
4. ให้กระทรวงคมนาคมกำชับหน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางหลวงทุกสายห้ามมิให้กำจัดวัชพืชโดยวิธีจุดไฟเผา และตั้งทีมเฉพาะกิจในการระงับไฟในเขตทางหลวงที่รับผิดชอบ
5. ให้กระทรวงสาธารณสุขโดยสาธารณสุขจังหวัดจัดเตรียมคลินิกพิเศษ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษหมอกควัน
6. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในท้องที่ภาคเหนือทั้ง 17 จังหวัด เป็นผู้มีอำนาจในสั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการกำกับดูแล การบังคับใช้กฎหมาย ดังนี้
- ดำเนินการตามประกาศเขตควบคุมไฟป่าอย่างเคร่งครัด
- เร่งรัดประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชนในการงดการจุดไฟเผาป่า ระมัดระวังการใช้ไฟในพื้นที่ป่า ทำแนวกันไฟและควบคุมการเผาเศษวัสดุเพื่อป้องกันมิให้ไฟลุกลามเข้าป่า
- ให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุร้องเรียนด้านการเผาในที่โล่ง โดยมีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ระดับอำเภอ ตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาร้องเรียนและดำเนินการติดตามการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
- พิจารณาใช้งบฉุกเฉินเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควัน หากมีความจำเป็นให้จังหวัดพิจารณาขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทุนสิ่งแวดล้อม
7. หากการดำเนินมาตรการดังที่ได้กล่าวมาแล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ อาจใช้อำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนอันเนื่องจากภัยธรรมชาติหรือภาวะมลพิษ เพื่อให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการกำหนดมาตรการป้องกันและจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ทั้งนี้ให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ติดตามประเมินสถานการณ์ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการประกาศเหตุฉุกเฉินตามมาตรา 9 ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า สืบเนื่องจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนืออย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2550 โดยใช้สถานีติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในจังหวัดเชียงใหม่ 2 สถานี และจังหวัดลำปาง 4 สถานี พบว่าในพื้นที่ภาคเหนือมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์มลพิษหมอกควันเพิ่มสูงขึ้น โดยตรวจพบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน (มาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา ดังนี้
1. จังหวัดเชียงใหม่ ตรวจพบปริมาณฝุ่นขนาดเล็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา สถานีโรงเรียนยุพราช ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด มีค่าเท่ากับ 231 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 6 มีนาคม 2550 และสถานีศูนย์ราชการรวม ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด มีค่า 240 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 5 มีนาคม 2550 (ข้อมูลถึงวันที่ 12 มีนาคม 2550)
2. จังหวัดลำปาง ตรวจพบปริมาณฝุ่นขนาดเล็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 ตรวจพบค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ณ สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีค่าเท่ากับ 255 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 4 มีนาคม 2550 (ข้อมูลถึงวันที่ 12 มีนาคม 2550)
3. สถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2550 พบว่าในหลายจังหวัดมีความรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา พบควันไฟปกคลุมตลอดทั้งวันในพื้นที่หลายจังหวัด ทัศนวิสัยไม่เกิน 1 กิโลเมตร ซึ่งควันไฟที่เกิดจากไฟป่า มีสาเหตุหลักมาจากการเก็บหาของป่าคิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมาได้แก่ การล่าสัตว์และการเผาไร่ คิดเป็นร้อยละ 17 และ 14 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังเกิดจากการเผาในที่ดินเพื่อทำการเกษตร การบุกรุกเผาป่าเพื่อทำพื้นที่การเกษตร การทำไร่หมุนเวียนของชาวเขา การเผาเศษกิ่งไม้ใบหญ้าในบ้านเรือน การเผาตอซังและเศษวัชพืชในสวนผลไม้ จากสถิติจำนวนไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 — 11 มีนาคม 2550 เกิดไฟป่าจำนวน 2,859 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 28,834 ไร่
4. จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมตรวจพบจุดความร้อน (Hotspot) แสดงตำแหน่งการเกิดไฟจำนวนมากในพื้นที่ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา โดยพบแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวน Hotspot ในภูมิภาคอินโดจีนและประเทศพม่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 และพบการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนกุมภาพันธ์ถึงปัจจุบัน โดยพบค่าสูงสุดในประเทศพม่าจำนวน 1,282 จุด ในวันที่ 8 มีนาคม 2550 และในภูมิภาคอินโดจีนที่ 1,023 จุด ในวันที่ 9 มีนาคม 2550 ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวมวลอากาศเย็นเริ่มปกคลุมพื้นที่ภาคเหนืออีกครั้ง สภาพอากาศนิ่งฝุ่นละอองสามารถแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้นาน ไม่สามารถแพร่กระจายออกไปได้และไม่ตกสู่พื้นก่อให้เกิดสภาพฟ้าหลัว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
5. แนวโน้มสถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือปี 2550 มีความรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา และอาจมีความรุนแรงขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม — มิถุนายน 2550 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและการสะสมเชื้อเพลิงในพื้นที่ที่มีจำนวนมากขึ้น รวมทั้งข้อมูลจากอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าปี 2550 ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ่ ก่อให้เกิดสภาพความแห้งแล้งในประเทศไทยยาวนานจนถึงเดือนมิถุนายน 2550
6. ผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ หรือดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ที่เกิน 100 จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ อาจทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น มีอาการระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หรือมีการสะสมของฝุ่นในถุงลมปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมลง โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หืดหอบ หรือภูมิแพ้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--