คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการกำหนดกิจการ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติการกำหนดกิจการ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
2. กำหนดให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่าสินทรัพย์เกินกว่าสองพันล้านบาทให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการที่มิให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือ กิจการซึ่งโดยสภาพของกิจการหรือการลงทุนทำให้ไม่มีการแข่งขันในตลาด และกิจการเกี่ยวกับการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีผลเสียต่อสุขภาพอนามัย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งนี้ จะดำเนินการแปรรูปทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ และจะแปรรูปเป็นบริษัทเดียวหรือหลายบริษัทก็ได้
3. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจต้องไม่มีผลเป็นการโอนอำนาจในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรืออำนาจในการอนุมัติ อนุญาต ให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน รับแจ้ง รับรอง หรืออำนาจมหาชนอื่นใด รวมทั้งสิทธิพิเศษที่รัฐวิสาหกิจนั้นมีอยู่ในกิจการที่แปรรูป ไปให้แก่บริษัทที่จัดตั้งขึ้นจากการแปลงสภาพโดยสิทธิพิเศษหมายความรวมถึงการได้รับยกเว้นมิให้ต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า หรือกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร
4. ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจจัดตั้งบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นใดเพื่อประกอบกิจการใด ๆ การจัดตั้งบริษัทหรือนิติบุคคลนั้นต้องไม่เป็นการประกอบกิจการซึ่งโดยสภาพของกิจการหรือการลงทุน ทำให้ไม่มีการแข่งขันในตลาด หรือกิจการเกี่ยวกับการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีผลเสียต่อสุขภาพอนามัย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องไม่มีการโอนอำนาจมหาชนหรือสิทธิพิเศษอื่นใดไปยังบริษัทลูกที่จะจัดตั้ง และการกระจายหุ้นของบริษัทที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจดังกล่าวต้องดำเนินการตามกฎหมายนี้
5. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจประกอบด้วยกระบวนการแปลงสภาพและกระบวนการกระจายหุ้น ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท และคณะกรรมการกระจายหุ้น
6. กำหนดลักษณะของกิจการของรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพที่ต้องจัดให้มีองค์กรกำกับดูแล คือ กิจการที่มีอำนาจมหาชน กิจการที่ประกอบกิจการซึ่งโดยสภาพของกิจการหรือการลงทุนทำให้มีผู้ประกอบการน้อยรายหรือมีการแข่งขันน้อยราย หรือกิจการที่มีส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยการจัดตั้งองค์กรกำกับต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
7. กำหนดให้บรรดากิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ โอนไปยังบริษัทที่จะตั้งขึ้น บริษัทดังกล่าวยังคงมีสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และให้กระทรวงการคลังยังคงค้ำประกันหนี้ต่อไปโดยเสียค่าธรรมเนียม กำหนดความคุ้มครองแก่พนักงานในเรื่องเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งกำหนดให้สัญญาต่าง ๆ ที่ได้กระทำไว้ยังคงมีผลบังคับต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติการกำหนดกิจการ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
2. กำหนดให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่าสินทรัพย์เกินกว่าสองพันล้านบาทให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการที่มิให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือ กิจการซึ่งโดยสภาพของกิจการหรือการลงทุนทำให้ไม่มีการแข่งขันในตลาด และกิจการเกี่ยวกับการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีผลเสียต่อสุขภาพอนามัย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งนี้ จะดำเนินการแปรรูปทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ และจะแปรรูปเป็นบริษัทเดียวหรือหลายบริษัทก็ได้
3. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจต้องไม่มีผลเป็นการโอนอำนาจในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรืออำนาจในการอนุมัติ อนุญาต ให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน รับแจ้ง รับรอง หรืออำนาจมหาชนอื่นใด รวมทั้งสิทธิพิเศษที่รัฐวิสาหกิจนั้นมีอยู่ในกิจการที่แปรรูป ไปให้แก่บริษัทที่จัดตั้งขึ้นจากการแปลงสภาพโดยสิทธิพิเศษหมายความรวมถึงการได้รับยกเว้นมิให้ต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า หรือกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร
4. ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจจัดตั้งบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นใดเพื่อประกอบกิจการใด ๆ การจัดตั้งบริษัทหรือนิติบุคคลนั้นต้องไม่เป็นการประกอบกิจการซึ่งโดยสภาพของกิจการหรือการลงทุน ทำให้ไม่มีการแข่งขันในตลาด หรือกิจการเกี่ยวกับการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีผลเสียต่อสุขภาพอนามัย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องไม่มีการโอนอำนาจมหาชนหรือสิทธิพิเศษอื่นใดไปยังบริษัทลูกที่จะจัดตั้ง และการกระจายหุ้นของบริษัทที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจดังกล่าวต้องดำเนินการตามกฎหมายนี้
5. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจประกอบด้วยกระบวนการแปลงสภาพและกระบวนการกระจายหุ้น ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท และคณะกรรมการกระจายหุ้น
6. กำหนดลักษณะของกิจการของรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพที่ต้องจัดให้มีองค์กรกำกับดูแล คือ กิจการที่มีอำนาจมหาชน กิจการที่ประกอบกิจการซึ่งโดยสภาพของกิจการหรือการลงทุนทำให้มีผู้ประกอบการน้อยรายหรือมีการแข่งขันน้อยราย หรือกิจการที่มีส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยการจัดตั้งองค์กรกำกับต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
7. กำหนดให้บรรดากิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ โอนไปยังบริษัทที่จะตั้งขึ้น บริษัทดังกล่าวยังคงมีสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และให้กระทรวงการคลังยังคงค้ำประกันหนี้ต่อไปโดยเสียค่าธรรมเนียม กำหนดความคุ้มครองแก่พนักงานในเรื่องเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งกำหนดให้สัญญาต่าง ๆ ที่ได้กระทำไว้ยังคงมีผลบังคับต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--