คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
1. ให้กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการจับตัวประกัน ค.ศ. 1979 โดยตั้งข้อสงวนว่าไทยจะไม่ผูกพันตามข้อ 16 วรรค 1 ของอนุสัญญาฯ ซึ่งกำหนดให้รัฐภาคีระงับข้อพิพาทกันโดยอนุญาโตตุลาการหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
2. ให้กรมองค์การระหว่างประเทศกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่แจ้งรัฐ องค์การ หรือเลขาธิการสหประชาชาติทราบในเรื่องต่อไปนี้ในโอกาสแรกด้วย
2.1 การควบคุมตัวบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดหรือการดำเนินมาตรการอื่น ๆ (ข้อ 6 วรรค 2 ของอนุสัญญา ฯ)
2.2 การรายงานผลการสอบสวน รวมทั้งระบุว่ารัฐมีความประสงค์ที่จะใช้เขตอำนาจศาลหรือไม่ (ข้อ 6 วรรค 6 ของอนุสัญญา ฯ)
2.3 การแจ้งผลที่สุดของกระบวนพิจารณาความที่ได้มีการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด (ข้อ 7 ของอนุสัญญา ฯ)
กระทรวงการต่างประเทศ รายงานว่า
1. อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการจับตัวประกันได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2522 (ค.ศ.1979) เพื่อเป็นกรอบทางกฎหมายสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกัน การดำเนินคดี และการลงโทษผู้กระทำผิดฐานจับตัวประกัน ทั้งนี้ อนุสัญญาฯ ดังกล่าวได้เปิดให้มีการลงนามเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2522 และมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2526 (ค.ศ.1983) ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นภาคีแล้ว 158 ประเทศ เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่ยังมิได้เป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม
2. สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ
2.1 กำหนดให้การกระทำที่เป็นความผิดภายใต้อนุสัญญาฉบับนี้ ได้แก่ การจับกุมหรือคุมขังบุคคลอื่น ขู่เข็ญจะฆ่า ทำร้าย หรือคุมขังผู้นั้นเป็นตัวประกัน โดยมีเจตนาเพื่อบังคับบุคคลที่สาม อันได้แก่ รัฐ องค์การระหว่างประเทศซึ่งเป็นองค์การระหว่างรัฐบาล บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ให้กระทำหรือละเว้นกระทำการใด อันเป็นเงื่อนไขอย่างชัดแจ้งหรือโดยปริยายในการปล่อยตัวประกัน ทั้งนี้ ความผิดดังกล่าวรวมถึงการพยายามกระทำความผิด หรือการเข้าร่วมในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิดกับตัวการในการกระทำหรือการพยายามกระทำความผิดด้วย (ข้อ 1 ของอนุสัญญาฯ)
2.2 รัฐภาคีมีพันธกรณี ดังนี้
2.2.1 กำหนดให้ความผิดตามอนุสัญญาฯ เป็นความผิดตามกฎหมายภายในของรัฐตนและกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสมตามสภาพความร้ายแรงของความผิด (ข้อ 2 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.2 ในกรณีที่ตัวประกันถูกผู้กระทำผิดจับตัวอยู่ในอาณาเขตของรัฐภาคีใด รัฐภาคีนั้นจะต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้มีการปล่อยตัวประกัน ภายหลังการปล่อยตัวประกัน รัฐภาคีจะต้องอำนวยความสะดวกในการเดินทางออกไปของตัวประกัน (ข้อ 3 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.3 ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐดำเนินมาตรการเท่าที่จำเป็นเพื่อกำหนดเขตอำนาจศาลเหนือความผิดตามอนุสัญญาฯ (ข้อ 5 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.4 ให้รัฐภาคีซึ่งผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดปรากฏตัวอยู่ในอาณาเขตนำตัวบุคคลนั้นไปควบคุมหรือดำเนินมาตรการอื่นตามกฎหมายภายในของตนเพื่อประกันว่าบุคคลนั้นปรากฏตัวอยู่เป็นเวลาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาความอาญาหรือกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยบุคคลผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิในการติดต่อโดยไม่ชักช้ากับผู้แทนของรัฐเจ้าของสัญชาติ และได้รับการเข้าเยี่ยมจากผู้แทนแห่งรัฐนั้น ทั้งนี้ รัฐภาคีที่มีเขตอำนาจศาลเหนือบุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดมีสิทธิเชิญให้คณะกรรมการกาชาดสากลเข้ามาติดต่อและเยี่ยมผู้ถูกกล่าวหา (ข้อ 6 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.5 หากรัฐภาคีที่พบตัวผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอยู่ในอาณาเขตแต่ไม่ส่งบุคคลนั้นเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ให้รัฐภาคีนั้นส่งเรื่องให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีตามกระบวนการตามกฎหมายภายใน (ข้อ 8 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.6 ให้รัฐภาคีเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้มากที่สุดเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาความอาญาต่อความผิดตามอนุสัญญาฯ รวมถึงการให้พยานหลักฐานทั้งปวงที่อยู่ในครอบครองของตนซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการพิจารณา โดยไม่กระทบต่อพันธกรณีเกี่ยวกับความร่วมมือทางศาลที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาอื่น (ข้อ 11 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.7 อนุสัญญาฉบับนี้ไม่ใช้บังคับ ในกรณีที่เป็นการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในรัฐเดียว ตัวประกันและผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเป็นคนชาติของรัฐนั้น และผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดถูกพบตัวอยู่ในอาณาเขตของรัฐนั้น
3. คณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศซึ่งได้รับมอบหมายโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545 ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 โดยที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาพันธกรณีในอนุสัญญาฯ เป็นรายข้อบทและมีมติสรุปได้ว่า
3.1 ไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในอนุสัญญาฯ ได้อย่างครบถ้วนและสามารถเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม หรือออกกฎหมายอนุวัติการอีก
3.2 ให้ตั้งข้อสงวนว่าไทยจะไม่ผูกพันตามข้อ 16 วรรค 1 ของอนุสัญญาฯ ซึ่งกำหนดให้รัฐภาคีระงับข้อพิพาทกันโดยอนุญาโตตุลาการหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
3.3 ให้กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่แจ้งรัฐ องค์การ หรือเลขาธิการสหประชาชาติทราบในเรื่องตามข้อ 2.1-2.3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 สิงหาคม 2550--จบ--
1. ให้กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการจับตัวประกัน ค.ศ. 1979 โดยตั้งข้อสงวนว่าไทยจะไม่ผูกพันตามข้อ 16 วรรค 1 ของอนุสัญญาฯ ซึ่งกำหนดให้รัฐภาคีระงับข้อพิพาทกันโดยอนุญาโตตุลาการหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
2. ให้กรมองค์การระหว่างประเทศกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่แจ้งรัฐ องค์การ หรือเลขาธิการสหประชาชาติทราบในเรื่องต่อไปนี้ในโอกาสแรกด้วย
2.1 การควบคุมตัวบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดหรือการดำเนินมาตรการอื่น ๆ (ข้อ 6 วรรค 2 ของอนุสัญญา ฯ)
2.2 การรายงานผลการสอบสวน รวมทั้งระบุว่ารัฐมีความประสงค์ที่จะใช้เขตอำนาจศาลหรือไม่ (ข้อ 6 วรรค 6 ของอนุสัญญา ฯ)
2.3 การแจ้งผลที่สุดของกระบวนพิจารณาความที่ได้มีการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด (ข้อ 7 ของอนุสัญญา ฯ)
กระทรวงการต่างประเทศ รายงานว่า
1. อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการจับตัวประกันได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2522 (ค.ศ.1979) เพื่อเป็นกรอบทางกฎหมายสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกัน การดำเนินคดี และการลงโทษผู้กระทำผิดฐานจับตัวประกัน ทั้งนี้ อนุสัญญาฯ ดังกล่าวได้เปิดให้มีการลงนามเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2522 และมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2526 (ค.ศ.1983) ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นภาคีแล้ว 158 ประเทศ เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่ยังมิได้เป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม
2. สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ
2.1 กำหนดให้การกระทำที่เป็นความผิดภายใต้อนุสัญญาฉบับนี้ ได้แก่ การจับกุมหรือคุมขังบุคคลอื่น ขู่เข็ญจะฆ่า ทำร้าย หรือคุมขังผู้นั้นเป็นตัวประกัน โดยมีเจตนาเพื่อบังคับบุคคลที่สาม อันได้แก่ รัฐ องค์การระหว่างประเทศซึ่งเป็นองค์การระหว่างรัฐบาล บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ให้กระทำหรือละเว้นกระทำการใด อันเป็นเงื่อนไขอย่างชัดแจ้งหรือโดยปริยายในการปล่อยตัวประกัน ทั้งนี้ ความผิดดังกล่าวรวมถึงการพยายามกระทำความผิด หรือการเข้าร่วมในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิดกับตัวการในการกระทำหรือการพยายามกระทำความผิดด้วย (ข้อ 1 ของอนุสัญญาฯ)
2.2 รัฐภาคีมีพันธกรณี ดังนี้
2.2.1 กำหนดให้ความผิดตามอนุสัญญาฯ เป็นความผิดตามกฎหมายภายในของรัฐตนและกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสมตามสภาพความร้ายแรงของความผิด (ข้อ 2 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.2 ในกรณีที่ตัวประกันถูกผู้กระทำผิดจับตัวอยู่ในอาณาเขตของรัฐภาคีใด รัฐภาคีนั้นจะต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้มีการปล่อยตัวประกัน ภายหลังการปล่อยตัวประกัน รัฐภาคีจะต้องอำนวยความสะดวกในการเดินทางออกไปของตัวประกัน (ข้อ 3 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.3 ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐดำเนินมาตรการเท่าที่จำเป็นเพื่อกำหนดเขตอำนาจศาลเหนือความผิดตามอนุสัญญาฯ (ข้อ 5 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.4 ให้รัฐภาคีซึ่งผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดปรากฏตัวอยู่ในอาณาเขตนำตัวบุคคลนั้นไปควบคุมหรือดำเนินมาตรการอื่นตามกฎหมายภายในของตนเพื่อประกันว่าบุคคลนั้นปรากฏตัวอยู่เป็นเวลาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาความอาญาหรือกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยบุคคลผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิในการติดต่อโดยไม่ชักช้ากับผู้แทนของรัฐเจ้าของสัญชาติ และได้รับการเข้าเยี่ยมจากผู้แทนแห่งรัฐนั้น ทั้งนี้ รัฐภาคีที่มีเขตอำนาจศาลเหนือบุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดมีสิทธิเชิญให้คณะกรรมการกาชาดสากลเข้ามาติดต่อและเยี่ยมผู้ถูกกล่าวหา (ข้อ 6 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.5 หากรัฐภาคีที่พบตัวผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอยู่ในอาณาเขตแต่ไม่ส่งบุคคลนั้นเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ให้รัฐภาคีนั้นส่งเรื่องให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีตามกระบวนการตามกฎหมายภายใน (ข้อ 8 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.6 ให้รัฐภาคีเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้มากที่สุดเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาความอาญาต่อความผิดตามอนุสัญญาฯ รวมถึงการให้พยานหลักฐานทั้งปวงที่อยู่ในครอบครองของตนซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการพิจารณา โดยไม่กระทบต่อพันธกรณีเกี่ยวกับความร่วมมือทางศาลที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาอื่น (ข้อ 11 ของอนุสัญญาฯ)
2.2.7 อนุสัญญาฉบับนี้ไม่ใช้บังคับ ในกรณีที่เป็นการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในรัฐเดียว ตัวประกันและผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเป็นคนชาติของรัฐนั้น และผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดถูกพบตัวอยู่ในอาณาเขตของรัฐนั้น
3. คณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศซึ่งได้รับมอบหมายโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545 ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 โดยที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาพันธกรณีในอนุสัญญาฯ เป็นรายข้อบทและมีมติสรุปได้ว่า
3.1 ไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในอนุสัญญาฯ ได้อย่างครบถ้วนและสามารถเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม หรือออกกฎหมายอนุวัติการอีก
3.2 ให้ตั้งข้อสงวนว่าไทยจะไม่ผูกพันตามข้อ 16 วรรค 1 ของอนุสัญญาฯ ซึ่งกำหนดให้รัฐภาคีระงับข้อพิพาทกันโดยอนุญาโตตุลาการหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
3.3 ให้กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่แจ้งรัฐ องค์การ หรือเลขาธิการสหประชาชาติทราบในเรื่องตามข้อ 2.1-2.3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 สิงหาคม 2550--จบ--