คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานกรรมการ
อำนวยการป้องกัน ควบคุมแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ได้
รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2548 ดังนี้
1.1 ตรวจพบโรคไข้หวัดนกทางห้องปฏิบัติการใน 2 ตำบล คือ
พื้นที่ วันที่เก็บตัวอย่าง ชนิดสัตว์ปีก จำนวนสัตว์ปีก จำนวนที่ทำลาย การดำเนินการ
ที่ป่วยตาย (ตัว)
บ้านเลขที่ 42/1 หมู่ที่ 4 ตำบลพระแท่น
อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 20 ตุลาคม 2548 ไก่พื้นเมือง 3 45 สั่งทำลายสัตว์ปีก
บ้านเลขที่ 99/1 หมู่ที่ 5 ตำบลดอนเจดีย์ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548
อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 20 ตุลาคม 2548 ไก่พื้นเมือง 2 47 โดยก่อนทำลายได้เก็บตัวอย่าง
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
และได้รับผลยืนยันพบเชื้อไข้หวัดนก
1.2 มีพื้นที่ที่เป็นโรคไข้หวัดนกและยังอยู่ระหว่างการเฝ้าระวังโรค ซึ่งยังไม่ครบระยะเวลา
21 วัน นับจากวันที่ทำลาย มี 17 ตำบล 10 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครปฐม สุพรรณบุรี
กาญจนบุรี และนนทบุรี
2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนก
ในคน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม —24 ตุลาคม 2548 ดังนี้
2.1 มีผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคสะสม 1,174 ราย จาก 67 จังหวัด และที่ได้รับรายงานใน
วันที่ 24 ตุลาคม 2548 มี 14 ราย จากจังหวัดสุพรรณบุรี 5 ราย นครปฐม 3 ราย สระบุรี 2 ราย สุโขทัย
2 ราย และปทุมธานี ชัยภูมิ จังหวัดละ 1 ราย
2.2 มีผู้ป่วยไข้หวัดนก 2 ราย เสียชีวิต 1 รายจากจังหวัดกาญจนบุรี
2.3 มีผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยไข้หวัดนก 1 รายจากจังหวัดนครปฐม
2.4 มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบที่อยู่ในระหว่างการสอบสวน 17 ราย จากจังหวัด
สุพรรณบุรี 5 ราย นครปฐม 3 ราย กาญจนบุรี สระบุรี สุโขทัย จังหวัดละ 2 ราย และบุรีรัมย์ ปทุมธานี ชัยภูมิ
จังหวัดละ 1 ราย
2.5 ตัดออกจากการสงสัย เนื่องจากไม่เข้านิยมหรือมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพิสูจน์ได้ว่า
เกิดจากเชื้อสาเหตุอื่น รวม 1,155 ราย
การดำเนินการ
1. ทำลายสัตว์ปีกทันทีที่ตรวจพบอาการสงสัยว่าเป็นโรคไข้หวัดนก ตามลักษณะนิยามอาการ และ
มีอัตราตายเกิน 5% ใน 2 วันโดยไม่รอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2. เฝ้าระวังโรครอบจุดที่เกิดโรค 5 กิโลเมตร โดยสังเกตอาการและเก็บตัวอย่างสัตว์ปีก
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3. ห้ามมิให้มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคเป็นระยะเวลา 30 วัน
นับจากวันที่มีการทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายและทำลายเชื้อโรคแล้ว
4. ทำลายเชื้อโรคโดยฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เกิดโรคและบริเวณใกล้เคียง
5. ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคไข้หวัดนก และ
สุขศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
อำนวยการป้องกัน ควบคุมแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ได้
รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2548 ดังนี้
1.1 ตรวจพบโรคไข้หวัดนกทางห้องปฏิบัติการใน 2 ตำบล คือ
พื้นที่ วันที่เก็บตัวอย่าง ชนิดสัตว์ปีก จำนวนสัตว์ปีก จำนวนที่ทำลาย การดำเนินการ
ที่ป่วยตาย (ตัว)
บ้านเลขที่ 42/1 หมู่ที่ 4 ตำบลพระแท่น
อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 20 ตุลาคม 2548 ไก่พื้นเมือง 3 45 สั่งทำลายสัตว์ปีก
บ้านเลขที่ 99/1 หมู่ที่ 5 ตำบลดอนเจดีย์ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548
อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 20 ตุลาคม 2548 ไก่พื้นเมือง 2 47 โดยก่อนทำลายได้เก็บตัวอย่าง
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
และได้รับผลยืนยันพบเชื้อไข้หวัดนก
1.2 มีพื้นที่ที่เป็นโรคไข้หวัดนกและยังอยู่ระหว่างการเฝ้าระวังโรค ซึ่งยังไม่ครบระยะเวลา
21 วัน นับจากวันที่ทำลาย มี 17 ตำบล 10 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครปฐม สุพรรณบุรี
กาญจนบุรี และนนทบุรี
2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนก
ในคน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม —24 ตุลาคม 2548 ดังนี้
2.1 มีผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคสะสม 1,174 ราย จาก 67 จังหวัด และที่ได้รับรายงานใน
วันที่ 24 ตุลาคม 2548 มี 14 ราย จากจังหวัดสุพรรณบุรี 5 ราย นครปฐม 3 ราย สระบุรี 2 ราย สุโขทัย
2 ราย และปทุมธานี ชัยภูมิ จังหวัดละ 1 ราย
2.2 มีผู้ป่วยไข้หวัดนก 2 ราย เสียชีวิต 1 รายจากจังหวัดกาญจนบุรี
2.3 มีผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยไข้หวัดนก 1 รายจากจังหวัดนครปฐม
2.4 มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบที่อยู่ในระหว่างการสอบสวน 17 ราย จากจังหวัด
สุพรรณบุรี 5 ราย นครปฐม 3 ราย กาญจนบุรี สระบุรี สุโขทัย จังหวัดละ 2 ราย และบุรีรัมย์ ปทุมธานี ชัยภูมิ
จังหวัดละ 1 ราย
2.5 ตัดออกจากการสงสัย เนื่องจากไม่เข้านิยมหรือมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพิสูจน์ได้ว่า
เกิดจากเชื้อสาเหตุอื่น รวม 1,155 ราย
การดำเนินการ
1. ทำลายสัตว์ปีกทันทีที่ตรวจพบอาการสงสัยว่าเป็นโรคไข้หวัดนก ตามลักษณะนิยามอาการ และ
มีอัตราตายเกิน 5% ใน 2 วันโดยไม่รอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2. เฝ้าระวังโรครอบจุดที่เกิดโรค 5 กิโลเมตร โดยสังเกตอาการและเก็บตัวอย่างสัตว์ปีก
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3. ห้ามมิให้มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคเป็นระยะเวลา 30 วัน
นับจากวันที่มีการทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายและทำลายเชื้อโรคแล้ว
4. ทำลายเชื้อโรคโดยฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เกิดโรคและบริเวณใกล้เคียง
5. ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคไข้หวัดนก และ
สุขศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--