คณะรัฐมนตรีพิจารณาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งฝ่ายญี่ปุ่นในหลักการว่าฝ่ายไทยพร้อมจะลงนาม JTEPA โดยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความชัดเจนและลดความกังวลใน 2 ประเด็น คือ ขยะของเสียอันตรายและสิทธิบัตรจุลชีพ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศมีดุลพินิจในการเจรจาโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและผลกระทบจากข้อห่วงกังวล
2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา
2.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบและกลไกการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจติดตาม ควบคุมและจัดการขยะของเสียอันตราย
2.2 กำหนดมาตรการรองรับที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากความตกลงฯ
2.3 เร่งรัดเตรียมการให้มีการใช้ประโยชน์จากความตกลงฯ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้จัดอภิปรายเรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) สรุปได้ดังนี้
1. สาระสำคัญของการอภิปราย
1.1 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแสดงความชื่นชมรัฐบาลที่ตัดสินใจนำร่าง JTEPA เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อขอรับฟังความเห็น ซึ่งถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์และเป็นก้าวแรกที่สำคัญของกระบวนการปรึกษาหารือและการมีส่วนร่วมในเรื่องการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนในวงกว้างที่ควรสานต่อ โดยเห็นควรให้มีการนำเสนอกระบวนการนี้ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้
1.2 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติส่วนใหญ่สนับสนุนให้รัฐบาลลงนาม JTEPA โดยเร็ว เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อภาคเอกชน เกษตรกร และเศรษฐกิจภายในประเทศโดยรวม ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักธุรกิจและนักลงทุนชาวญี่ปุ่น โดยเป็นการยืนยันนโยบายของไทยที่สนับสนุนการค้าและการมีปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ ในภาวะที่ต่างประเทศมีความไม่มั่นใจเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา
1.3 อย่างไรก็ดี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหลายท่านได้อภิปรายแสดงข้อกังวลอย่างชัดเจนต่อสาระของ JTEPA ใน 2 ประเด็นหลักคือ ของเสียอันตราย และสิทธิบัตรจุลชีพ และเสนอแนะให้รัฐบาลพิจารณา
1.3.1 ทำความเข้าใจกับฝ่ายญี่ปุ่นให้เกิดความชัดเจนเพื่อสร้างความสบายใจให้แก่ฝ่ายที่ห่วงกังวลว่า JTEPA จะไม่เอื้ออำนวยให้มีการนำขยะของเสียอันตรายจากญี่ปุ่นเข้าไทย และจะไม่สร้างพันธกรณีแก่ไทยที่จะต้องรับคุ้มครองจุลชีพที่มีในธรรมชาติ
1.3.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบและกลไกการบังคับใช้กฎหมายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลไกติดตาม ควบคุมและจัดการขยะของเสียให้มีประสิทธิภาพ
1.3.3 ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกลไกตรวจตราติดตามการดำเนินการตามความตกลงฯ เพื่อให้เกิดความรอบคอบและปกป้องผลประโยชน์ของไทย
1.4 นอกจากนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เสนอแนะให้รัฐบาลดำเนินการเสริมสร้างมาตรการปกป้องและรองรับผลกระทบสำหรับผู้ที่อาจได้รับผลกระทบหรือเสียประโยชน์จากการเปิดเสรี และดำเนินมาตรการและเผยแพร่ข้อมูลให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จาก JTEPA ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งฝ่ายญี่ปุ่นในหลักการว่าฝ่ายไทยพร้อมจะลงนาม JTEPA โดยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความชัดเจนและลดความกังวลใน 2 ประเด็น คือ ขยะของเสียอันตรายและสิทธิบัตรจุลชีพ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศมีดุลพินิจในการเจรจาโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและผลกระทบจากข้อห่วงกังวล
2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา
2.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบและกลไกการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจติดตาม ควบคุมและจัดการขยะของเสียอันตราย
2.2 กำหนดมาตรการรองรับที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากความตกลงฯ
2.3 เร่งรัดเตรียมการให้มีการใช้ประโยชน์จากความตกลงฯ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้จัดอภิปรายเรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) สรุปได้ดังนี้
1. สาระสำคัญของการอภิปราย
1.1 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแสดงความชื่นชมรัฐบาลที่ตัดสินใจนำร่าง JTEPA เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อขอรับฟังความเห็น ซึ่งถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์และเป็นก้าวแรกที่สำคัญของกระบวนการปรึกษาหารือและการมีส่วนร่วมในเรื่องการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนในวงกว้างที่ควรสานต่อ โดยเห็นควรให้มีการนำเสนอกระบวนการนี้ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้
1.2 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติส่วนใหญ่สนับสนุนให้รัฐบาลลงนาม JTEPA โดยเร็ว เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อภาคเอกชน เกษตรกร และเศรษฐกิจภายในประเทศโดยรวม ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักธุรกิจและนักลงทุนชาวญี่ปุ่น โดยเป็นการยืนยันนโยบายของไทยที่สนับสนุนการค้าและการมีปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ ในภาวะที่ต่างประเทศมีความไม่มั่นใจเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา
1.3 อย่างไรก็ดี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหลายท่านได้อภิปรายแสดงข้อกังวลอย่างชัดเจนต่อสาระของ JTEPA ใน 2 ประเด็นหลักคือ ของเสียอันตราย และสิทธิบัตรจุลชีพ และเสนอแนะให้รัฐบาลพิจารณา
1.3.1 ทำความเข้าใจกับฝ่ายญี่ปุ่นให้เกิดความชัดเจนเพื่อสร้างความสบายใจให้แก่ฝ่ายที่ห่วงกังวลว่า JTEPA จะไม่เอื้ออำนวยให้มีการนำขยะของเสียอันตรายจากญี่ปุ่นเข้าไทย และจะไม่สร้างพันธกรณีแก่ไทยที่จะต้องรับคุ้มครองจุลชีพที่มีในธรรมชาติ
1.3.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบและกลไกการบังคับใช้กฎหมายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลไกติดตาม ควบคุมและจัดการขยะของเสียให้มีประสิทธิภาพ
1.3.3 ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกลไกตรวจตราติดตามการดำเนินการตามความตกลงฯ เพื่อให้เกิดความรอบคอบและปกป้องผลประโยชน์ของไทย
1.4 นอกจากนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เสนอแนะให้รัฐบาลดำเนินการเสริมสร้างมาตรการปกป้องและรองรับผลกระทบสำหรับผู้ที่อาจได้รับผลกระทบหรือเสียประโยชน์จากการเปิดเสรี และดำเนินมาตรการและเผยแพร่ข้อมูลให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จาก JTEPA ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--