คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานกรรมการ ที่เห็นชอบในหลักการการสนับสนุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยในเบื้องต้นให้ดำเนินการเฉพาะในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 — 2551 ก่อน ดังนี้
1. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้สำนักงบประมาณพิจารณาเจียดจ่ายจากงบประมาณของกระทรวงพาณิชย์โดยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ
2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้สำนักงบประมาณจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี และให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณารูปแบบการจัดตั้งกองทุน เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ประเทศไทยมีการเจรจาเปิดเสรีทางการค้าทั้งในระดับพหุภาคี ภูมิภาค และระดับทวิภาคีในรูปของเขตการค้าเสรี [Free Trade Area (FTA)
] ซึ่งไทยได้มีการลงนามและความตกลงมีผลบังคับใช้แล้ว ได้แก่ ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน [Asian Free Trade Area (AFTA)
] ความตกลงการค้าเสรีสองฝ่าย ได้แก่ ไทย-ออสเตรเลีย ไทย — นิวซีแลนด์ ไทย — อินเดีย และอาเซียน — จีน ความตกลงที่เจรจาเสร็จแล้วอยู่ระหว่างพิจารณาลงนาม ได้แก่ ไทย — ญี่ปุ่น และความตกลงที่อยู่ในระหว่างการเจรจากับอีกหลายประเทศภายใต้อาเซียน
2. จากการประเมินผลการทำ FTA สองฝ่ายปรากฏว่า หลังการลงนามความตกลงกับ 4 ประเทศดังกล่าว ทำให้การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การลงทุนและการประกอบธุรกิจระหว่างกันก็มีมากขึ้นด้วย แต่สินค้าบางรายการได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องมีการปรับตัว เช่น โคเนื้อ โคนม ผลิตภัณฑ์นม หอม กระเทียม เครื่องใช้ไฟฟ้า เซรามิก และเครื่องหนัง เป็นต้น ส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็น SMEs ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัว ในการเจรจาแม้ได้สร้างภูมิคุ้มกันไว้ในตัวข้อตกลง โดยสินค้า/บริการใดที่จะได้รับผลกระทบก็ได้เจรจาให้มีการเปิดเสรีทางการค้าที่ยาวนานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เช่น 15 — 20 ปี รวมทั้งมีมาตรการปกป้องพิเศษ (special safeguard) แต่ในระหว่างนี้มีความจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือเพื่อให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งปัจจุบันมีกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ บริหารจัดการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเจรจาเปิดเสรีทางการค้า โดยจะช่วยในการปรับโครงสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปขั้นต้น ขณะนี้ยังขาดการให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับตัวรองรับการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และธุรกิจภาคบริการ ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมและยังแสดงถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
3. กระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาพิจารณากำหนดรูปแบบการบริหารจัดการ และการจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวในภาคการผลิต (sector) ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ คณะกรรมการดังกล่าวได้จัดทำกรอบแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนและนำไปจัดสัมมนาแบบเปิดกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนด้วยแล้ว และมีความเห็นสรุปได้ว่า เห็นควรจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือในระยะสั้นแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 หลักการ
1) จะให้ความช่วยเหลือแก่ภาคการผลิตสินค้าและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า เพื่อให้สามารถปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนให้สามารถแข่งขันได้
2) ความช่วยเหลือของกองทุนจะอยู่ในรูปของการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะไม่อยู่ในรูปของตัวเงิน (in kind)
3) มาตรการช่วยเหลือของกองทุนจะต้องดำเนินการโดยที่ไม่ขัดกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิก
3.2 วัตถุประสงค์ ให้ความช่วยเหลือในระยะสั้นแก่ภาคการผลิต (sector) ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยความช่วยเหลือที่กองทุนจัดให้ต้องดำเนินการและมีผลสัมฤทธิ์ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี
3.3 ประเภทของความช่วยเหลือ ได้แก่ การศึกษา วิจัยพัฒนา การจัดหาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการปรับปรุงธุรกิจ การฝึกอบรมอาชีพใหม่ให้กับคนงาน กิจกรรมที่มีผลโดยรวมต่อการสนับสนุนการบริโภค การตลาด ฯลฯ ในสาขา/กลุ่มสินค้านั้น การเสริมสร้างสมรรถนะ โดยการให้ความรู้ จัดประชุม จัดฝึกอบรม สัมมนา ดูงาน และความช่วยเหลืออื่น ๆ ที่คณะกรรมการกองทุนเห็นสมควร
3.4 ผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน ประกอบด้วยกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการในสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า การขอรับความช่วยเหลือจะต้องจัดทำเป็นโครงการเสนอต่อกองทุนในนามของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการค้า เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
3.5 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบ เช่น สินค้าประเภทเดียวกันนำเข้ามามากหลังมีการลดภาษีและส่งผลกระทบต่อสินค้าไทยหรือมีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะได้รับผลกระทบ ส่วนแบ่งตลาดมีแนวโน้มลดลง มีการจ้างงานลดลง รวมทั้งมีผลการศึกษาระบุว่าภาคการผลิตนั้น ๆ ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
3.6 แหล่งที่มาของเงินทุน มาจากเงินงบประมาณจากภาครัฐ และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนบริจาคสมทบเข้ากองทุนเพิ่มเติมได้
3.7 การบริหารจัดการ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร และนักวิชาการ ทำหน้าที่บริหารกองทุน โดยมี กระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการบริหารจัดการกองทุนและออกระเบียบรองรับการดำเนินการ
3.8 ขั้นตอนการดำเนินการ
1) กลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในสาขาที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือจัดทำโครงการ แผนงาน งาน หรือกิจกรรมเสนอกระทรวงพาณิชย์ โดยเสนอผ่านตัวแทนในข้อ 3.4
2) กระทรวงพาณิชย์จะนำโครงการ แผนงาน งาน หรือกิจกรรมเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารฯ โดยคณะกรรมการฯ อาจแต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการ
3) ให้มีการติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้สำนักงบประมาณพิจารณาเจียดจ่ายจากงบประมาณของกระทรวงพาณิชย์โดยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ
2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้สำนักงบประมาณจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี และให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณารูปแบบการจัดตั้งกองทุน เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ประเทศไทยมีการเจรจาเปิดเสรีทางการค้าทั้งในระดับพหุภาคี ภูมิภาค และระดับทวิภาคีในรูปของเขตการค้าเสรี [Free Trade Area (FTA)
] ซึ่งไทยได้มีการลงนามและความตกลงมีผลบังคับใช้แล้ว ได้แก่ ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน [Asian Free Trade Area (AFTA)
] ความตกลงการค้าเสรีสองฝ่าย ได้แก่ ไทย-ออสเตรเลีย ไทย — นิวซีแลนด์ ไทย — อินเดีย และอาเซียน — จีน ความตกลงที่เจรจาเสร็จแล้วอยู่ระหว่างพิจารณาลงนาม ได้แก่ ไทย — ญี่ปุ่น และความตกลงที่อยู่ในระหว่างการเจรจากับอีกหลายประเทศภายใต้อาเซียน
2. จากการประเมินผลการทำ FTA สองฝ่ายปรากฏว่า หลังการลงนามความตกลงกับ 4 ประเทศดังกล่าว ทำให้การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การลงทุนและการประกอบธุรกิจระหว่างกันก็มีมากขึ้นด้วย แต่สินค้าบางรายการได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องมีการปรับตัว เช่น โคเนื้อ โคนม ผลิตภัณฑ์นม หอม กระเทียม เครื่องใช้ไฟฟ้า เซรามิก และเครื่องหนัง เป็นต้น ส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็น SMEs ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัว ในการเจรจาแม้ได้สร้างภูมิคุ้มกันไว้ในตัวข้อตกลง โดยสินค้า/บริการใดที่จะได้รับผลกระทบก็ได้เจรจาให้มีการเปิดเสรีทางการค้าที่ยาวนานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เช่น 15 — 20 ปี รวมทั้งมีมาตรการปกป้องพิเศษ (special safeguard) แต่ในระหว่างนี้มีความจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือเพื่อให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งปัจจุบันมีกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ บริหารจัดการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเจรจาเปิดเสรีทางการค้า โดยจะช่วยในการปรับโครงสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปขั้นต้น ขณะนี้ยังขาดการให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับตัวรองรับการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และธุรกิจภาคบริการ ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมและยังแสดงถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
3. กระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาพิจารณากำหนดรูปแบบการบริหารจัดการ และการจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวในภาคการผลิต (sector) ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ คณะกรรมการดังกล่าวได้จัดทำกรอบแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนและนำไปจัดสัมมนาแบบเปิดกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนด้วยแล้ว และมีความเห็นสรุปได้ว่า เห็นควรจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือในระยะสั้นแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 หลักการ
1) จะให้ความช่วยเหลือแก่ภาคการผลิตสินค้าและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า เพื่อให้สามารถปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนให้สามารถแข่งขันได้
2) ความช่วยเหลือของกองทุนจะอยู่ในรูปของการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะไม่อยู่ในรูปของตัวเงิน (in kind)
3) มาตรการช่วยเหลือของกองทุนจะต้องดำเนินการโดยที่ไม่ขัดกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิก
3.2 วัตถุประสงค์ ให้ความช่วยเหลือในระยะสั้นแก่ภาคการผลิต (sector) ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยความช่วยเหลือที่กองทุนจัดให้ต้องดำเนินการและมีผลสัมฤทธิ์ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี
3.3 ประเภทของความช่วยเหลือ ได้แก่ การศึกษา วิจัยพัฒนา การจัดหาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการปรับปรุงธุรกิจ การฝึกอบรมอาชีพใหม่ให้กับคนงาน กิจกรรมที่มีผลโดยรวมต่อการสนับสนุนการบริโภค การตลาด ฯลฯ ในสาขา/กลุ่มสินค้านั้น การเสริมสร้างสมรรถนะ โดยการให้ความรู้ จัดประชุม จัดฝึกอบรม สัมมนา ดูงาน และความช่วยเหลืออื่น ๆ ที่คณะกรรมการกองทุนเห็นสมควร
3.4 ผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน ประกอบด้วยกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการในสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า การขอรับความช่วยเหลือจะต้องจัดทำเป็นโครงการเสนอต่อกองทุนในนามของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการค้า เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
3.5 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบ เช่น สินค้าประเภทเดียวกันนำเข้ามามากหลังมีการลดภาษีและส่งผลกระทบต่อสินค้าไทยหรือมีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะได้รับผลกระทบ ส่วนแบ่งตลาดมีแนวโน้มลดลง มีการจ้างงานลดลง รวมทั้งมีผลการศึกษาระบุว่าภาคการผลิตนั้น ๆ ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
3.6 แหล่งที่มาของเงินทุน มาจากเงินงบประมาณจากภาครัฐ และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนบริจาคสมทบเข้ากองทุนเพิ่มเติมได้
3.7 การบริหารจัดการ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร และนักวิชาการ ทำหน้าที่บริหารกองทุน โดยมี กระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการบริหารจัดการกองทุนและออกระเบียบรองรับการดำเนินการ
3.8 ขั้นตอนการดำเนินการ
1) กลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในสาขาที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือจัดทำโครงการ แผนงาน งาน หรือกิจกรรมเสนอกระทรวงพาณิชย์ โดยเสนอผ่านตัวแทนในข้อ 3.4
2) กระทรวงพาณิชย์จะนำโครงการ แผนงาน งาน หรือกิจกรรมเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารฯ โดยคณะกรรมการฯ อาจแต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการ
3) ให้มีการติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--