คณะรัฐมนตรีพิจารณาการพัฒนากฎหมายของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปี 2550 แล้วมีมติอนุมัติหลักการ
1. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกรณีที่ผู้กระทำความผิดที่ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี หลบหนีจากการถูกสอบสวน การฟ้อง และการพิจารณาคดี ให้อายุความสะดุดหยุดลง (แก้ไขมาตรา 95 (ร่างมาตรา 3) )
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกรณีความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดก็ได้ และกรณีมอบหมายพนักงานอัยการ ให้ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน และมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน โดยให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีนั้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20 (ร่างมาตรา 3))
3. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 66) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้กรณีที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องหรือมีคำสั่งฟ้อง เป็นเหตุที่ศาลจะออกหมายจับได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 66 (ร่างมาตรา 3 ))
4. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้การมี การพาและการใช้อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่จำเป็นต้องใช้ในการจับ ให้เป็นไปตามหลักที่กำหนดในกฏกระทรวง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 (ร่างมาตรา 3 ))
รวม 4 ฉบับ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รวมร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 กับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม) ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์) เสนอ ให้เป็นร่างพระราชบัญญัติฉบับเดียว และให้รวมร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 2-4 เป็นร่างพระราชบัญญัติฉบับเดียว ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95 เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงในกรณีผู้กระทำความผิดหลบหนีตามร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 นั้น สมควรพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนี ว่าอายุความในการฟ้องคดีและอายุความในการลงโทษมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร ประกอบด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกรณีที่ผู้กระทำความผิดที่ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี หลบหนีจากการถูกสอบสวน การฟ้อง และการพิจารณาคดี ให้อายุความสะดุดหยุดลง (แก้ไขมาตรา 95 (ร่างมาตรา 3) )
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกรณีความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดก็ได้ และกรณีมอบหมายพนักงานอัยการ ให้ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน และมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน โดยให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีนั้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20 (ร่างมาตรา 3))
3. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 66) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้กรณีที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องหรือมีคำสั่งฟ้อง เป็นเหตุที่ศาลจะออกหมายจับได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 66 (ร่างมาตรา 3 ))
4. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้การมี การพาและการใช้อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่จำเป็นต้องใช้ในการจับ ให้เป็นไปตามหลักที่กำหนดในกฏกระทรวง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 (ร่างมาตรา 3 ))
รวม 4 ฉบับ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รวมร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 กับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม) ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์) เสนอ ให้เป็นร่างพระราชบัญญัติฉบับเดียว และให้รวมร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 2-4 เป็นร่างพระราชบัญญัติฉบับเดียว ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95 เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงในกรณีผู้กระทำความผิดหลบหนีตามร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 นั้น สมควรพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนี ว่าอายุความในการฟ้องคดีและอายุความในการลงโทษมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร ประกอบด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--