แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงศึกษาธิการ
ร่างพระราชบัญญัติ
วิจิตร ศรีสอ้าน
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน) เป็นประธาน ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นของกระทรวงการคลังกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปประกอบการพิจาณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้รัฐดำเนินการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยส่งเสริมให้ภาคต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด ดังนี้
1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดคำนิยาม “เด็ก” หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี “เยาวชน” หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ฯลฯ (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีสิทธิได้รับการพัฒนา โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (ร่างมาตรา 7)
4. กำหนดให้บิดามารดา หรือผู้ปกครองต้องให้การพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในความดูแลของตนให้เหมาะสมแก่ฐานะ (ร่างมาตรา 8)
5. กำหนดให้สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน (ร่างมาตรา 9)
6. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ (ร่างมาตรา 11)
7. กำหนดองค์ประกอบ “คณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ” โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นรองประธาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ เป็นเลขานุการ โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แต่งตั้งจากองค์กรเอกชนที่มีความรู้ด้านเด็กและเยาวชนอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง (ร่างมาตรา 12)
8. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ร่างมาตรา 13)
9. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีอำนาจดำเนินการตามหน้าที่ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ร่างมาตรา 16)
10. กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติทำหน้าที่พัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้มีผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการฯ เป็นผู้บังคับบัญชา (ร่างมาตรา 25 และร่างมาตรา 26)
11. กำหนดให้มีสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด โดยให้มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงาน (ร่างมาตรา 27 ร่างมาตรา 29)
12. กำหนดให้องค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์หรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน มีสิทธิขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน (ร่างมาตรา 32)
13. กำหนดให้องค์กรที่จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนอาจได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ
14. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอน หรือระงับความช่วยเหลือที่ให้แก่องค์กรเอกชนที่ดำเนินการ โดยก่อความวุ่นวายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี (ร่างมาตรา 36)
15. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และออกข้อบัญญัติหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามแผน โดยให้ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนโดยคำนึงหลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น (ร่างมาตรา 38 และร่างมาตรา 39)
16. กำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน (ร่างมาตรา 40)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้รัฐดำเนินการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยส่งเสริมให้ภาคต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด ดังนี้
1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดคำนิยาม “เด็ก” หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี “เยาวชน” หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ฯลฯ (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีสิทธิได้รับการพัฒนา โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (ร่างมาตรา 7)
4. กำหนดให้บิดามารดา หรือผู้ปกครองต้องให้การพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในความดูแลของตนให้เหมาะสมแก่ฐานะ (ร่างมาตรา 8)
5. กำหนดให้สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน (ร่างมาตรา 9)
6. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ (ร่างมาตรา 11)
7. กำหนดองค์ประกอบ “คณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ” โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นรองประธาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ เป็นเลขานุการ โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แต่งตั้งจากองค์กรเอกชนที่มีความรู้ด้านเด็กและเยาวชนอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง (ร่างมาตรา 12)
8. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ร่างมาตรา 13)
9. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีอำนาจดำเนินการตามหน้าที่ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ร่างมาตรา 16)
10. กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติทำหน้าที่พัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้มีผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการฯ เป็นผู้บังคับบัญชา (ร่างมาตรา 25 และร่างมาตรา 26)
11. กำหนดให้มีสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด โดยให้มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงาน (ร่างมาตรา 27 ร่างมาตรา 29)
12. กำหนดให้องค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์หรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน มีสิทธิขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน (ร่างมาตรา 32)
13. กำหนดให้องค์กรที่จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนอาจได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ
14. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอน หรือระงับความช่วยเหลือที่ให้แก่องค์กรเอกชนที่ดำเนินการ โดยก่อความวุ่นวายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี (ร่างมาตรา 36)
15. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และออกข้อบัญญัติหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามแผน โดยให้ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนโดยคำนึงหลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น (ร่างมาตรา 38 และร่างมาตรา 39)
16. กำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน (ร่างมาตรา 40)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--