คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ดังนี้
1. อนุมัติในหลักการการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจสำหรับแก้ปัญหาการรองรับนักเรียนในกรุงเทพมหานคร ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้จำกัดเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น
2. เห็นชอบในหลักการในการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจ ฯ โดยกรณีกรุงเทพมหานครจะขยายห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเพิ่มข้าราชการครูในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณการจัดคู่สถานศึกษาเป็นโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้องแห่งละ 20,000 บาท และให้ใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานครดำเนินการ ส่วนการก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2555 จำนวน 42 อาคาร เป็นเงินทั้งสิ้น 598 ล้านบาท ให้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 และกรุงเทพมหานครสมทบอีกร้อยละ 60 โดยให้จัดทำคำขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2551 ในสัดส่วนของเงินอุดหนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สำหรับงบประมาณในการดำเนินการในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ขอตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
3. ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอโครงการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจสำหรับแก้ปัญหาการรองรับนักเรียนใน กทม. มีสาระสำคัญโดยสรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินการ
1.1 ให้นักเรียนมีที่เรียนเพียงพอ ได้เรียนในโรงเรียนใกล้บ้านทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดภาระและเวลาในการเดินทาง ซึ่งจะส่งผลให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น มีชีวิตที่อบอุ่น สามารถใช้เวลาว่างที่มีให้เป็นประโยชน์เพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ มีเวลาช่วยเหลือครอบครัว มีเวลาสำหรับการเล่นกีฬาเพื่อออกกำลังกายให้มีสุขภาพแข็งแรง
1.2 ให้มีสถานศึกษาที่ดีมีคุณภาพที่สามารถบริการการศึกษาได้อย่างทั่วถึงสามารถแก้ไขปัญหาการรับนักเรียนในจุดวิกฤต รองรับการขยายตัวของชุมชนที่เพิ่มมากขึ้นในบางพื้นที่จากการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ บ้านเอื้ออาทร โดยประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ
1.3 ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบสหกิจใน กทม. เพื่อเป็นแบบอย่างการจัดการศึกษาให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาอื่น ๆ
2. กรอบการดำเนินการ
2.1 วางแผนการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในจุดวิกฤตและวางแผนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยกำหนดเป้าหมายการรับรักเรียนในแต่ละสังกัดอย่างชัดเจนตามศักยภาพที่โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ โดยกำหนดจำนวนนักเรียนไม่เกิน 40 คน/ห้อง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุขและได้มาตรฐาน
2.2 จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU : MEMORANDUM OF UNDERSTANDING) ระหว่าง สพฐ. กับ กทม. ในการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจเพื่อร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาและแก้ไขปัญหาการรองรับนักเรียน
2.3 ดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนในจุดวิกฤตและแผนระยะยาว
2.4 ดำเนินการศึกษาวิจัยการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาและวิจัยผลการดำเนินการจัดการศึกษาในรูปแบบสหกิจ
2.5 ติดตามประเมินผล สรุปรายงานผลการดำเนินการ และเผยแพร่รูปแบบการดำเนินการ
3. ระยะเวลาดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2555
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. อนุมัติในหลักการการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจสำหรับแก้ปัญหาการรองรับนักเรียนในกรุงเทพมหานคร ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้จำกัดเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น
2. เห็นชอบในหลักการในการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจ ฯ โดยกรณีกรุงเทพมหานครจะขยายห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเพิ่มข้าราชการครูในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณการจัดคู่สถานศึกษาเป็นโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้องแห่งละ 20,000 บาท และให้ใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานครดำเนินการ ส่วนการก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2555 จำนวน 42 อาคาร เป็นเงินทั้งสิ้น 598 ล้านบาท ให้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 และกรุงเทพมหานครสมทบอีกร้อยละ 60 โดยให้จัดทำคำขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2551 ในสัดส่วนของเงินอุดหนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สำหรับงบประมาณในการดำเนินการในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ขอตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
3. ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอโครงการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจสำหรับแก้ปัญหาการรองรับนักเรียนใน กทม. มีสาระสำคัญโดยสรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินการ
1.1 ให้นักเรียนมีที่เรียนเพียงพอ ได้เรียนในโรงเรียนใกล้บ้านทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดภาระและเวลาในการเดินทาง ซึ่งจะส่งผลให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น มีชีวิตที่อบอุ่น สามารถใช้เวลาว่างที่มีให้เป็นประโยชน์เพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ มีเวลาช่วยเหลือครอบครัว มีเวลาสำหรับการเล่นกีฬาเพื่อออกกำลังกายให้มีสุขภาพแข็งแรง
1.2 ให้มีสถานศึกษาที่ดีมีคุณภาพที่สามารถบริการการศึกษาได้อย่างทั่วถึงสามารถแก้ไขปัญหาการรับนักเรียนในจุดวิกฤต รองรับการขยายตัวของชุมชนที่เพิ่มมากขึ้นในบางพื้นที่จากการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ บ้านเอื้ออาทร โดยประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ
1.3 ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบสหกิจใน กทม. เพื่อเป็นแบบอย่างการจัดการศึกษาให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาอื่น ๆ
2. กรอบการดำเนินการ
2.1 วางแผนการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในจุดวิกฤตและวางแผนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยกำหนดเป้าหมายการรับรักเรียนในแต่ละสังกัดอย่างชัดเจนตามศักยภาพที่โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ โดยกำหนดจำนวนนักเรียนไม่เกิน 40 คน/ห้อง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุขและได้มาตรฐาน
2.2 จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU : MEMORANDUM OF UNDERSTANDING) ระหว่าง สพฐ. กับ กทม. ในการจัดการศึกษารูปแบบสหกิจเพื่อร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาและแก้ไขปัญหาการรองรับนักเรียน
2.3 ดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนในจุดวิกฤตและแผนระยะยาว
2.4 ดำเนินการศึกษาวิจัยการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาและวิจัยผลการดำเนินการจัดการศึกษาในรูปแบบสหกิจ
2.5 ติดตามประเมินผล สรุปรายงานผลการดำเนินการ และเผยแพร่รูปแบบการดำเนินการ
3. ระยะเวลาดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2555
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--