คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2550 (เมื่อบริหารงานครบ 4 เดือน) ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ดังนี้
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2550 (เมื่อบริหารงานครบ 4 เดือน) โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 6,880 คน ระหว่างวันที่ 25 — 28 มกราคม 2550 และได้จัดทำสรุปผลการสำรวจซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่ทั่วประเทศ มีความพึงพอใจโดยรวมประมาณ 2.57 (คะแนนระดับความพึงพอใจมาก = 4 ปานกลาง = 3 น้อย = 2 ไม่พึงพอใจ = 1) สำหรับความพึงพอใจต่อการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ประชาชนพึงพอใจด้านสาธารณสุขสูงสุด 2.84 รองลงมา ด้านการกีฬา 2.79 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2.74 ด้านการท่องเที่ยว 2.73 ด้านการคมนาคม 2.70 ด้านการปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน 2.63 ด้านการประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน 2.63 และด้านการต่างประเทศ 2.62 ส่วนการบริหารงานด้านอื่น ๆ มีคะแนนอยู่ระหว่าง 2.14 — 2.52 คะแนน
2. นโยบายของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ การปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน 40.2 เปอร์เซ็นต์ การแก้ปัญหาสาธารณสุข 34.8 เปอร์เซ็นต์ การปราบปรามยาเสพติด 16.5 เปอร์เซ็นต์ การส่งเสริมการท่องเที่ยว/กีฬา 14.4 เปอร์เซ็นต์ และการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ 12.4 เปอร์เซ็นต์
3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประชาชนโดยรวมเห็นว่า สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมายังคงเหมือนเดิม 51.3 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าดีขึ้น 11.1 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าแย่ลง 33.1 เปอร์เซ็นต์ และไม่แน่ใจ 4.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผู้ที่คาดหวังว่าจะสูงขึ้นมีถึง 28.6 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าเหมือนเดิมมีอยู่ 36.5 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าแย่ลงมีเพียง 11.9 เปอร์เซ็นต์ และไม่แน่ใจ 23.0 เปอร์เซ็นต์
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะทางสังคมในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา มีประชาชน 51.7 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าเหมือนเดิม ที่เห็นว่าแย่ลง มีสูงถึง 34.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เห็นว่าดีขึ้น มีเพียง 10.2 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังมีความคาดหวังว่าสภาวะทางสังคมในอีก 6 เดือนข้างหน้า จะดีขึ้นสูงถึง 26.4 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าเหมือนเดิมลดลงเป็น 38.0 เปอร์เซ็นต์ และเห็นว่าแย่ลง ลดลงเหลือ 12.9 เปอร์เซ็นต์
5. ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไข คือ การรักษาความสงบภายในประเทศ 35.2 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ปัญหาหนี้สิน/ความยากจน 24.9 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาค่าครองชีพ 22.9 เปอร์เซ็นต์ ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 19.3 เปอร์เซ็นต์ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค 19.6 เปอร์เซ็นต์ จัดหางาน/ส่งเสริมอาชีพ 18.2 เปอร์เซ็นต์ การจัดระเบียบ/ลดความรุนแรงในสังคม 17.3 เปอร์เซ็นต์ ควบคุมราคาพืชผลทางการเกษตร 15.2 เปอร์เซ็นต์ ปราบปรามยาเสพติด 13.1 เปอร์เซ็นต์ แก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชัน 8.2 เปอร์เซ็นต์
6. ข้อเสนอแนะในการบริหารงานของรัฐบาล ได้แก่ รัฐบาลควรทำงานอย่างจริงจัง/โปร่งใสและเป็นธรรม แก้ปัญหาความยากจน/ส่งเสริมอาชีพ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สร้างความสามัคคี/สมานฉันท์ภายในประเทศ การปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน เร่งดำเนินการรักษาความสงบภายในประเทศ
7.การพัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ประชาชนต้องการให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ พัฒนาระบบสัญญาณมือถือ 35.9 เปอร์เซ็นต์ พัฒนาคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตให้ทันสมัยเท่าเทียมกับต่างประเทศ 29.5 เปอร์เซ็นต์ พัฒนา/ปรับปรุงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 28.3 เปอร์เซ็นต์ พัฒนา/ปรับปรุงระบบสัญญาณโทรทัศน์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 25.5 เปอร์เซ็นต์ พัฒนา/ปรับปรุงระบบสัญญาณสถานีวิทยุ 13.8 เปอร์เซ็นต์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2550 (เมื่อบริหารงานครบ 4 เดือน) โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 6,880 คน ระหว่างวันที่ 25 — 28 มกราคม 2550 และได้จัดทำสรุปผลการสำรวจซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่ทั่วประเทศ มีความพึงพอใจโดยรวมประมาณ 2.57 (คะแนนระดับความพึงพอใจมาก = 4 ปานกลาง = 3 น้อย = 2 ไม่พึงพอใจ = 1) สำหรับความพึงพอใจต่อการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ประชาชนพึงพอใจด้านสาธารณสุขสูงสุด 2.84 รองลงมา ด้านการกีฬา 2.79 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2.74 ด้านการท่องเที่ยว 2.73 ด้านการคมนาคม 2.70 ด้านการปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน 2.63 ด้านการประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน 2.63 และด้านการต่างประเทศ 2.62 ส่วนการบริหารงานด้านอื่น ๆ มีคะแนนอยู่ระหว่าง 2.14 — 2.52 คะแนน
2. นโยบายของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ การปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน 40.2 เปอร์เซ็นต์ การแก้ปัญหาสาธารณสุข 34.8 เปอร์เซ็นต์ การปราบปรามยาเสพติด 16.5 เปอร์เซ็นต์ การส่งเสริมการท่องเที่ยว/กีฬา 14.4 เปอร์เซ็นต์ และการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ 12.4 เปอร์เซ็นต์
3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประชาชนโดยรวมเห็นว่า สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมายังคงเหมือนเดิม 51.3 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าดีขึ้น 11.1 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าแย่ลง 33.1 เปอร์เซ็นต์ และไม่แน่ใจ 4.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผู้ที่คาดหวังว่าจะสูงขึ้นมีถึง 28.6 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าเหมือนเดิมมีอยู่ 36.5 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าแย่ลงมีเพียง 11.9 เปอร์เซ็นต์ และไม่แน่ใจ 23.0 เปอร์เซ็นต์
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะทางสังคมในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา มีประชาชน 51.7 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าเหมือนเดิม ที่เห็นว่าแย่ลง มีสูงถึง 34.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เห็นว่าดีขึ้น มีเพียง 10.2 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังมีความคาดหวังว่าสภาวะทางสังคมในอีก 6 เดือนข้างหน้า จะดีขึ้นสูงถึง 26.4 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าเหมือนเดิมลดลงเป็น 38.0 เปอร์เซ็นต์ และเห็นว่าแย่ลง ลดลงเหลือ 12.9 เปอร์เซ็นต์
5. ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไข คือ การรักษาความสงบภายในประเทศ 35.2 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ปัญหาหนี้สิน/ความยากจน 24.9 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาค่าครองชีพ 22.9 เปอร์เซ็นต์ ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 19.3 เปอร์เซ็นต์ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค 19.6 เปอร์เซ็นต์ จัดหางาน/ส่งเสริมอาชีพ 18.2 เปอร์เซ็นต์ การจัดระเบียบ/ลดความรุนแรงในสังคม 17.3 เปอร์เซ็นต์ ควบคุมราคาพืชผลทางการเกษตร 15.2 เปอร์เซ็นต์ ปราบปรามยาเสพติด 13.1 เปอร์เซ็นต์ แก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชัน 8.2 เปอร์เซ็นต์
6. ข้อเสนอแนะในการบริหารงานของรัฐบาล ได้แก่ รัฐบาลควรทำงานอย่างจริงจัง/โปร่งใสและเป็นธรรม แก้ปัญหาความยากจน/ส่งเสริมอาชีพ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สร้างความสามัคคี/สมานฉันท์ภายในประเทศ การปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน เร่งดำเนินการรักษาความสงบภายในประเทศ
7.การพัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ประชาชนต้องการให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ พัฒนาระบบสัญญาณมือถือ 35.9 เปอร์เซ็นต์ พัฒนาคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตให้ทันสมัยเท่าเทียมกับต่างประเทศ 29.5 เปอร์เซ็นต์ พัฒนา/ปรับปรุงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 28.3 เปอร์เซ็นต์ พัฒนา/ปรับปรุงระบบสัญญาณโทรทัศน์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 25.5 เปอร์เซ็นต์ พัฒนา/ปรับปรุงระบบสัญญาณสถานีวิทยุ 13.8 เปอร์เซ็นต์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--