แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
กระทรวงอุตสาหกรรม
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานกรรมการ ที่เห็นชอบแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา (พ.ศ. 2551-2555) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปจัดทำรายละเอียดเพื่อบูรณาการในแผนโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของประเทศต่อไป โดยให้รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ที่เห็นควรให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ โดยให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์) ช่วยประสานการเชื่อมโยงเครือข่าย และควรให้กระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการด้านคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ด้านการส่งออกและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมบูรณาการการดำเนินงานตามแผนด้วย รวมทั้งรับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำรายละเอียดของแผนฯ เพื่อให้เกิดการบูรณาการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเร่งรัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่เข้มแข็ง สนับสนุนภาคการผลิต และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน
1.2 เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักธุรกิจ นักวิจัย ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจและประชาชนทั่วไป
2. เป้าหมาย
ภายในปี 2555 ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ ดังนี้
2.1 เป้าหมายที่ 1 ร้อยละ 35 ของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.2 เป้าหมายที่ 2 มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา การวิจัยและการเรียนการสอน
2.3 เป้าหมายที่ 3 อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในด้านบุคลากรวิจัยและพัฒนา และสิทธิบัตร ที่จัดทำโดย International Institute for Management Development (IMD) อยู่ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลาง
3. ยุทธศาสตร์
3.1 เพิ่มความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคการผลิต มีแผนงาน ดังนี้
(1) สร้างช่องทางความร่วมมือในการเข้าถึงมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสถาบันรวมทั้งกฎหมายและแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
(3) พัฒนาระบบคุณภาพ
(4) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
3.2 สร้างความเข้มแข็งของแหล่งผลิตความรู้ มีแผนงาน ดังนี้
(1) พัฒนาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้เข้มแข็งและทำงานตรงกับความต้องการของภาคการผลิต
(2) สร้างกลไกการถ่ายทอดความรู้ระดับสูงระหว่างภาคการผลิตและสถาบันการศึกษา
(3) พัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของภาคการผลิตและบริหาร และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนที่มีทักษะในการประดิษฐ์คิดค้น
3.3 สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งผลิตความรู้ ผู้ใช้ความรู้ และการพัฒนาการเรียนการสอน มีแผนงาน ดังนี้
(1) จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนแผนแม่บทโครงสร้างทรัพย์สินทางปัญญา
(2) พัฒนาเครือข่ายนวัตกรรมอุตสาหกรรมกลุ่มย่อย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
สาระสำคัญของแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเร่งรัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่เข้มแข็ง สนับสนุนภาคการผลิต และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน
1.2 เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักธุรกิจ นักวิจัย ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจและประชาชนทั่วไป
2. เป้าหมาย
ภายในปี 2555 ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ ดังนี้
2.1 เป้าหมายที่ 1 ร้อยละ 35 ของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.2 เป้าหมายที่ 2 มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา การวิจัยและการเรียนการสอน
2.3 เป้าหมายที่ 3 อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในด้านบุคลากรวิจัยและพัฒนา และสิทธิบัตร ที่จัดทำโดย International Institute for Management Development (IMD) อยู่ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลาง
3. ยุทธศาสตร์
3.1 เพิ่มความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคการผลิต มีแผนงาน ดังนี้
(1) สร้างช่องทางความร่วมมือในการเข้าถึงมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสถาบันรวมทั้งกฎหมายและแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
(3) พัฒนาระบบคุณภาพ
(4) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
3.2 สร้างความเข้มแข็งของแหล่งผลิตความรู้ มีแผนงาน ดังนี้
(1) พัฒนาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้เข้มแข็งและทำงานตรงกับความต้องการของภาคการผลิต
(2) สร้างกลไกการถ่ายทอดความรู้ระดับสูงระหว่างภาคการผลิตและสถาบันการศึกษา
(3) พัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของภาคการผลิตและบริหาร และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนที่มีทักษะในการประดิษฐ์คิดค้น
3.3 สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งผลิตความรู้ ผู้ใช้ความรู้ และการพัฒนาการเรียนการสอน มีแผนงาน ดังนี้
(1) จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนแผนแม่บทโครงสร้างทรัพย์สินทางปัญญา
(2) พัฒนาเครือข่ายนวัตกรรมอุตสาหกรรมกลุ่มย่อย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--